ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมสุขภาพของผู้สงอายุที่อาศัยในชุมชน

Main Article Content

Nithra Kitreerawutiwong
Sunsanee Mekrungrongwong

บทคัดย่อ

Factor Influencing Health Behavior among Elderly Living in the Community


Any design for an effective strategy for promoting health among elderly people needs to be supported with the evidence of factors influencing their health behaviors. This research aimed at studying the health behaviors of the elderly and determining the factors influencing health behaviors of elderly people living in the community.


A cross-sectional survey was conducted with a sample of 360 elderly who were selected by simple random sampling. The questionnaire including 3 parts as follows: 1) Demographic data, 2) Social support, and 3) Health behavior. Content validity was performed by 3 experts. The average item-content validity index (I-CVI) was 1.00 and the range of Cronbach’s alpha coefficient was 0.78-0.84. Data were analyzed using the SPSS program and presented in number, percentage, mean, standard deviation (S.D.), median, maximum, minimum, and multiple regression analysis.


The results showed that most of the elderly in the sample (68.5%) had social support at a moderate level. Most of the elderly (63.3%) practiced health behavior at a moderate level. Also, the results showed that the average score of eating behavior had the highest average (Mean 17.94, SD. 3.12) whereas rest behavior had the lowest average score (Mean 10.31, SD. 1.90). The factors affecting health behavior (Y) at 0.05 (p<0.05) significance level were education level, social support, being a member of a community, and co-morbidity, which could be predicted at 31.2% ((R2 = 0.312). The predictive standard equation was Y = 31.075 + 7.052 (Education level) + 0.920 (Being a member of a community) + 0.879 (Co-morbidity) + 1.103 (Social support).


Public health personnel should design programs for the elderly which put emphasis on rest behavior based on effecting factors on health behavior. Social support should be applied in order to enhance participation in health activities/promotion among elderly people in practicing appropriate health behavior. 


การออกแบบกลยุทธ์การส่งเสริมสุขภาพที่มีประสิทธิภาพในผู้สูงอายุ จำเป็นต้องมีหลักฐานเชิงประจักษ์เกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุ และวิเคราะห์ปัจจัยทำนายพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุที่อาศัยในชุมชน


การศึกษาเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวาง กลุ่มตัวอย่างคือผู้สูงอายุ จำนวน 360 คน สุ่มตัวอย่างแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม ประกอบด้วยประกอบด้วย 3 ส่วน คือ 1) ข้อมูลโครงสร้างประชากร 2) แรงสนับสนุนทางสังคม และ 3) พฤติกรรมสุขภาพ ตรวจสอบความตรง
เชิงเนื้อหาโดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 3 ท่าน ได้ค่าเฉลี่ยความตรงเชิงเนื้อหารายข้อ เท่ากับ 1 และ
หาความเชื่อมั่นของเครื่องมือ คำนวนค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค (Cronbach’s alpha coefficient) มีค่าความเชื่อมั่น อยู่ระหว่าง 0.78 – 0.84 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป นำเสนอด้วย จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่ามัธยฐาน ค่าตํ่าสุด ค่าสูงสุด และการวิเคราะห์ถดถอยแบบพหุคูณ


ผลการศึกษา พบว่า ผู้สูงอายุที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง ส่วนใหญ่ร้อยละ 68.5 มีแรงสนับสนุนทางสังคม ในระดับปานกลาง พฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง ส่วนใหญ่ร้อยละ 63.3 มีพฤติกรรมสุขภาพ อยู่ในระดับปานกลาง โดยพฤติกรรมการบริโภค มีคะแนนเฉลี่ยสูงสุด (Mean = 17.94, SD = 3.12) ในขณะที่ พฤติกรรมการพักผ่อน มีคะแนนต่ำสุด (Mean = 10.31, SD = 1.90) ทั้งนี้ในส่วนของปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมสุขภาพ (Y) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ p<0.05 ตามลำดับ ดังนี้ คือ ระดับการศึกษา แรงสนับสนุนทางสังคม การเป็นสมาชิกชมรม และการมีโรคประจำตัว ซึ่งสามารถทำนาย ได้ร้อยละ 31.2 (R2 = 0.312) และมีสมการทำนายในรูปคะแนนมาตรฐาน ดังนี้ พฤติกรรมสุขภาพ = 31.075 + 7.052 (ระดับการศึกษา) + 0.920 (การเป็นสมาชิกชมรม) + 0.879 (การมีโรคประจำตัว) + 1.103 (แรงสนับสนุนทางสังคม)


