การศึกษาแนวทางการสร้างความผูกพันต่อองค์กรตามมุมมอง ของผู้อำนวยการโรงพยาบาลเอกชนในประเทศไทย (A study of an employee engagement model from the perspective of private hospital directors in Thailand)
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการสร้างความผูกพันต่อองค์กรของโรงพยาบาลเอกชนในประเทศไทยตามมุมมองของผู้อำนวยการโรงพยาบาล โดยวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ(Qualitative Research)เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก(In-depth Interview)ผู้วิจัยได้สร้างแบบสัมภาษณ์แบบมีแนวคำถามหลักกำหนด (Interview Guide Approach) แล้วนำไปทดลองสัมภาษณ์กับผู้อำนวยการโรงพยาบาลที่ไม่ใช่ผู้ให้ข้อมูลในงานวิจัยจริงจำนวน 3 แห่ง ก่อนนำมาปรับปรุงแล้วใช้สัมภาษณ์จริง ผู้ให้ข้อมูลได้แก่ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลเอกชนที่มีขนาด100 เตียงขึ้นไปและยินดีให้ข้อมูล จำนวน 30 คน ใช้วิธีเลือกแบบเจาะจง(Purposive Sampling)โดยพิจารณาจากคุณสมบัติที่ตรงกับวัตถุประสงค์การวิจัย และแบบลูกโซ่(Snowball Sampling)โดยการบอกต่อจากผู้ให้ข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการจัดหมวดหมู่และตีความหมายข้อมูลแล้วสร้างข้อสรุปขึ้นโดยอิงตามกรอบแนวคิดทฤษฏีความผูกพันต่อองค์กรและใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ Atlas Ti รุ่น 6.2
ผลการศึกษาพบว่า แนวทางการสร้างความผูกพันของพนักงานต่อองค์กรโรงพยาบาลเอกชนมี 4 มิติ ได้แก่ 1) มิติด้านกายภาพ เป็นแนวทางการสร้างความผูกพันให้พนักงาน แบบที่จับต้องมองเห็นได้ เช่น การดูแลให้มีอาคาร สถานที่ทำงานปลอดภัย เป็นต้น ซึ่งเป็นมิติพื้นฐานที่ควรสร้างให้เกิดขึ้น 2) มิติด้านการพัฒนาความรู้และคุณค่าพนักงาน เป็นแนวทางการสร้างให้พนักงานมีความมั่นใจในการทำงานและภูมิใจในตนเอง3) มิติด้านทัศนคติเชิงบวกต่อองค์กร เป็นแนวทางการสร้างให้พนักงานเป็นตัวแทนที่ดีขององค์กร และ 4) มิติด้านผลการปฏิบัติงานบรรลุเป้าหมาย เป็นแนวทางการสร้างความผูกพันต่อองค์กรด้วยการบูรณาการมิติทั้ง 3 ด้านข้างต้น เพื่อสร้างให้พนักงานรู้สึกร่วมและทุ่มเททำงานเพื่อบรรลุเป้าหมายองค์กร ผลการวิจัยนี้เสนอเป็น(ร่าง)แนวทางเพื่อการพัฒนาการสร้างความผูกพันต่อองค์กรของโรงพยาบาลเอกชนในประเทศไทย ข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งต่อไปควรทำวิจัยเชิงลึกในโรงพยาบาลเอกชนที่พนักงานมีความผูกพันต่อองค์กรสูง และแยกตามขนาดของโรงพยาบาล เช่น ขนาดเล็ก ขนาดกลางและขนาดใหญ่
The purpose of this study was to identify an employee engagement model of private hospitals in Thailand based on hospital directors’ perspectives. A qualitative research design, with an in-depth interview technique was used in this study. The interview guide approach type was chosen. A pilot study was conducted with three private hospital directors, who were not part of the final sample, to ensure the appropriateness of the interview guide. The participants were thirty hospital directors of more than 100 beds capacity. Data were collected through purposive sampling, using a snowball technique. The data was classified and interpreted before being concluded based on the employee engagement theory with the used of the ATLAS ti software as a tool.
The findings of the study indicated that there were four dimensions of the employee engagement model: 1) physiological dimension; 2) employees and their value development dimension; 3) positive attitudes in the organization dimension; and 4) focus performance dimension. These results were presented as a draft guideline for employee engagement development for private hospitals in Thailand. Recommendation for further study, the case of private hospital with high recognition of employee engagement should be studied according to the hospital size.