อัตราการกลับเข้าทำงานของผู้ประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยเนื่องจากการทำงาน ในปี พ.ศ. 2556 และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์

Main Article Content

Taniya Wongwan
Wiwat Ekburanawat

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวางนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอัตราการกลับเข้าทำงานและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการกลับเข้าทำงานของผู้ประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยเนื่องจากการทำงาน ที่อยู่ในข่ายความคุ้มครองของกองทุนเงินทดแทน ซึ่งเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลสมิติเวช ศรีราชา ในระหว่างวันที่ 1 มกราคม – 31 ธันวาคม พ.ศ. 2556 ทำการเก็บข้อมูลโดยการทบทวนเวชระเบียน เอกสารที่เกี่ยวข้อง และการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ ผู้ป่วยที่เป็นกลุ่มตัวอย่างมีจำนวนทั้งหมด 203 คน เป็นเพศชายร้อยละ 78.8 เพศหญิงร้อยละ 21.2 อายุเฉลี่ย 30.5 ปี ส่วนใหญ่เป็นโสด จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือประกาศนียบัตรวิชาชีพ และไม่มีโรคประจำตัว แบ่งเป็นกลุ่มที่ประสบอันตรายจากการทำงานร้อยละ 95.6 และกลุ่มที่เจ็บป่วยเนื่องจากการทำงานร้อยละ 4.4 อัตราการกลับเข้าทำงานที่ระยะเวลา 3 วัน, 1 สัปดาห์, 1 เดือน, 2 เดือน, 3 เดือน, 4 เดือน, 5 เดือน, และ 6 เดือน หลังจากวันที่เกิดเหตุประสบอันตรายหรือวันแรกที่เริ่มเกิดอาการเจ็บป่วย เท่ากับร้อยละ 55.2, 72.4, 87.7, 94.1, 96.6, 98.5, 98.5, และ 98.5 ตามลำดับ การหาความสัมพันธ์ของการกลับเข้าทำงานกับปัจจัยด้านต่างๆ พบว่า เพศ (p = 0.025), การเข้ารับการรักษาเป็นผู้ป่วยใน (p < 0.001), การสูญเสียอวัยวะ (p < 0.001), และการมีภาวะกระดูกหัก (p = 0.002) เป็นปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการกลับเข้าทำงาน จากผลการศึกษาที่ได้ชี้ให้เห็นว่าปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับอัตราการกลับเข้าทำงาน สามารถนำไปสู่การพัฒนาโปรแกรมที่เหมาะสมสำหรับผู้ป่วยที่ประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยเนื่องจากการทำงานได้ต่อไปในอนาคต


 


Return to Work Rate of Workers with Occupational Injury or Illness in 2013 and Related Factors


This cross-sectional descriptive study aimed to describe the return to work rate and determine the factors related after occupational injuries or illnesses among the patients who visited Samitivej Sriracha Hospital from 1st January to 31th December 2013 which reimbursed from Workmen’s compensation fund. Data obtained by medical record reviewed, document reviewed, and telephone interviewed. Total 203 subjects, 78.8 % were males and 21.2 % were females. The average age was 30.5 years old. Most of subjects were single, graduated from senior high school or received vocational certificate, and no underlying diseases. Subjects were suffered from occupational injuries 95.6 % and occupational illnesses for another 4.4 %. Return to work rate at 3 days, 1 week, 1 month, 2 months, 3 months, 4 months, 5 months, and 6 months after injured day or first day of illness were 55.2 %, 72.4 %, 87.7 %, 94.1 %, 96.6 %, 98.5 %, 98.5 %, and 98.5 %, respectively. Factors that found association with return to work status were gender (p = 0.025), in-patient treatment (p < 0.001), organ loss (p < 0.001), and bone fractures (p = 0.002). Findings from this study indicated that related factors will guide the appropriate programs to support workers with occupational injuries or illnesses in the future.

Article Details

บท
Original Articles

References

1. สำนักงานประกันสังคม. สถิติงานประกันสังคม 2555. นนทบุรี: สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน; 2556.
2. กองทุนเงินทดแทน สำนักงานประกันสังคม. รายงานประจำปี 2555 กองทุนเงินทดแทน. นนทบุรี: กองทุนเงินทดแทน สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน; 2556.
3. พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 111 ตอนที่ 28 ก. (ลงวันที่ 30 มิถุนายน 2537).
4. อดุลย์ บัณฑุกุล. การประเมินผู้ป่วยเพื่อกลับเข้าทำงานหลังการบาดเจ็บหรือเจ็บป่วย. กรุงเทพมหานคร: กลุ่มศูนย์การแพทย์เฉพาะทางด้านอาชีวเวชศาสตร์และเวชศาสตร์สิ่งแวดล้อม โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข; 2552.
5. วิวัฒน์ เอกบูรณะวัฒน์. การดูแลผู้ป่วยกลับเข้าทำงาน. ชลบุรี: สัมมาอาชีวะ; 2554.
6. Talmage JB, Melhorn JM, Hyman MH. AMA Guides to the evaluation of work ability and return to work. 2nd ed. the United States of America: American Medical Association; 2011.
7. พิพัฒน์ พูลทรัพย์, พรชัย สิทธิศรัณย์กุล, วิโรจน์ เจียมจรัสรังษี. สัดส่วนและปัจจัยที่เกี่ยวข้องของการกลับมาทำงานภายหลังการสูญเสียอวัยวะหรือสมรรถภาพของรยางค์ส่วนบนที่เกิดจากอุบัติเหตุเนื่องจากการทำงาน. วารสารวิชาการสาธารณสุข 2554;20(2):265-71.
8. Hou WH, Sheu CF, Liang HW, Hsieh CL, Lee Y, Chuang HY, et al. Trajectories and predictors of return to work after traumatic limb injury-a 2-year follow-up study. Scand J Work Environ Health. 2012;38(5):456-66.
9. กฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการตรวจสุขภาพของลูกจ้าง และส่งผลการตรวจแก่พนักงานตรวจแรงงาน พ.ศ. 2547. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 122 ตอนที่ 4 ก. (ลงวันที่ 13 มกราคม 2547).
10. Du CL, Lai CF, Wang JD. Delayed return-to-work in workers after non-severe occupational upper extremity fracture in Taiwan. J Formos Med Assoc. 2007;106(11):887-93.