พฤติกรรมการดูแลสุขภาพตา และการสัมผัสสิ่งแวดล้อม ที่ส่งผลต่อการมองเห็นด้วยตาเปล่า ของผู้สูงอายุในประเทศไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวางนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษา 1) พฤติกรรมการดูแลสุขภาพตา การสัมผัสสิ่งแวดล้อม และการมองเห็นของผู้สูงอายุ 2)วิเคราะห์ลักษณะพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตา และการสัมผัสสิ่งแวดล้อม ที่ส่งผลต่อการมองเห็นด้วยตาเปล่าของผู้สูงอายุ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุในประเทศไทยที่ได้จากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน จำนวน 407 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม และแบบประเมินการมองเห็นด้วยตาเปล่า ที่ผ่านการตรวจสอบคุณภาพแล้ว วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา และ การวิเคราะห์ปัจจัยเสี่ยงโดยใช้ Odds ratio, 95% Confidence interval (95%CI) ที่ระดับนัยสําคัญทางสถิติ p = 0.05 ผลการศึกษาพบว่า ผู้สูงอายุมีพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตาอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 78.60 มีการสัมผัสสิ่งแวดล้อมที่ส่งผลต่อการมองเห็น ระดับน้อย ร้อยละ 66.80 มองเห็นด้วยตาเปล่าดี ร้อยละ 92.4 ผลการทดสอบความเสี่ยงของลักษณะพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตา และการสัมผัสสิ่งแวดล้อม ที่ส่งผลต่อการมองเห็นด้วยตาเปล่าของผู้สูงอายุพบว่า การมองหน้าจอ คอมพิวเตอร์/ สมาร์ทโฟน/ แท็บเลต/ โทรทัศน์ ในแต่ละครั้งนานมากกว่า 20นาที การสัมผัสควันจาก บุหรี่ ท่อไอเสีย การเผาไหม้ การสัมผัสสารเคมี ยาฆ่าแมลง และ การไม่ใช้แว่นตา หรือหมวกปีกกว้าง ป้องกันแสงและสิ่งแปลกปลอมเข้าตา มีความเสี่ยง 1.588(1.033-2.441), 1.688(1.139-2.501), 1.828(1.205-2.772) ตามลำดับ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ทั้งนี้การวางแผนในการสร้างรูปแบบการดูแลสุขภาพตาของผู้สูงอายุ ควรให้ความสำคัญกับการป้องกันอันตรายจากสิ่งแวดล้อมที่ส่งผลต่อการมองเห็น และการส่งเสริมพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตาของผู้สูงอายุที่เหมาะสม 3ประเด็น ดังกล่าวข้างต้น เพื่อการมองเห็นด้วยตาเปล่าที่ดีในผู้สูงอายุต่อไป
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
World Health Organization. Ageing and health [Internet]. Available from: https://www.who.int/news-room/fact-sheets/ detail/ageing-and-health
The Asian Development Bank. Population aging in Asia and the Pacific [Internet]. Available from: https://www.adb.org/ what-we-do/topics/social-development/aging-asia
กนกวรรณ เหลืองมงคลเลิศ. ความรู้ทั่วไปของผู้สูงอายุ [อินเทอร์เน็ท]. โครงการอบรมหลักสูตรการดูแลผู้สูงอายุเบื้องต้น รุ่นที่ 3: กองส่งเสริมศักยภาพผู้สูงอายุ กรมกิจการผู้สูงอายุ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. เข้าถึงได้จาก: https://thaipublica.org/2024/02/thailand-becomes-aged-society/
มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย (มส.ผส.). สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2564. นครปฐม: สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล; 2565.
Foundation of the Elderly Research and Development Institute. Situation of the Thai elderly 2016. Nakorn Pathom: Printery Co., Ltd.; 2017.
วิไลวรรณ ทองเจริญ. ศาสตร์และศิลป์การพยาบาลผู้สูงอายุ. กรุงเทพฯ: โครงการตำราคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล; 2560.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย ในมิติความต่างในเชิงพื้นที่ พ.ศ. 2564. กรุงเทพฯ: กองสถิติพยากรณ์; 2564.
