ความเห็นพ้องของนิยามการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 โดยกลุ่มผู้เชี่ยวชาญไทย ด้วยการใช้เทคนิคนอมินัลกรุ๊ป (A Consensus-based Definition on Chronic Care Model of Type 2 Diabetic Patients among Thai Experts Using Nominal Group Technique)

Main Article Content

Artittaya Wangwonsin
Nithra Kitreerawutiwong
Phudit Tejativaddhana
Duangruedee Lasuka

บทคัดย่อ

นับตั้งแต่อดีตจนถึง ประจักษ์ที่แสดงให้เห็นว่ารูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรัง (Chronic Care Model: CCM) สามารถเพิ่มคุณภาพการดูแลผู้ป่วยโดยหลักฐานที่ตีพิมพ์ทั้งหมดเป็นการศึกษาในประเทศที่พัฒนาแล้ว เช่น สหรัฐอเมริกา แคนาดา นิวซีแลนด์และออสเตรเลีย ซึ่งถือว่าเป็นประเทศที่มีทรัพยากรทางสุขภาพที่มีความพร้อมโดยเฉพาะทีมดูแลสุขภาพ อย่างไรก็ตามหากมีการนำนิยามการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังจากประเทศที่พัฒนาแล้วมาใช้ในประเทศไทยซึ่งเป็นประเทศที่กำลังพัฒนาและมีความแตกต่างในเชิงบริบทด้านวัฒนธรรมและสังคมต่างจากประเทศตะวันตก อาจจะทำให้เกิดความเข้าใจความหมายที่ผิดพลาด ดังนั้น การนำรูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังมาใช้ในบริบทของประเทศไทย จึงมีความจำเป็นที่จะต้องทำความเข้าใจความหมายดังกล่าว โดยความเห็นพ้องของกลุ่มผู้เชี่ยวชาญไทย และมีการบันทึกอย่างเป็นลายลักษณ์อักษร โดยเฉพาะกลุ่มผู้ป่วยที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนานิยามรูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังในกลุ่มผู้ป่วยที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 2

กลุ่มผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านเบาหวานทั้งหมด 12 ท่าน ได้รับการคัดเลือกเข้ามาในการศึกษานี้
ด้วยการใช้เทคนิคนอมินัลกรุ๊ป ซึ่งกระบวนการนี้ดำเนินการทั้งการจัดประชุม การสื่อสารทางไปรษณีย์และ
จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหาและการจัดลำดับ

ผลการศึกษาพบว่านิยามรูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังในกลุ่มผู้ป่วยที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบ ดังนี้ 1) การจัดองค์การดูแลสุขภาพ 2) การสนับสนุนการดูแลตนเอง 3) การออกแบบระบบบริการ 4) การสนับสนุนการตัดสินใจ 5) การจัดระบบข้อมูลข่าวสาร และ 6) การใช้ทรัพยากรสิ่งสนับสนุน และการมีส่วนร่วมของชุมชน และมีองค์ประกอบย่อยรวมทั้งสิ้น 25 องค์ประกอบ

ผลการศึกษานี้ สามารถนำไปใช้ในการออกแบบการบริการดูแลผู้ที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 โดยใช้รูปแบบการดูแลโรคเรื้อรัง

Up until present, it is discovered from empirical evidences that Chronic Care Model (CCM) can improve the quality of health care service. The evidences used to support this notion can be seen drawing from the research conducted in many developed countries like America, Canada, New Zealand and Australia. These countries have been regarded as having high quality of health care system. However, to use the same definition of caring from developed countries to explain the health care process in other counties like Thailand, it would be misleading. This is because Thailand has different socio-cultural context from western countries. Hence, in the context of Thailand, applying CCM will require a consensual and explicit definition among Thai experts, especially for a specific group of patients who has type 2 diabetes mellitus. This study aimed to develop a definition for documentation of chronic care model of type 2 diabetes mellitus.

Twelve Thai experts in the field of Diabetes Mellitus were recruited in this study. A nominal group technique was conducted. The processes were performed using plenary meeting, postal mail, and email based communication. Content analysis and ranking were carried out for data analysis.

The result revealed that the definition of CCM among type 2 diabetic patients was divided into 6 dimensions consisting of 1) Health care organization, 2) Self - management support, 3) Delivery system design,
4) Decision support, 5) Information system, and 6) Community resources and health participations with a total of 25 sub-dimensions.

These definitions will provide a design of type 2 diabetes care service that aligns with CCM.  

Article Details

บท
Original Articles
Author Biography

Artittaya Wangwonsin

Assistant Professor of Industrial Hygiene and SafetyAssociate Dean For Academic Affairs and International Relations