ตัวแบบการพยากรณ์จำนวนผู้ป่วยโรคปอดอักเสบในประเทศไทย

Main Article Content

Warangkhana Keerativibool

บทคัดย่อ

Forecasting Model for the Number of Patients with Pneumonia in Thailand



The purpose of this research was to construct the most suitable forecasting model for the number of patients with pneumonia in Thailand. The data gathered from the website of Social and Quality of Life Database System during the first quarter, 2003 to the fourth quarter, 2014 (48 values) were used and divided into two categories. The first category had 44 values, which were the data during the first quarter, 2003 to the fourth quarter, 2013 for the modeling by the methods of Box-Jenkins, Winters’ additive exponential smoothing, and combined forecasting. The second category had 4 values, which were the data from all four quarters in 2014 for checking the accuracy of the forecasting models via the criterion of the lowest mean absolute percentage error. The results showed that for all forecasting methods that had been studied, combined forecasting method was the most suitable for this time series and the forecasting model was


 Ŷt= 0.234904Ŷ1t + 0.765096Ŷ2t


where  Ŷ1t and Ŷ2t represented the single forecasts at time t from Box-Jenkins and Winters’ additive exponential smoothing, respectively.


When using the combined forecasting method to predict the number of patients with pneumonia, we found that the number of pneumonia cases increased. However, the predictions of the first quarter may be lower than the actual value, so who used the forecasting model should be careful and if there were the current time series data, the model should be updated. Including should be considering the time series of monthly and weekly in order to construct the forecasting model.


 


วัตถุประสงค์ของการวิจัยครั้งนี้ คือ การสร้างตัวแบบการพยากรณ์ที่เหมาะสมที่สุดของจำนวนผู้ป่วยโรคปอดอักเสบในประเทศไทย โดยใช้ข้อมูลจากเว็บไซต์ของระบบฐานข้อมูลด้านสังคมและคุณภาพชีวิต ตั้งแต่ไตรมาสที่ 1 ปี 2546 ถึงไตรมาสที่ 4 ปี 2557 จำนวน 48 ค่า ผู้วิจัยได้แบ่งข้อมูลออกเป็น 2 ชุด ชุดที่ 1 คือ ข้อมูลตั้งแต่ไตรมาสที่ 1 ปี 2546 ถึงไตรมาสที่ 4 ปี 2556 จำนวน 44 ค่า สำหรับการสร้างตัวแบบการพยากรณ์ด้วยวิธีการทางสถิติ 3 วิธี ได้แก่ วิธีบอกซ์-เจนกินส์ วิธีปรับให้เรียบด้วยเส้นโค้งเลขชี้กำลังของวินเทอร์แบบบวก และวิธีการพยากรณ์รวม ชุดที่ 2 คือ ข้อมูลตั้งแต่ไตรมาสที่ 1 ถึงไตรมาสที่ 4 ปี 2557 จำนวน 4 ค่า สำหรับการตรวจสอบความแม่นของตัวแบบการพยากรณ์ด้วยเกณฑ์เปอร์เซ็นต์ค่าคลาดเคลื่อนสัมบูรณ์เฉลี่ยที่ต่ำที่สุด ผลการวิจัยพบว่า จากวิธีการพยากรณ์ทั้งหมดที่ได้ศึกษา วิธีการพยากรณ์รวมเป็นวิธีที่มีความเหมาะสมกับอนุกรมเวลาชุดนี้มากที่สุด ซึ่งมีตัวแบบการพยากรณ์เป็น Ŷt= 0.234904Ŷ1t + 0.765096Ŷ2t   


เมื่อ  Ŷ1t และ Ŷ2tแทนค่าพยากรณ์เชิงเดี่ยว ณ เวลา t จากวิธีบอกซ์-เจนกินส์ และวิธีปรับให้เรียบด้วยเส้นโค้งเลขชี้กำลังของวินเทอร์แบบบวก ตามลำดับ


เมื่อใช้วิธีการพยากรณ์รวมในการพยากรณ์จำนวนผู้ป่วยโรคปอดอักเสบ พบว่า จำนวนผู้ป่วยโรคปอดอักเสบมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม ค่าพยากรณ์ของไตรมาสที่ 1 อาจมีค่าต่ำกว่าค่าจริง ดังนั้นผู้ที่นำตัวแบบการพยากรณ์ไปใช้ประโยชน์ควรระมัดระวัง และเมื่อมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันควรนำมาปรับปรุงตัวแบบ รวมถึงควรพิจารณาอนุกรมเวลารายเดือนและรายสัปดาห์ประกอบการสร้างตัวแบบการพยากรณ์ด้วย


