การตรวจสอบความตรงและความเชื่อมั่นของแบบวัดพื้นอารมณ์เด็กวัยเรียน ฉบับภาษาไทย

Main Article Content

Nujjaree Chaimongkol
Yunee Pongjaturawit

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจสอบความตรงและความเชื่อมั่นของแบบวัดพื้นอารมณ์เด็กวัยเรียนฉบับภาษาไทยสำหรับผู้ปกครอง และสำหรับครู ซึ่งแปลมาจากต้นฉบับภาษาอังกฤษคือ The Parent School-Age Temperament Inventory (P-SATI) และ The Teacher School-Age Temperament Inventory (T-SATI) กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ปกครองของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 จำนวน 246 คน และครูประจำชั้นจำนวน 9 คน ในโรงเรียนระดับประถมศึกษาเขตเทศบาลเมือง จังหวัดชลบุรี แบบวัดต้นฉบับภาษาอังกฤษใช้วิธีการแปลกลับ และตรวจสอบยืนยัน ความตรงเชิงเนื้อหาแบบ Face validity โดยผู้พัฒนาเครื่องมือ และค่าความตรงของเครื่องมือที่วัดสิ่งเดียวกันยืนยันความเหมาะสมจากค่าความสัมพันธ์ที่มีนัยสำคัญทางสถิติระหว่างคะแนนที่ได้จากแบบวัดฉบับภาษาไทยสำหรับผู้ปกครองกับครู คือพื้นอารมณ์แบบการแสดงปฏิกิริยาทางลบการติดตามงาน และกิจกรรม (r = .22, p< .01;r = .46, p< .001, r = .19, p<.01) ยกเว้นพื้นอารมณ์แบบการถอยหนีที่พบว่าไม่มีความสัมพันธ์ (p> .05) ค่าความเชื่อมั่นแบบความสอดคล้องภายในของพื้นอารมณ์แบบการแสดงปฏิกิริยาทางลบ การติดตามงานและกิจกรรมที่ผู้ปกครองตอบมีค่าแอลฟ่าครอนบาคเท่ากับ .86, .73,.56 และที่ครูตอบเท่ากับ .94, .93,.83 สำหรับการถอยหนีที่ผู้ปกครองและครูเป็นผู้ตอบมีค่าแอลฟ่าครอนบาคเท่ากับ .35 และ .48 ตามลำดับ ผลการวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่าแบบวัดพื้นอารมณ์เด็กวัยเรียนฉบับภาษาไทยสำหรับผู้ปกครองและครูมีคุณสมบัติเหมาะสมทั้งความตรงและความเชื่อมั่น สามารถนำไปใช้ได้กับกลุ่มตัวอย่างเด็กวัยเรียนไทยได้ ยกเว้นข้อความในพื้นอารมณ์แบบการถอยหนี ที่ยังต้องการศึกษาเพิ่มเติมเพื่อปรับปรุงและพัฒนาให้เหมาะสม
กับบริบทและวัฒนธรรมไทยต่อไป

Article Details

บท
Original Articles