The Human Capital Model of Community Hospitals

Main Article Content

Ketsaraporn Polseela
Rattaphong Sonsuphap
Jiracha Vicheanpanya

บทคัดย่อ

ตัวแบบทุนมนุษย์ของโรงพยาบาลชุมชน

เกศราภรณ์ พลสีลา*, รัตพงษ์ สอนสุภาพ**, จิรัชฌา วิเชียรปัญญา**

*สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดบึงกาฬ, ** มหาวิทยาลัยรังสิต

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ที่สำคัญ เพื่อสังเคราะห์และเสนอตัวแบบทุนมนุษย์ของโรงพยาบาล ชุมชนที่ผ่านการประเมินและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล ผู้วิจัยใช้แบบสอบถามที่ผ่านการตรวจสอบ คุณภาพด้วยวิธีการพิจารณาความตรงเชิงเนื้อหาและหาค่าความเที่ยง ซึ่งมีค่าความเที่ยงของ แบบสอบถามทั้งฉบับคือ 0.8828 เก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างคือ 1) ผู้บริหารโรงพยาบาล 2) ผู้ประสานงานคุณภาพ และ 3) ผู้ปฏิบัติงานโรงพยาบาลชุมชนที่ผ่านการประเมินทั้งจังหวัด (จำนวน 4 จังหวัด) รวม 24 แห่งจำนวน 630 คน และใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกจากนักวิชาการ2 ท่าน ผู้บริหาร และผู้ดูแลระบบคุณภาพโรงพยาบาลชุมชน 2 ท่าน และผู้รับบริการ 4 ท่าน รวม จำนวน 8 ท่าน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับ 2 และใช้การวิเคราะห์เนื้อหาสำหรับวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้ จากการสัมภาษณ์เชิงลึก ผลการศึกษาพบว่า องค์ประกอบส่วนใหญ่มีลักษณะความสัมพันธ์ทางบวก มีขนาดตั้งแต่ 0.40 ถึง 0.79 โดยองค์ประกอบทุนทางสังคมและทุนทางอารมณ์มีความสัมพันธ์กัน สูงสุด ทั้งนี้โดยที่องค์ประกอบทุนมนุษย์ที่มีค่าน้ำหนักมากที่สุดคือ ทุนทางสังคม ส่วนองค์ประกอบทุน การจัดการที่มีค่าน้ำหนักมากที่สุดคือ ทุนการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และองค์ประกอบการประเมินผล ทุนมนุษย์ที่มีค่าน้ำหนักมากที่สุดคือ มุมมองด้านกระบวนการภายใน ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบ เชิงยืนยันอันดับที่สองด้วยโปรแกรมลิสเรล พบว่าโมเดลมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิง ประจักษ์พิจารณาจากค่าไคสแควร์มีค่าเท่ากับ 5.16 ซึ่งมีความน่าจะเป็นเท่ากับ 0.51 โดยมีค่าดัชนี วัดระดับความกลมกลืน เท่ากับ 0.99 และค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืนที่ปรับแก้แล้วมีค่าเท่ากับ 0.98 และค่าน้ำหนักของทั้ง 3 องค์ประกอบของตัวแบบทุนมนุษย์ของโรงพยาบาลชุมชนที่ผ่านการ ประเมินและรับรองคุณภาพสถานพยาบาลเรียงลำดับจากมากไปน้อยคือ ทุนกระบวนการ(b= 1.22) การประเมินผลทุนมนุษย์(b=1.06) และทุนมนุษย์(b=1.04)

 

The purpose of this research was to synthesize and reveal the human capital model of community hospitals. The survey research was conducted by using a questionnaire, and by collecting data from 24 accredited rural hospitals in 4 provinces. The validity test was indicated by the degree to which research instruments could achieve certain aims. The reliability of the questionnaire was 0.8828. Beside the quantitative method, the in-depth interview was applied to collect qualitative data from two hospital scholars, a hospital director, a hospital quality system administrator and four key informants. The data was analyzed by frequency distribution, percentage, mean, standard deviation, second order confirmatory factor analysis and content analysis. The analysis from doing factor loading indicated that: 1) the human capital model was social capital; 2) the capital model was a human resources development capital; and 3) the evaluation model was an internal process perspective. The result from the second order confirmatory factor analysis found that the human capital model of community hospitals fit the empirical data (= 5.16, df = 6, p = 0.523, GFI = 0.99, AGFI = 0.98). The factor loading of the human capital model of community hospitals was managerial capital (b= 1.22); human capital evaluation (b= 1.06); and human capital (b= 1.04), respectively.

Article Details

บท
Original Articles