การสร้างเสริมพฤติกรรมป้องกันอุบัติเหตุจราจรมหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล จังหวัดนครราชสีมา

Main Article Content

Mali Photipim
Panida Tepchalee

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมป้องกันอุบัติเหตุจราจรก่อนและหลังการจัดโปรแกรม และศึกษาปริมาณการเกิดอุบัติเหตุจราจรของนักศึกษาอาจารย์ และบุคลากรมหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 400 คน คำนวณตามสูตร TaroYamane กลุ่มตัวอย่าง ได้รับโปรแกรมประกอบด้วยการบรรยายให้ความรู้การประชุมเชิงปฏิบัติการในการวางแผนป้องกันการเกิดอุบัติเหตุจราจร การจัดกิจกรรมรณรงค์การป้องกันอุบัติเหตุจราจรในมหาวิทยาลัย การประกาศนโยบายให้มหาวิทยาลัยเป็นเขตสวมหมวกนิรภัย 100% ระยะเวลาดำเนินการมิถุนายน 2553 - พฤษภาคม 2554 เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามและแบบสังเกตพฤติกรรมที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเอง วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและใช้สถิติอนุมานเปรียบเทียบความแตกต่างด้วยสถิติ Paired Sample t-test กำหนดระดับนัยสำคัญที่ 0.05ผลการวิจัยพบว่า ภายหลังการจัดโปรแกรม (1) ผู้ใช้รถจักรยานยนต์มีคะแนนพฤติกรรมการปฏิบัติตัวในการป้องกันอุบัติเหตุจราจรสูงกว่าก่อน การจัดโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระดับ 0.05 ส่วนคะแนนพฤติกรรมการปฏิบัติตัวในการป้องกันอุบัติเหตุจราจรผู้ใช้รถยนต์ไม่แตกต่างกันทางสถิติ (2) อุบัติเหตุการจราจรลดลงจาก ร้อยละ 24.8 เป็นร้อยละ 7.8 ยานพาหนะที่เกิดเหตุส่วนใหญ่เป็นรถจักรยานยนต์ลดลงจาก รอ้ ยละ 85.9 เป็นร้อยละ 64.5 การคาดเข็มขัดนิรภัยผู้ประสบอุบัติเหตุเพิ่มขึ้นจาก ร้อยละ 71.4 เป็น ร้อยละ 81.8 ส่วนการสวมหมวกนิรภัยเพิ่มขึ้นจาก ร้อยละ 58.8เป็นร้อยละ 70 จากผลการวิจัยพบว่าโปรแกรมนี้มีประสิทธิผลเพียงพอที่จะนำไปประยุกต์ใช้เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการป้องกันอุบัติเหตุจราจรของนักศึกษาอาจารย์และบุคลากรในมหาวิทยาลัยและหน่วยงานอื่นๆ ต่อไป

Article Details

บท
Original Articles