สุขลักษณะ ความพึงพอใจของผู้ใช้บริการห้องส้วม และการปนเปื้อนแบคทีเรียกลุ่มโคลิฟอร์มในห้องส้วมสาธารณะที่ตั้งภายในซุปเปอร์มาเก็ต ในเขตกรุงเทพมหานคร

Main Article Content

Kitja Chitpirom
Boonsong Kaigate
Vajira Singhakajen

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ของงานวิจัยเชิงสำรวจนี้ เพื่อตรวจหาการปนเปื้อนของแบคทีเรียกลุ่มโคลิฟอร์ม และอีโคไล (E. coli) ในห้องส้วมที่ตั้งภายในซุปเปอร์มาเก็ตขายปลีกขนาดใหญ่ และศึกษาสุขลักษณะและความพึงพอใจของผู้ใช้บริการ โดยการป้ายเชื้อบนตัวอย่างพื้นผิววัสดุอุปกรณ์เครื่องใช้ในห้องส้วม 5 ชนิด ประกอบด้วย ก๊อกน้ำ ขอบอ่างล้างมือ ฝารองนั่งชักโครก ลูกบิดหรือกลอนประตู และที่กดชักโครก เพื่อตรวจหาแบคทีเรียกลุ่มโคลิฟอร์ม และอีโคไล จาก 20 ห้องส้วมสาธารณะในกรุงเทพมหานครฯ และใช้แบบสอบถามในการประเมินสุขลักษณะและความพึงพอใจของผู้ใช้บริการห้องส้วม จำนวน 100 คน              

ผลการวิจัยพบว่าสามารถแยกแบคทีเรียกลุ่มโคลิฟอร์มจาก ก๊อกน้ำ ขอบอ่างล้างมือ ฝารองนั่งชักโครก ลูกบิดหรือกลอนประตู ที่กดชักโครก และฝารองนั่งชักโครก ร้อยละ 30, 25, 30, 10 และ 5 ตามลำดับ ซึ่งมีการปนเปื้อน 7.5-40.5, 1.0-2.0, 0.1-4.0, 5.0-100 และ 21.0 CFU/ซม. 2 ตามลำดับ เช่นเดียวกับอีโคไล ที่สามารถแยกได้ในทุกแหล่ง โดยมีการปนเปื้อนอยู่ระหว่างร้อยละ 70-93.3 ของแบคทีเรียกลุ่มโคลิฟอร์มทั้งหมดที่แยกได้ ผลจากการใช้แบบสอบถามพบว่าผู้ใช้บริการห้องส้วมมีความพึงพอใจสูงสุดคิดเป็นร้อยละ 21.0 ในความสะอาดของห้องน้ำโดยรวม ในขณะที่ไม่พึงพอใจมากที่สุดเกี่ยวกับสิ่งอำนวยความสะดวกในห้องส้วม เช่น การให้บริการสบู่ และกระดาษทิชชู นอกจากนี้ยังพบว่าร้อยละ 7.0 ของผู้ใช้บริการห้องส้วมไม่เคยล้างมือด้วยสบู่หรือน้ำหลังจากการใช้ห้องส้วมเลย จากผลของงานวิจัยนี้สามารถนำมาใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานสำหรับการเสนอแนะวิธีการปรับปรุงอนามัยส่วนบุคคลของผู้ใช้ห้องส้วมตลอดจนสภาพแวดล้อมในห้องส้วมสาธารณะทั่วไป

 

Hygienic condition and Satisfaction of Toilet Users and Contamination of Coliform Bacteria in Public Toilet inside the Supermarkets, Bangkok 

The aims of this survey research are to assess the coliform and E. coli bacteria contamination in toilets inside large retail supermarkets and to study toilet users’ hygienic and their satisfaction. Five material surfaces including faucets, sinks, toilet seats, door handles/knobs and toilet flushes were swabbed and determined the presence of coliform bacteria and Escherichia coli from 20 public toilets in Bangkok, Thailand. Questionnaires were used to collect data from 100 toilet users for assessing their sanitation and satisfaction.

Results, the coliform bacteria could be identified in 30.0, 25.0, 30.0 10.0 and 5.0% of faucets, sinks, toilet seats door handles/knobs and toilet flushes, in the number of 7.5-40.5, 1.0-2.0, 0.1-4.0, 5.0-100 and 21.0 CFU/cm2, respectively. Also, the number of E. coli which was isolated on all material surfaces ranged between 70.0 and 93.3% of total coliform bacteria. From the results of questionnaires, the toilet users were most satisfied with toilet cleanliness (17%). On the contrary, they were most unsatisfied with the facilities for hand cleaning (21.0%) such as soap and tissue paper. The questionnaires found 7.0% of toilet users never washed their hands with soap or water after using toilet. The results of this research can be used as the basis for suggestions how to improve the toilet user sanitation and the environment of general public toilet.


Article Details

บท
Original Articles