ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมดูแลตนเองในผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมองของชุมชนบ้านบ้งมั่ง จังหวัดอุบลราชธานี

Main Article Content

ลติพร อุดมสุข
วชิรญา มุ้ยเผือก
ปิยนุช งามสาย
พงษ์ศักดิ์ คำนาโฮม
รัฐพล ผิวจันทร์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมดูแลตนเองของผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมองในชุมชนบ้านบ้งมั่ง จังหวัดอุบลราชธานี และการวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาแบบภาคตัดขวาง เพื่อศึกษาพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยง การป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง และปัจจัยที่มีความ สัมพันธ์ต่อการดูแลตนเองของผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงจำนวน 58 คน โดยเก็บข้อมูลจากแบบสอบถาม และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติค่าเฉลี่ย ค่ามัธยฐาน ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ และค่าสถิติไคสแควร์ ผลการศึกษาพบว่าส่วนปัจจัยนำกลุ่มตัวอย่างมีความรู้เกี่ยวกับโรคหลอดเลือดสมองในระดับสูงร้อยละ 96.6 ส่วนปัจจัยเอื้อกลุ่มตัวอย่างมีการเข้าถึงบริการสุขภาพมากที่สุดคือ ด้านการตรวจรักษาโดยได้รับการตรวจรักษาจากแพทย์ พยาบาลและเจ้าหน้าที่สาธารณสุขเป็นประจำร้อยละ 87.9 ปัจจัยเสริมพบว่ากลุ่มตัวอย่างได้รับการสนับสนุนทางสังคมมากที่สุด คือด้านครอบครัวร้อยละ 93.1 ด้านพฤติกรรมการดูแลตนเองพบว่าพฤติกรรมที่เหมาะสมมากที่สุดคือ เมื่อมีอาการผิดปกติจะไปพบแพทย์ทันทีร้อยละ 96.6 พฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมมากที่สุดคือ รับประทานอาหารที่มีรสเค็มเป็นประจำร้อยละ 32.8 โดยปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดสมอง ได้แก่ ปัจจัยอาชีพมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลตนเองในผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง (7.612, p = 0.037) โรคความดันโลหิตสูง (9.656, p = 0.004) ประวัติการดื่มแอลกอฮอล์ (7.783, p = 0.015) ประวัติการควบคุมความดันโลหิตในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา (9.697, p = 0.012) ดัชนีมวลกาย (4.870, p = 0.038) และปัจจัยนำ ปัจจัยเอื้อ และปัจจัยเสริมไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลตนเองในผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง (p = 0.32, 0.69, >0.05) ตามลำดับ

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ (Original Articles)

References

สถาบันประสาทวิทยา กรมการแพทย์. แนวทางการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง สำหรับพยาบาลทั่วไป (Clinical Nursing Practice Guideline for Stroke). กรุงเทพฯ: สถาบันประสาทวิทยา กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข; 2559.

กุลธิดา เหมาเพชร, คมกริช เชาว์พานิช, พรเพ็ญ ลาโพธิ์, วาสิฏฐี เทียมเท่าเกิด. พฤติกรรมการออกกำลังกายของบุคลากรในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน. วารสารประชุมวิชาการแห่งชาติ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน. 2556;10:3065-80.

สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน 2560. ร่มเย็น มีเดีย จำกัด; 2560. หน้า 25-34.

อุมาพร แซ่กอ, ชนกพร จิตปัญญา. การศึกษาความตระหนักรู้เกี่ยวกับโรคหลอดเลือดสมองของผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์. 2557;6(2):13-23.

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโพธิ์ใหญ่. ระบบรายงาน JHCIS ฐานข้อมูลประชากร; 2565 [เข้าถึงเมื่อ 16 มีนาคม 2565].

กานต์ธิชา กำแพงแก้ว, วิไลพรรณ สมบุญตนนท์, วีนัส ลีฬหกุล. ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ปัจจัยเสี่ยง การรับรู้อาการเตือนและพฤติกรรมการดูแลตนเองเพื่อป้องกันโรคหลอดเลือดสมองในผู้สูงอายุกลุ่มเสี่ยง. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข. 2558;25:40-56.

กฤษฎา จอดนอก, ณิตชาธร ภาโนมัย. ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองโรงพยาบาลบึงกาฬ อำเภอบึงกาฬ จังหวัดบึงกาฬ. วารสารสมาคมประสาทวิทยาศาสตร์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. 2561;13:38-55.

สาวิตรี สิงหาด. ปัจจัยที่ทำนายความรู้และการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองในผู้สูงอายุกลุ่มเสี่ยง. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ. 2558;8:182-88.

ยุทธนา ชนะพันธ์, ดาริวรรณ เศรษฐีธรรม. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง อำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี. วารสารโรงพยาบาลสกลนคร. 2561;21:109-19.

ชูชาติ กลิ่นสาคร. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากโรคหลอดเลือดสมองของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่สามารถควบคุมระดับความดันโลหิตได้ อำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารสภาการสาธารณสุขชุมชน. 2563;2:62-77.

ปรารถนา วัชรานุรักษ์, อัจฉรา กลับกลาย. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคในผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมอง จังหวัดสงขลา. วารสารเครือข่ายการพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้. 2560;4:222-223.

สุริยา หล้าก่ำ, ศิราณีย์ อินทรหนองไผ่. ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ความเชื่อด้านสุขภาพและพฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองในผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงสูง ตำบลเหนือเมือง อำเภอเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารพยาบาลตำรวจ. 2560;9:89-90.