ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลตนเอง เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนทางไต ในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง ของโรงพยาบาลสมเด็จพระพุทธเลิศหล้า จังหวัดสมุทรสงคราม

Main Article Content

Pattarapunn Unaphak
Kwanchai Rattanamanee

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลตนเองเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนทางไต ของผู้ป่วยของโรงพยาบาลสมเด็จพระพุทธเลิศหล้า กลุ่มตัวอย่าง คือผู้ทีไ่ด้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคไตเรื้อรัง จำนวน 280 ราย ใช้การเลือกกล่มุ ตัวอย่างแบบกำหนดโควต้า (Quota sampling) รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ร้อยละ และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการศึกษาพบว่าปัจจัยด้านประชากรคือ อายุ รายได้ ระดับการศึกษา มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการปฏิบัติตัวเพื่อชะลอไตเสื่อมของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง นอกจากนี้ความรู้เกี่ยวกับโรคไต การรับรู้ความรุนแรงของภาวะแทรกซ้อนและภาวะไตเรื้อรังระยะสุดท้าย การรับรู้ประโยชน์ของการปฏิบัติเพื่อชะลอไตเสื่อม และการรับรู้ความสามารถตนเองในการปฏิบัติเพื่อชะลอไตเสื่อม มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการปฏิบัติตัวเพื่อชะลอการเสื่อมของไต โดยเป็นความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกัน จากงานวิจัยควรส่งเสริมการดูแลตนเอง กระตุ้น ให้ผู้ป่วยเกิดความตระหนัก และให้ความสำคัญถึงความรุนแรงของโรคและภาวะแทรกซ้อนของโรคไตเรื้อรัง ควรให้ข้อมูลเพื่อส่งเสริมการรับรู้ประโยชน์ โดยชี้ให้เห็นถึงประโยชน์ของการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เพื่อชะลอการเสื่อมของไต ลดภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น และเพิ่มการรับรู้ความสามารถตนเอง เพื่อให้ผู้ป่วยเกิดความเข้าใจและเกิดความมั่นใจในการดูแลตนเองที่ดี และคงสภาวะการทำงานของไตให้ยาวนานยิ่งขึ้น


 


The Correlation Factors of Self-Care Behaviors to Prevent Complications among Patients with Chronic Kidney Disease at Somdetphraphutthalertla Hospital in Samutsongkhram Province


The purpose of this research was to study the factors related to self-care behavior to prevent further kidney-related complications among patients with chronic kidney disease at Somdetphraphutthaloetla Hospital in Samutsongkhram province. The sample included patients who were diagnosed with chronic kidney disease (N=280). The patients were sampled with specified quota, and they participated in an interview, which was then interpreted through indications of statistical analysis, including the Pearson product-moment correlation coefficient, the mean and the percentage. The findings revealed that socioeconomic factors such as age, income and education were related to self-care behavior, and that these factors may have potentially delayed the deterioration among patients with chronic kidney disease. In addition, the following had the same directional correlation to self-care behavior: the background knowledge of kidney disease, the perceived severity of disease complications and end-stage renal disease, the perceived benefits of slow disease progression by appropriate self-care behaviors, and the perceived self-efficacy to slow down disease progression. This was confirmed by the positive correlation generated from the corresponding data. Therefore, it is recommended that there should be the promotion of self-care behavior by encouraging patients to consider the severity of the disease condition and its complications. Information should be given to promote the perceived benefits by pointing out that the behavior change would delay the kidney’s deterioration or reduce further complications. The increase of perceived self-efficacy would help patients understand and have confidence to take care of themselves, and would help them to maintain and prolong their kidney function.