กรมกิจการผู้สูงอายุ. โรคตาในผู้สูงอายุ [อินเทอร์เน็ท]. เข้าถึงได้จาก: https://www.dop.go.th/th/know/15/749
นพมาศ อุตะมะ และคณะ. ความบกพร่องทางการมองเห็น วิธีการเผชิญความเครียด และคุณภาพชีวิต ที่เกี่ยวข้องกับการมองเห็นของผู้สูงอายุที่เป็นต้อกระจก. วารสารพยาบาล. 2558; 42(3): 61-71.
ศลิษา ฤทธิมโนมัย, วรณัน วิทยาพิภพสกุล, วุฒิพันธุ์ วงษ์มงคล และชาฮีดา วิริยาทร. ปัจจัยที่มีผลต่อการเข้าถึงอุปกรณ์ช่วยเหลือผู้สูงอายุ: การวิเคราะห์ผลการสำรวจประชากรสูงอายุในประเทศไทย พ.ศ. 2545 ถึง 2560. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข. 2567; 18(1): 109-135.
ปวริศา ทันเจริญ. ประสบการณ์เกี่ยวกับการฟื้นฟูสภาพจากสายตาเลือนรางของผู้ที่มีความบกพร่องทางการมองเห็นแผนกผู้ป่วยนอกจักษุ โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ. วารสารโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ. 2566; 8(2): 31-43.
ศูนย์จอตา ภาควิชาจักษุวิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล. หลอดเลือดดำที่จอตาอุดตัน (Retinal Vein Occlusion) [อินเทอร์เน็ท]. เข้าถึงได้จาก: https://www.si.mahidol.ac.th/th/healthdetail.asp?aid=1526
สรายุทธ์ จันทร์มหเสถียร และจันคนา บูรณะโอสถ. โรคตาแห้งและยาที่ใช้รักษา. วารสารไทยไภษัชยนิพนธ์. 2555; 9(1): 71-91.
เหมือนพลอย นิภารักษ์. อุบัติเหตุ สิ่งแปลกปลอมเข้าตา. ศูนย์ศรีพัฒน์ฯ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ [อินเทอร์เน็ท]. เข้าถึงได้จาก: https://sriphat.med.cmu.ac.th/th/knowledge-652
วิภาวี บูรณพงศ์. อันตรายจากสารเคมีเข้าตา. ภาควิชาจักษุวิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล [อินเทอร์เน็ท]. เข้าถึงได้จาก: https://www.si.mahidol.ac.th/th/healthdetail.asp?aid=60
พรทิพา เจริญจิตรวัฒนา. 7 วิธีถนอมสายตา เยียวยาดวงตาให้แข็งแรง. โรงพยาบาลเปาโล สมุทรปราการ [อินเทอร์เน็ท]. เข้าถึงได้จาก: https://www.paolohospital.com/th-TH/center/Article/
ประภัสสร แสงศรี, วีรยา วัชรพลากร และธรรมนูญ สุรชาติกำธรกุล. สายตาผู้สูงอายุและการมองที่ใกล้. เวชบันทึกศิริราช. 2565; 15(4): 260-265.
Afsharan H, Silva D, Joo C, Cense B. Non-Invasive Retinal Blood Vessel Wall Measurements with Polarization-Sensitive Optical Coherence Tomography for Diabetes Assessment: A Quantitative Study. Biomolecules. 2023; 13(8): 1230. doi: 10.3390/biom13081230
McMonnies CW. Glaucoma history and risk factors. Journal of Optometry. 2017; 10(2): 71–78. doi: 10.1016/j.optom.2016.02.003
Guo OD, Akpek E. The negative effects of dry eye disease on quality of life and visual function. Turkish Journal of Medical Sciences. 2020; 50(SI-2): 1611–1615. doi: 10.3906/sag-2002-143
Negrel AD, Thylefors B. The global impact of eye injuries. Ophthalmic Epidemiology. 1998; 5(3): 143–169. doi: 10.1076/opep.5.3.143.8364
Rauchman SH, Locke B, Albert J, De Leon J, Peltier MR, Reiss AB. Toxic external exposure leading to ocular surface injury. Vision (Basel). 2023; 7(2): 32. doi: 10.3390/vision7020032