พฤติกรรมการบริโภคผักและผลไม้ในนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ของโรงเรียนแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร

Main Article Content

Siree Suwansin
Supreya Tunsakul
Manirat Therawiwat
Piyatida Khajornchaikul

บทคัดย่อ

การวิจัยกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรม VFruits-Vvegetables เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคผักและผลไม้ในนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ของโรงเรียนแห่งหนึ่งในสำนักงานเขตยานนาวา กรุงเทพมหานคร จำนวน 67 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 32 คน และกลุ่มเปรียบเทียบ 35 คน กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรม VFruits-Vvegetables เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคผักและผลไม้ที่ประยุกต์ทฤษฎีปัญญาสังคมประกอบด้วยกิจกรรมการเรียนรู้ 6 กิจกรรม ระยะเวลาการทดลอง 8 สัปดาห์และใช้วิธีการเรียนรู้ผ่านการเสนอตัวแบบ (Modeling Procedure) การชมวีดิทัศน์ การสาธิต การเล่นเกม การแสดงบทบาทสมมุติ การตวงวัดปริมาณผัก
และผลไม้ การจัดเตรียมอาหารจากผักและผลไม้ รวบรวมข้อมูลก่อนและหลังการทดลองโดยใช้แบบสอบถามและแบบบันทึกพฤติกรรมการบริโภคผักและผลไม้ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณา ได้แก่ ความถี่ร้อยละค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเพื่ออธิบายคุณลักษณะประชากรและพฤติกรรมการบริโภคผักและผลไม้ของกลุ่มตัวอย่าง และใช้สถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ Independent t-test และ Paired samples t-test เพื่อทดสอบสมมุติฐานการวิจัย ผลการวจิ ยั พบวา่ หลงั การทดลองกลมุ่ ทดลองมคี ะแนนเฉลี่ยความรเู้ กี่ยวกับผกั และผลไม ้ เจตคติต่อการบริโภคผักและผลไม้ และพฤติกรรมการบริโภคผักและผลไม้ดีกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001) และดีกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001) ผลการวิจัยนี้สรุปได้ว่าโปรแกรม VFruits-Vvegetables เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคผักและ
ผลไม้ในนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีประสิทธิผลสามารถนำไปใช้ในการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการบริโภคผักและผลไม้ให้แก่นักเรียนในระดับชั้นประถมศึกษาได้ต่อไป

Article Details

บท
Original Articles