Article Details

บท
Original Articles

References

1. ถนอม สุภาพร. สถานการณ์การรักษาโรคไตโดยวิธีการฟอกเลือด สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย .2552 (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก: http://www.nephrothai.org/news/news.asp?type=KNOWLEDGE&news_id=32. (วันที่ค้นข้อมูล 10 ตุลาคม 2556)
2. Ong-ajyooth L, Vareesangthip K, Khonputsa P, Aekplakorn W. Prevalence of chronic kidney disease in Thai adults: a national health survey. BioMed Centra. 2009; 10(35): 1- 6.
3. Ingsathit A, Thakkistian A, Chaiprasert A, Sangthawan P, Gojaseni P, Kiattisunthorn K, et al. Prevalence and risk factor of chronic kidney disease n the Thai adult population: Thai SEEK study. Nephrol Dial Transplant. 2010; 25(5): 1567-75.
4. สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย และสำนักหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. คู่มือการจัดการดูแลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะเริ่มต้น. กรุงเทพฯ: ยูเนียนอุลตร้าไวโอเลต; 2555.
5. Muntner P, He J. Hamm L, Loria C, Whelton PK. Renal insufficiency and subsequent dealth resulting from cardiovacular disease in the United States. J Am Soc Nephrol. 2002; 13(3): 745-53.
6. Levey AS, Coresh J. Chronic kidney disease. Lancet. 2012; 379(9811):165-80.
7. Go AS, Chertow GM, Fan D, McCulloch CE, Hsu CY. Chronic kidney disease and the risk of death, cardiovascular events, and hospitalization. N Engl J Med. 2004; 351(13): 1296-305.
8. สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย. แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคไตเรื้อรังก่อนการบำบัดทดแทนไต ปี 2552. กรุงเทพฯ: สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย: 2552.
9. Chen W, Abramowitz MK. Metabolic acidosis and the progression of chronic kidney disease. BMC Nephro. 2014; 15:55.
10. โรงพยาบาลสมเด็จพุทธเลิศหล้า. รายงานสถิติผู้ป่วยนอกโรคไตเรื้อรัง รหัส N18 ปีงบประมาณ 2554 - 2556. สมุทรสงคราม; 2556.
11. รัชนีย์ ไกรยศรี. ความสัมพันธ์ระหว่างความเชื่อด้านสุขภาพ บุคลิกภาพที่เข้มแข็ง และพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง (วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต) บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยบูรพา; 2543.
12. รวีวรรณ พงศ์พุฒิพัชร, อรวมน ศรียุกตศุทธ, จงจิต เสน่หา และ นพพร ว่องสิริมาศ. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพชีวิตในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังก่อนการบำบัดทดแทนไต. Journal of nurses’ association of Thailand, north-eastern division 2013; 31(1): 52-61.
13. วรรณี แกมเกตุ. วิธีวิทยาการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2555.
14. ประภาเพ็ญ สุวรรณ และ สวิง สุวรรณ. พฤติกรรมศาสตร์ พฤติกรรมสุขภาพ และสุขศึกษา. กรุงเทพฯ: เจ้าพระยาการพิมพ์; 2536.
15. ปิ่นแก้ว กล้ายประยงค์. ประสิทธิผลของโปรแกรมสุขศึกษาในการสร้างเสริมพฤติกรรมการปฏิบัติตัวเพื่อชะลอการเสื่อมของไตสู่ภาวะไตเรื้อรังระยะสุดท้ายของผู้ป่วยไตเรื้อรังระยะที่ 3 และ 4 ที่แผนกผู้ป่วยนอกอายุรกรรมโรคไต โรงพยาบาลรามาธิบดี(วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาสุขศึกษา) บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์; 2550.
16. เพ็ญศรี จิตต์จันทร์. ปัจจัยทำนายการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง (วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต) บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยบูรพา; 2554.
17. Pongpitak Mikkata. Prevalence and health outcome of patients with chronic kidney disease in district hospitals (Master of pharmacy program in clinical pharmacy), Khon Kaen Univesity; 2009.
18. พิกุล สารารักษ์. ความสัมพันธ์ระหว่างความเชื่อด้านสุขภาพกับพฤติกรรมการป้องกันโรคไตเรื้อรังในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคไตเรื้อรัง (วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต) บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยคริสเตียน; 2550.
19. อรุณรัศมี สาที. พฤติกรรมและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมเกลือ และอาหารของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังในระย่ะกอนการบำบัดทดแทนไต (การค้นคว้าอิสระพยาบาลศสตรมหาบัณฑิต) บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2554.
20. อาทิตยา ทะวงศ์. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้สูงอายุ: กรณีศึกษา ตำบลข่วงเปา อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ (การค้นคว้าอิสระศิลปะศาสตรมหาบัณฑิต) บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิยาลัยเชียงใหม่; 2553.
21. ดาวชมพู นาคะวิโร. พัฒนาการตลอดช่วงชีวิตมนุษย์: วัยผู้ใหญ่และวัยสูงอายุ. ใน มาโนช หล่อตระกูล, ธนิตา หิรัญเทพ, นิดา ลิ้มสุวรรณ (บรรณาธิการ). ตำราพฤติกรรมศาสตร์ทางการแพทย์.พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: 2555; หน้า 27-36.
22. สุภาพร องค์สุริยานนท์. การพัฒนาพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง โรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช จังหวัดสุพรรณบุรี. Public health and development 2008; 6(1): 32-8.