Community Participation in Saladin Self-sufficiency Community in the Management of Water Quality in Mahasawat Canal

Main Article Content

Suriyapong Watanasak
Rutja Phuphaibul

บทคัดย่อ

โจทย์วิจัยของปัญหามลพิษทางน้ำในคลองมหาสวัสดิ์ได้จากการมีส่วนร่วมของชุมชนศาลาดิน  อำเภอพุทธมณฑล  จังหวัดนครปฐม  โดยการวิจัยนี้อยู่ภายใต้โครงการวิจัยแบบบูรณาการเกี่ยวกับการพัฒนาชุมชนสุขภาพพอเพียงภายใต้ปรัชญา “เศรษฐกิจพอเพียง”  ผลจากเวทีเสวนาของชุมชนพบว่า “ปัญหามลพิษทางน้ำ” เป็นประเด็นสำคัญที่เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตและสุขภาพชุมชน  โครงการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษากระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการน้ำเสีย โดยการตรวจวิเคราะห์คุณภาพน้ำ  จึงได้ดำเนินการสำรวจคลองโดยรอบชุมชนเก็บตัวอย่างน้ำ 24 ตัวอย่างจากคลองมหาสวัสดิ์, คลองสาขา และจากหมู่บ้านจัดสรร  การสุ่มเก็บตัวอย่างน้ำทั้งในช่วงฤดูฝนและฤดูแล้ง  คุณภาพน้ำที่ตรวจวิเคราะห์ประกอบด้วย ความโปร่งใส, ความเป็นกรดเป็นด่าง (pH), ค่าความนำไฟฟ้า (EC), อุณหภูมิ, ความเค็ม, ความลึก, BOD, ปริมาณสารแขวนลอยทั้งหมด (TSS), ของแข็งทั้งหมดที่ละลายในน้ำ (TDS), ฟอสฟอรัสทั้งหมด (TP), ไนเตรท-ไนโตรเจน (NO3--N), แอมโมเนียไนโตรเจน (NH3-N), ออกซิเจนที่ละลายน้ำ (DO), total  coliform bacteria, fecal coliform bacteria, แคดเมียม (Cd) และตะกั่ว (Pb)

ผลการศึกษาที่สำคัญเกี่ยวข้องกับชุมชนในการแก้ไขปัญหาได้แก่ 1) ปัญหาน้ำเสียจากหมู่บ้านจัดสรร พบค่าโคลิฟอร์มแบคทีเรีย BOD และ NH3–N ในปริมาณสูง เนื่องจากไม่ได้มีการบำบัดน้ำทิ้ง จึงได้มีการผลักดันโดยชุมชนและอบต.มหาสวัสดิ์ ให้หมู่บ้านจัดสรรมีการดำเนินการติดตามและควบคุมระบบการบำบัดน้ำเสียให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น 2) ปัญหาน้ำเสียจากโดยรอบชุมชน ซึ่งพบค่า fecal coliform bacteria ที่สูง เป็นการบ่งชี้ถึงการปนเปื้อนอุจจาระในแหล่งน้ำ ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลมหาสวัสดิ์ร่วมกับชุมชนได้ดำเนินการกระตุ้นจิตสำนึกต่อสิ่งแวดล้อมและปรับปรุงห้องสุขาและการใช้ให้เป็นไปตามหลักสุขอนามัย 3) คุณภาพน้ำ(DO) ต่ำในคลองมหาสวัสดิ์ เนื่องจากภาวะน้ำนิ่ง ปัญหาความหนาแน่นของผักตบชวา การปล่อยน้ำจากการเผาซากเหลือทิ้งทางการเกษตรและน้ำทิ้งที่มีปุ๋ยออกสู่แหล่งน้ำ ส่งผลทำให้ผักตบชวามีการโตเร็ว การแก้ปัญหานี้จึงควรร่วมมือจากทุกภาคส่วน

Article Details

บท
Original Articles