ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพของข้าราชการสังกัดกรมราชทัณฑ์ ในเขตพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา

Main Article Content

Sukanya Boonvarasatit
Pornnapa Homsin
Rungrat Srisuriyawet

บทคัดย่อ

Factors Influencing Health - Promoting Behaviors Among Prison Officers in the Department of Corrections, Nakhon Ratchasima Province


The objectives of this correlational research were to describe health-promoting behaviors and to examine factors influencing health-promoting behaviors of prison officers at the Department of Corrections. Pender' s health promotion model was used as a conceptual framework. Participants of the study were 255 prison officers of the Department of Corrections in Nakhon - Ratchasima province. A sample was selected by simple random sampling without replacement. Data were collected with self-administered questionnaires. The data were analyzed by means, percentage, standard deviation, and stepwise multiple regression. The results were found that 58.4% of participants had overall health promotion behaviors at a high level including health responsibility, physical activity, nutrition, interpersonal relationship, spiritual growth, and stress management. Factors predicted health promotion behaviors were perceived self - efficacy (β= .459), social support (β= .233), female (β=.112), perceived barriers to action (β= -.138) and age (β= -.127). These factors could predict 45.5%. The results of the study will be useful for community nurse practitioner and people concerned to develop strategy and policy for enhancing perceived self-efficacy, decreasing perceived barriers to action and promoting family support. This will enhance health-promoting behaviors among prison officers at the Department of Corrections.


การวิจัยเชิงหาความสัมพันธ์ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพ และปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพของข้าราชการสังกัดกรมราชทัณฑ์ โดยใช้กรอบแนวคิดสร้างเสริมสุขภาพของเพนเดอร์ กลุ่มตัวอย่างคือ ข้าราชการในสังกัดกรมราชทัณฑ์ ในเขตพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา จำนวน 255 คน สุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่ายแบบไม่แทนที่ และเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามประกอบตอบด้วยตนเองสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้สถิติวิเคราะห์การถดถอยเชิงเส้นแบบพหุคูณ ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 58.4 มีพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพโดยรวมทั้ง 6 ด้านได้แก่ ด้านความรับผิดชอบต่อสุขภาพ ด้านกิจกรรมทางด้านร่างกายด้านโภชนาการด้านการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลด้านการพัฒนาทางจิตวิญญาณและด้านการจัดการกับความเครียดอยู่ในระดับสูง ปัจจัยที่สามารถร่วมทำนายพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพ ได้แก่ การรับรู้สมรรถนะของตนเองในการปฏิบัติพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพ (β=.459) แรงสนับสนุนทางสังคม (β= .233) เพศหญิง (β=.112 ) การรับรู้อุปสรรคของการปฏิบัติพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพ (β= -.138) และอายุ (β= -.127) โดยร่วมทำนายได้ร้อยละ 45.5 การศึกษาครั้งนี้เป็นประโยชน์ต่อพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชนและผู้ที่มีส่วนกี่ยวข้อง สามารถนำผลการศึกษาไปเป็นแนวทางในการพัฒนากลวิธี และนโยบายด้วยการเพิ่มการรับรู้สมรรถนะของตนเอง การลดการรับรู้อุปสรรค์ และการส่งเสริมให้ครอบครัวให้มีส่วนร่วมสนับสนุนช่วยเหลือเพื่อส่งเสริมให้ข้าราชการสังกัดกรมราชทัณฑ์มีพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพเพิ่มมากขึ้นต่อไป


 

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ (Original Articles)

