ประสิทธิผลของโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในกลุ่มที่มีรูปแบบการดื่มแบบเสี่ยงต่ำหรือเสี่ยงสูง

Main Article Content

Nusara Srikitvilaisak
Sirima Mongkolsomlit

บทคัดย่อ

The Effects of a Behavioral Change Program in low-risk Drinker or Hazardous Drinker Individuals


There are four patterns of alcohol consumption; a low-risk drinker, hazardous drinker, harmful drinker, and dependent drinker. The last two patterns require treatment for alcoholism and first two patterns may show improvement with a behavioral change program. The objectives of this study were to assess and further develop the effectiveness of a behavioral change program for low risk or hazardous drinking individuals. The program was developed from the theory of health belief model self-efficacy theory and social support theory. The study design was quasi-experiment comprising 35 subjects and 35 controls.


The result showed that after the intervention, the significant increased mean scores of the health belief model, self-efficacy and social support were found among the experimental group (p<0.001). The experimental group had significantly better alcohol consumption level than before the experimentation (p<0.001) and had significantly different from the control group (p<0.001). The level of alcohol consumption, the only low level (< 4 days/month) and moderate level (1-3 days/week) were found in both groups. Following the program, the low level of alcohol consumption at the moderate level was statistically significant decreased (64.71%, P value < 0.001). No change was seen in the control group.


Therefore, the use of the combined health belief model, self-efficacy theory and social support theory can be applied effectively in the reduction of alcohol consumption in low-risk drinker and hazardous drinker individuals.


รูปแบบการดื่มแอลกอฮอล์มี 4 รูปแบบ คือการดื่มแบบเสี่ยงต่ำ เสี่ยงสูง อันตรายและแบบติด ซึ่งในสองรูปแบบหลังจำเป็นต้องได้รับการบำบัดlแต่สองรูปแบบแรกสามารถใช้วิธีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อลดหรือเลิกพฤติกรรมการดื่มแอลกอฮอล์ได้ การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดื่มแอลกอฮอล์ในกลุ่มที่มีรูปแบบการดื่มแบบเสี่ยงต่ำและเสี่ยงสูง  ซึ่งพัฒนามาจากแนวคิดแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ ทฤษฎีสมรรถนะแห่งตนlและทฤษฎีแรงสนับสนุนทางสังคม โดยใช้รูปแบบการศึกษากึ่งทดลองกับกลุ่มทดลอง 35 คนและกลุ่มควบคุม 35 คน


ผลการศึกษา พบว่า หลังการทดลองกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ สมรรถนะแห่งตนและแรงสนับสนุนทางสังคมสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001) ระดับพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ก่อนและหลังเข้าร่วมโปรแกรมฯมีความแตกต่างกัน (p<0.001) และระดับพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมหลังทดลองมีความแตกต่างกัน (p <0.001) ระดับพฤติกรรมการดื่มแอลกอฮอล์ทั้งในกลุ่มกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมไม่พบพฤติกรรมการดื่มระดับสูง (>3วัน/สัปดาห์) มีเพียงกลุ่มพฤติกรรมการดื่มในระดับปานกลาง(1-3วัน/สัปดาห์) และระดับน้อย (≤4วัน/เดือน) ทั้งนี้ในกลุ่มทดลองมีการเปลี่ยนแปลงของระดับพฤติกรรมการดื่มแอลกอฮอล์ จากระดับปานกลางเป็นระดับน้อย คิดเป็นร้อยละ 64.71 (p<0.001) แต่ไม่พบการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวในกลุ่มควบคุม


ดังนั้นการประยุกต์แนวคิดแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ ทฤษฎีสมรรถนะแห่งตนและทฤษฎีแรงสนับสนุนทางสังคม สามารถใช้เป็นเครื่องมือเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมผู้ที่ดื่มแอลกอฮอล์ในรูปแบบเสี่ยงต่ำหรือเสี่ยงสูงได้

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ (Original Articles)

References

1. อดิศักดิ์ พละสาร. ประสิทธิผลของโปรแกรมสุขศึกษาโดยการประยุกต์ใช้ทฤษฎีพฤติกรรมตามแผนร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคมในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อป้องกันการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 4 ตำบลฆ้องชัยพัฒนา อำาเภอฆ้องชัย จังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยขอนแก่น. 2554; 11(1): 84.
2. บัณฑิต ศรไพศาล และคณะ. รายงานสถานการณ์สุราประจำปี พ.ศ.2551. กรุงเทพฯ: ศูนย์วิจัยปัญหาสุรา; 2551.
3. ทักษพล ธรรมรังสี. สถานการณ์การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และผลกระทบในประเทศไทย ปี 2556. นนทบุรี: ศูนย์วิจัยปัญหาสุรา; 2556.
4. กนิษฐา บุญธรรมเจริญ และคณะ. ผลกระทบทางสุขภาพทางการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์. การประชุมวิชาการสุราระดับชาติครั้งที่ 1 วันที่ 13-15 กรกฎาคม 2548; กรุงเทพ: จรัญสนิทวงศ์การพิมพ์; 2548.
5. พรเทพ ศิริวนารังสรรค์,สุวรรณา อรุณพงศ์ไพศาล,พันธุ์นภา กิตติรัตนไพบูลย์, และอัจฉรา จรัสสิงห์. ความชุกของโรคจิตเวชในประเทศไทย:การสำรวจระดับชาติ ปี 2546. วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย. 2547; 12(3): 177.
6. จุฑาวดี กมลพรมงคล, พรนภา หอมสินธุ์ และรุ่งรัตน์ ศรีสุริยเวศน์. ผลของการสร้างเสริม สมรรถนะแห่งตนต่อการรับรู้ความสามารถของตนเอง ความคาดหวังในผลลัพธ์และทักษะการปฏิเสธการดื่มแอลกอฮอล์ของนักเรียนประถมศึกษาชาย. วารสารสาธารณสุขมหาวิทยาลัยบูรพา 2555; 7(2): 84-99.
7. ปิยะ ทองบาง. ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่มีแอลกอฮอล์ของนักศึกษาอาชีวศึกษาในเขตอำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปกร, คณะศิลปะศาสตร์, สาขาวิชาจิตวิทยาชุมชนภาควิชาจิตวิทยาและการแนะแนว; (2550).
8. บุญย์พัชร์ ปิยะบุญสิทธิ. ภาวะสุขภาพจิต การวางแผนชีวิต และการสนับสนุนทางสังคมที่ส่งผลต่อ