ความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการบาดเจ็บจากการทำงานของคนงานในโรงพิมพ์ ขนาดเล็ก พื้นที่เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร (Prevalence and Factors Associated with Work-Related Injury among Small Printing Press Workers in Samphanthawong District, Bangkok)

Main Article Content

Mongkolsak Longlalerng
Sasitorn Taptagaporn
Sirima Mongkolsomlit

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการบาดเจ็บจากการทำงานของคนงานในโรงพิมพ์สิ่งพิมพ์ประเภทกระดาษซึ่งเป็นสถานประกอบการขนาดเล็ก ด้วยรูปแบบการศึกษาภาคตัดขวาง ทำการเก็บข้อมูลในคนงานของโรงพิมพ์ประเภทกระดาษ พื้นที่เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร จำนวน 86 คน วิเคราะห์ความสัมพันธ์ของปัจจัยต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการบาดเจ็บจากการทำงานและขนาดความสัมพันธ์ ด้วยสถิติไคสแควร์, Fisher’s exact test ค่า odds ratio (OR) และ 95% confidence interval of OR

ผลการศึกษาพบความชุกของการบาดเจ็บจากการทำงานในโรงพิมพ์สิ่งพิมพ์ประเภทกระดาษ พื้นที่เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร ร้อยละ 27.9  ประเภทของการบาดเจ็บที่พบมากที่สุด คือ วัตถุหรือสิ่งของหนีบหรือดึง ร้อยละ 41.7 รองลงมา คือ หกล้มลื่นล้ม ร้อยละ 25.0 ระดับความรุนแรงของการบาดเจ็บที่พบส่วนใหญ่ เป็นการบาดเจ็บในระดับเล็กน้อยไม่ต้องหยุดงาน ร้อยละ 62.5 ลักษณะการบาดเจ็บส่วนใหญ่ที่พบ คือ บาดแผลถลอก คิดเป็นร้อยละ 37.5 และสาเหตุของการได้รับบาดเจ็บส่วนใหญ่เกิดจากการมีสภาพร่างกายและจิตใจที่ไม่พร้อมในการทำงาน ร้อยละ 50 สำหรับปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการบาดเจ็บจากการทำงานของคนงานในโรงพิมพ์อย่างมีระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ได้แก่ จำนวนชั่วโมงในการทำงานมากกว่า 8 ชั่วโมง(OR=1.39, 95% CI=1.05 – 1.83) การทำงานล่วงเวลา(OR=5.49, 95% CI=1.96 – 15.44) และการเคยประสบกับเหตุการณ์เกือบเกิดอุบัติเหตุในโรงพิมพ์(OR =1.04, 95% CI= 0.60-1.78)

การบริหารจัดการเกี่ยวกับชั่วโมงในการทำงานและการทำงานล่วงเวลาที่เหมาะสมกับคนงาน รวมถึงการส่งเสริมสนับสนุนให้คนงานสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล และการให้การฝึกอบรมแก่คนงานน่าจะช่วยลดการบาดเจ็บจากการทำงานในโรงพิมพ์ได้

             This research study aims to determine prevalence and factors associated with work-related injuries among paper printing press workers in small businesses.  A cross-sectional study collected information from eighty-six workers in Samphanthawong District, Bangkok. The Chi-Square test, Fisher’s exact test, odds ratio and 95% confidence interval were used to explore the relationship between each of the factors for the injuries. 

            The results showed an overall injury prevalence rate of 27.9 percent. The majority injuries was caused by pulls or tweaks which account for occurs at 41.7 percent of injuries, followed by slip and fall injuries at 25.0 percent.  The most common injuries were traumatic abrasions at 37.5 percent, which mainly resulted from poor physical and mental condition of workers. Fifty percent of the factors associated with injuries at 0.05 significant level included more than 8 hours of work (OR=1.39, 95%CI=1.05 – 1.83), working overtime (OR=5.49, 95%CI=1.96 – 1.83) and near-miss of injury (OR =1.04, 95%CI=0.60 – 1.78)

            Better management of hours worked and overtime, encouraging workers to wear PPE and providing training for workers reduces accidents and injuries in printing press. 

Article Details

บท
Original Articles