References

1. สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. กรอบยุทธศาสตร์งานสร้างเสริม สุขภาพและป้องกันโรคระดับชาติ ปี 2554 - 2558. กรุงเทพฯ: สามเจริญพาณิชย์ (กรุงเทพฯ)
จำกัด; 2554.
2. ทัณฑสถานหญิงนครราชสีมา. รายงานผลการตรวจสุขภาพประจำปี 2552. หนังสือทัณฑสถาน หญิงนครราชสีมา ที่ ยธ0773/5044. 11 กันยายน 2552.
3. โรงพยาบาลปากช่องนานา. รายงานผลการตรวจสุขภาพพนักงานประจำปี 2553 ของทัณฑสถานหญิง นครราชสีมา. นครราชสีมา: โรงพยาบาลปากช่องนานา; 2553.
4. สมจิต หนุเจริญกุล. การส่งเสริมสุขภาพ. ใน: สมจิต หนุเจริญกุล, จอม สุวรรณโณ, นัยนา หนูนิล, ประคอง อินทรสมบัติ, รวมพร คงกำเนิด, วัลลา ตันตโยทัยและวิภาวรรณชะอุ่มเพ็ญสุขสันต์, บรรณาธิการ. การส่งเสริมสุขภาพ. นครศรีธรรมราช: มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์;2543. หน้า 19-20.
5. Pender, N. J., Murdaugh, C. L., & Parsons, M. A. Health promotion innursing practice (5th ed.). New Jersey: Prentice Hall; 2006.
6. Yamane, T. Statistics: An introductory analysis (2nded.). New York: Harper and Row; 1970.
7. Centere for Disease Conol and Prevention [CDC].Behavioral Risk Factor Surveillance System Question (BRFSS). [Internet]. 2011 [cited 2013 Feb 28]. Available from: http://www.cdc.gov/brfss/ questionnaires/pdf-ques/2011brfss.pdf
8. นันท์มนัส บุญโล่ง. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพเจ้าหน้าที่โรงพยาบาล ทั่วไปจังหวัดพังงา. (วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาการพยาบาลอาชีวอนามัย) บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยบูรพา; 2552.
9. นันทวัน สุวรรณรูป และอัจฉราพร สี่หิรัญวงศ์. การวิเคราะห์ความตรงและความเชื่อมั่นของ แบบวัดวิถี การดำเนินชีวิตเพื่อการส่งเสริมสุขภาพ - II ฉบับภาษาไทย. วารสารสภาการพยาบาล 2547;19(4): 44-63.
10. สุทิติ ขัตติยะ และ วิไลลักษณ์ สุวจิตตานนท์. แบบแผนการวิจัยและสถิติ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ประยูรวงศ์พริ้นท์ติ้ง;2554.
11. นันทวรรณ เมฆา. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพของบุคลากรในสถาบันวิจัย วิทยาศาสตร์สาธารณสุข กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์นนทบุรี. (วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ) บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช; 2550.
12. สุธารดี รักพงษ์. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำ หมู่บ้าน เขตชนบท อำเภอเมือง จังหวัดนครนายก. วารสารสุขภาพภาคประชาชนภาคกลาง 2549;22(2):28-32.
13. อุดมศักดิ์ แสงวนิช. ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีผลต่อพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของบุคลากรโรงพยาบาล ประจวบคีรีขันธ์. (วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสุขศึกษา) บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์; 2546.
14. กิตติพัฒน์ สางห้วยไพร. ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพของบุคลากรที่ปฏิบัติงานใน โรงพยาบาล สังกัดกองทัพเรือ.(วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์) บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยรามคำแหง; 2551.
15. สุวิภา อนุจรพันธ์. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพของข้าราชการทหารระดับ สัญญาบัตรในศูนย์รักษาความปลอดภัยกองบัญชาการทหารสูงสุด.(วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาสุขศึกษา) บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์; 2550.
16.นงนุชจตุราบัณฑิต. ปัจจัยที่มีผลต่อการสร้างเสริมสุขภาพของบุคลากรสาธารณสุขในจังหวัด พังงา.(วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการส่งเสริมสุขภาพ)บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต; 2550.
17. บุญเรือง ชัยสิทธิ์. พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขจังหวัดอุบลราชธานี. (วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาการสร้างเสริมสุขภาพ) บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยราชภัฎอุบลราชธานี;2551.
18. กองมณี สุรวงษ์สิน.ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพของบุคลากรสำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข.(วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาสุขศึกษา) บัณฑิตวิทยาลัย,มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์; 2551.
19. ชลาทิพย์ หลีง้วน. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของบุคลากรโรงพยาบาล
พระมงกุฎเกล้า.(วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสุขศึกษา)บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์; 2549.