 

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ (Original Articles)

References

1. สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 5 นครราชสีมา. สถานการณ์โรคปอดอักเสบ. 2551 (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก: http://www.dpck5.com/hot/situlation_pneu.htm (วันที่ค้นข้อมูล 14 เมษายน 2558)
2. ระบบฐานข้อมูลด้านสังคมและคุณภาพชีวิต. จำนวนและอัตราผู้ป่วยด้วยโรคเฝ้าระวัง ปี พ.ศ. 2546-2557. 2558 (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก: http://social.nesdb.go.th/SocialStat/StatReport_Final.aspx?reportid=303&template=1R2C&yeartype=M&subcatid=17 (วันที่ค้นข้อมูล 9 เมษายน 2558)
3. สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. โรคปอดอักเสบ. ม.ป.ป. (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก: http://www.boe.moph.go.th/fact/Pneumonia.htm (วันที่ค้นข้อมูล 14 เมษายน 2558)
4. ทรงศิริ แต้สมบัติ. การพยากรณ์เชิงปริมาณ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์; 2549.
5. Box, GEP, Jenkins, GM, Reinsel, GC. Time Series Analysis: Forecasting and Control. 3rd ed. New Jersey: Prentice Hall; 1994.
6. Bowerman, BL, O’Connell, RT. Forecasting and Time Series: An Applied Approach. 3rd ed. California: Duxbury Press; 1993.
7. Winters, P. Forecasting sale by exponentially weighted moving average. Management Science. 1960; 6(3): 324-342.
8. สมเกียรติ เกตุเอี่ยม. เทคนิคการพยากรณ์. พิมพ์ครั้งที่ 2. สงขลา: มหาวิทยาลัยทักษิณ; 2548.
9. มุกดา แม้นมินทร์. อนุกรมเวลาและการพยากรณ์. กรุงเทพฯ: โฟร์พริ้นติ้ง; 2549.
10. Montgomery, DC, Peck, EA, Vining, GG. Introduction to Linear Regression Analysis. 4th ed. New York: Wiley; 2006.
11. ยิ่งยง แสนเดช นิดา ชาญบรรยง และประสิทธิ์ พยัคฆพงษ์. การศึกษาตัวแบบการพยากรณ์ปริมาณการส่งออกกุ้งสดแช่แข็ง. วารสารมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี) 2554; 3(ฉบับพิเศษที่ 2): 32-44.
12. วรางคณา กีรติวิบูลย์. ตัวแบบพยากรณ์จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่มาท่องเที่ยวในประเทศไทย. วารสารวิทยาศาสตร์ มศว 2556; 29(2): 9-26.
13. วรางคณา กีรติวิบูลย์. การเปรียบเทียบวิธีการพยากรณ์ระหว่างวิธีบอกซ์-เจนกินส์ วิธีการทำให้เรียบแบบเอกซ์โพเนนเชียลที่มีฤดูกาลอย่างง่าย และวิธีการพยากรณ์รวม สำหรับการพยากรณ์อุณหภูมิเฉลี่ยต่อเดือนในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารวิทยาศาสตร์บูรพา 2556; 18(2): 149-160.
14. วรางคณา กีรติวิบูลย์. ตัวแบบพยากรณ์ปริมาณการส่งออกกาแฟคั่วและบด. วารสารวิทยาศาสตร์ มศว 2557; 30(1): 55-73.
15. วรางคณา กีรติวิบูลย์. ตัวแบบพยากรณ์มูลค่าการส่งออกกุ้งสดแช่แข็งของประเทศไทย. วารสารวิทยาศาสตร์ มข 2558; 43(1): 148-162.
16. วราฤทธิ์ พานิชกิจโกศลกุล. การเปรียบเทียบวิธีการพยากรณ์ราคาทองคำรูปพรรณรายวันระหว่างวิธีการพยากรณ์ของโฮลต์ วิธีการพยากรณ์ของบอกซ์-เจนกินส์ และวิธีการพยากรณ์รวม. วารสารมหาวิทยาลัยนเรศวร 2549; 14(2): 9-16.
17. วรางคณา กีรติวิบูลย์ และเจ๊ะอัฐฟาน มาหิเละ. ตัวแบบพยากรณ์ความเร็วลมตามแนวชายฝั่ง อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารวิจัย มข 2556; 18(1): 32-50.