การวิเคราะห์องค์ประกอบสมรรถนะของนักวิชาการสาธารณสุขที่ปฏิบัติในหน่วยบริการปฐมภูมิ เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในจังหวัดชลบุรี

Main Article Content

จิตราภรณ์ สายสุพันธุ์
วัลลภ ใจดี
เอมอัชฌา วัฒนบุรานนท์
พัชนา ใจดี

บทคัดย่อ

               การวิจัยเชิงสำรวจครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบสมรรถนะนักวิชาการสาธารณสุขที่ปฏิบัติในหน่วยบริการปฐมภูมิ เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในจังหวัดชลบุรี กลุ่มตัวอย่างที่ได้จากการสุ่มแบบสะดวก คือ นักวิชาการสาธารณสุขในหน่วยบริการปฐมภูมิ จังหวัดชลบุรี จำนวน 230 คน เก็บข้อมูลระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงมิถุนายน พ.ศ. 2566 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ (Exploratory factor analysis) ได้จำนวนองค์ประกอบของสมรรถนะ 37 ตัวบ่งชี้ สกัดองค์ประกอบด้วยวิธีวิเคราะห์องค์ประกอบหลัก (Principal component analysis) และหมุนแกนองค์ประกอบแบบมุมฉากด้วยวิธีวาริแมกซ์ (Varimax) รวมถึงการทดสอบยืนยันความเหมาะสมของข้อมูล พบว่า 3 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ ด้านความรู้ ด้านทักษะ และด้านคุณลักษณะเฉพาะบุคคล


               ด้านความรู้มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบของ ความรู้ระบาดวิทยาของโรค เท่ากับ 0.92 การวิเคราะห์และวางแผนเท่ากับ 0.93 และการบริหารสาธารณสุขเท่ากับ 0.55 ส่วนด้านทักษะมีค่าน้ำหนักองค์ประกอบของการบริการด้านสาธารณสุขเท่ากับ 0.76 การจัดการข้อมูลสุขภาพ เท่ากับ 0.87 การประสานงานและการทำงานเป็นทีม เท่ากับ 0.87 และการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรม เท่ากับ 0.91 สำหรับด้านคุณลักษณะส่วนบุคคล มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบของคุณลักษณะด้านบุคคลเท่ากับ 0.64 คุณลักษณะด้านปฏิสัมพันธ์เท่ากับ 0.83 และด้านคุณลักษณะด้านจรรยาบรรณวิชาชีพเท่ากับ 0.76 โดยทั้ง 3 องค์ประกอบมีความเหมาะสมในระดับมาก (KMO = 0.70) และค่า Bartlett’s Test of Sphericity มี P < 0.001

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ (Original Articles)

References

ชมพูนุช สุภาพวานิช, ไพสิฐ จิรรัตนโสภาพ, เบญจวรรณ พูนธนานิวัฒน์กุล และบุญแทน กิ่งสายหยุด. การพัฒนาสมรรถนะการทำงานของบุคลากรสาธารณสุขในมุมมอง ผู้บริหารของเขตสุขภาพที่ 1-12. วารสารสาธารสุขและวิทยาศาสตร์สุขภาพ, 2565; 5(3): 138-153.

ทิพวรรณ พูลเอียด. (2564). สมรรถนะในการทำงานของบุคลากรกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. [อินเทอร์เน็ต]. [วันที่ค้นข้อมูล 5 พฤษภาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก http://www.mpa-mba.ru.ac.th/images/Project/treatise_ bangkok14_09092021/6217950062.pdf

ปริญญา จิตอร่าม. (2563). การพัฒนาตัวชี้วัดสมรรถนะการแก้ปัญหาและการพัฒนาสาธารณสุขชุมชนของนักสาธารณสุขชุมชน. วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน, 2563; 6(1): 84-99.

พินิจ ฟ้าอำนวยผล. การศึกษาสถานการณ์และความต้องการกำลังคนด้านสุขภาพระดับปฐมภูมิในสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19. นนทบุรี: สำนักงานสนับสนุนและพัฒนาการกระจายอำนาจด้านสุขภาพ, 2564.

ราชกิจจานุเบกษา. การจัดหาวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19. [อินเทอร์เน็ต]. [วันที่ค้นข้อมูล 1 พฤษภาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก https://www.ratchakitcha.soc.go.th /DATA/PDF/2563/E/239/T_0017.

รงรอง อำนวยลาภไพศาล. (2564). การเตรียมความพร้อมของบุคลากรทางการแพทย์แพทย์จากสถานการณ์ COVID-19 ในโรงพยาบาลตำรวจ. [อินเทอร์เน็ต]. [วันที่ค้นข้อมูล 5 พฤษภาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก http://www3.ru.ac.th/mpa-abstract/files/2563_1629862707_6214832013.pdf

วศิน พิพัฒนฉัตร. บทบาทวิชาชีพสาธารณสุข ตามพระราชบัญญัติวิชาชีพสาธารณสุขชุมชน พ.ศ. 2556. วารสารกฎหมายสุขภาพและสาธารณสุข, 2559; 2(1): 63-65.

ศูนย์ปฏิบัติการ covid-19 จังหวัดชลบุรี. (2565). ข้อมูลสถานการณ์ COVID-19 จังหวัดชลบุรี. [อินเทอร์เน็ต]. [วันที่ค้นข้อมูล 20 มีนาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก http://www.chonburi.go.th/website/project/view37.

Best, J. Research in Education. New Jersey: Prentice Hall, 1977.

Kline, R.B. Principles and practice of structural equation modeling. (3rd ed.) New York: The Guilford Press, 2011.

Spencer, L.M. & Spencer. S.M. Competency at work: Models for superior performance. New York: Wily & Sons, 1993.