ความสัมพันธ์ระหว่างการทำงานนั่งอยู่กับที่กับโรคอ้วน ในบุคลากรทางการแพทย์ โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี

Main Article Content

Wiphasiri Saiphiroonthong
Charas Choaksuwankij Charas Choaksuwankij
Aurapan Chaimanee

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างการทำงานนั่งอยู่กับที่กับโรคอ้วนในบุคลากรทางการแพทย์โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี ในปี พ.ศ. 2556 กลุ่มตัวอย่างเป็นบุคลากรทางการแพทย์ จำนวน 558 คน เป็นเพศชายร้อยละ 12.5 และเพศหญิงร้อยละ 87.5 อายุเฉลี่ยเท่ากับ 38.7 ปี เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามชนิดตอบด้วยตนเอง ระหว่าง วันที่ 14 มิถุนายน ถึง วันที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 ผลการศึกษาพบว่า ความชุกของโรคอ้วนในกลุ่มตัวอย่างทั้งหมดมีค่าเท่ากับร้อยละ 27.8 เพศชายมีความชุกของโรคอ้วนเท่ากับร้อยละ 32.9 เพศหญิงมีความชุกของโรคอ้วนเท่ากับร้อยละ 27.0 ปัจจัยส่วนบุคคลที่มีความสัมพันธ์กับโรคอ้วนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ อายุที่มากขึ้น (p-value = 0.019) โรคเบาหวาน (p-value = 0.001) และโรคความดันโลหิตสูง (p-value < 0.001) ปัจจัยด้านการทำงานที่มีความสัมพันธ์กับโรคอ้วนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ การทำงานในฝ่ายสำนักงานและสนับสนุนการบริการทางการแพทย์ (p-value = 0.046) ส่วนการทำงานนั่งอยู่กับที่ตั้งแต่ 6 ชั่วโมงต่อวันขึ้นไป ไม่พบว่ามีความสัมพันธ์กับการเป็นโรคอ้วน (p-value = 0.694) ดังนั้น ในการส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพของบุคลากรทางการแพทย์เพื่อป้องกัน และลดการเป็นโรคอ้วน ควรจัดสิ่งแวดล้อมเพื่อสนับสนุนให้เพิ่มการมีกิจกรรมของร่างกายอย่างเพียงพอทั้งกิจกรรมในเวลางานและนอกเวลางาน

 

The Association between Sedentary Work and Obesity among Medical Personnel in Nopparat Rajathanee Hospital

The aim of this cross-sectional study was to find out the association between sedentary work and obesity among medical personnel in Nopparat Rajathanee Hospital in 2013. The participants were 558 medical personnel, who were 12.5 % male and 87.5 % female, and whose mean age was 38.7 years old. The data were collected by a self-administered questionnaire during June 14 – July 12, 2013. The overall prevalence of obesity was 27.8 %. The prevalence of obesity in male and female was 32.9 % and 27.0 %, respectively. Personal factors associated with obesity were advanced age (p-value = 0.019), diabetes mellitus (p-value = 0.001), and hypertension (p-value < 0.001). The work factors associated with obesity were working in administrative-office and medical-service support departments (p-value = 0.046). Sedentary work (sitting 6 hours per working day or more) was not statistically associated with obesity (p-value = 0.694). Thus, health promotion strategies for creating an active workplace and an active lifestyle should be considered for medical personnel to reduce the prevalence of obesity

Article Details

บท
Original Articles