เจ้าหน้าที่สาธารณสุข ควรมีการออกแบบกิจกรรมการดูแลผู้สูงอายุ โดยให้ความสำคัญกับพฤติกรรมการพักผ่อน โดยคำนึงถึงปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมสุขภาพ ด้วยการใช้แรงสนับสนุนทางสังคม เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมทางสุขภาพของกลุ่มผู้สูงอายุ ในการปฏิบัติพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสม

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ (Original Articles)

References

1. สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. การคาดประมาณประชากรของประเทศไทย พ.ศ. 2553-2583. กรุงเพทฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ; 2556.
2. Al-Aama T. Falls in the elderly Spectrum and prevention. Canadian Family Physician. 2011;57:771-6.
3. Zhen ZS, and Huo JX. Health Pedagogic [M]. Beijing: Science Press; 2008.
4. Jiang R, Zhu HY, Tang WQ, and Wang LF. Epidemiological investigation on health knowledge and behaviour among residents aged over 60 in Huating Town, Shanghai. Health Education and Health Promotion. 2011;6(1):10-2.
5. Tian MM, Chen YC, and Zhao R. Chronic disease knowledge and its determinants among chronically ill adults in rural areas of Shanxi Province in China: a cross-sectional study. BMC Public Health. 2011;11(948).
6. ธีระชัย พรหมคุณ, พจนีย์ เสงี่ยมจิตต์ และเสนอ ภิรมจิตรผ่อง. พฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุ จังหวัดศรีสะเกษ. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ. 2557;7(1):102-8.
7. เสาวนีย์ วรรละออ, พรทิพย์ มาลาธรรม และอภิญญา ศิริพิทยาคุณกิจ. แรงสนับสนุนจากครอบครัวตามการรับรู้ของผู้สูงอายุที่เป็นโรคเบาหวาน ชนิดที่ 2 ที่สามารถควบคุมระดับนํ้าตาลในเลือดได้. รามาธิบดีพยาบาลสาร. 2555;18(3):372-88.
8. Senol V, Ünalan D, Soyuer F, and Argün M. The Relationship between Health Promoting Behaviors and Quality of Life in Nursing Home Residents in Kayseri. Journal of Geriatrics [serial on the Internet]. 2014: Available from: http://dx.doi.org/10.1155/2014/839685.
9. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพิษณุโลก. ข้อมูลประชากรผู้สูงอายุ ประจำปี 2556. พิษณุโลก: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพิษณุโลก; 2556.
10. Kahn RL, Goldfarb AI, Pollack M, Peck A. Brief objective measures for the determination of mental status in the aged. American Journal of Psychiatry. 1960;117:326-8.
11. Pender N. Health promotion in nursing practice. 3 ed. Stamford, CT: Appleton and Lange; 1996.
12. ไพรัช ยิ้มเนียม. ปัจจัยที่ความสัมพันธ์กับพฤติกรรมสุขภาพของผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อมหลังผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเสื่อม. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข. 2556;23:20-31.
13. ปิ่นนเรศ กาศอุดม, คณิสร แก้วแดง, ธัสมน นามวงษ์. พฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุในเขตภาคตะวันออก. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี. 2550;18(1):25-39.
14. Chamroonsawasdi K, Phoolphoklang S, Nanthamongkolchai S, Munsawaengsub C. Factors Influencing Health Promoting Behaviors among the Elderly Under the Universal Coverage Program, Buriram Province, Thailand. Asia Journal of Public Health [serial on the Internet]. 2010; 1(1): Available from: http://www.asiaph.org/admin/img_topic/9036Factors%20Influencing%20Health%20Promoting%20Behaviors.pdf.
15. วราภา แหลมเพชร. การนอนหลับและปัจจัยรบกวนการนอนหลับของผู้สูงอายุที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลแผนกอายุรกรรม. (วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขา
การพยาบาลผู้ใหญ่) มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์; 2544.
16. Sohng K-Y, Sohng S, Yeom H-A. Health-Promoting Behaviors of Elderly Korean Immigrants in the United States. Public Health Nursing. 2002;19(4):294-300.
17. Green L, Kreuter M. Health Promotion Planning : An Education and Environment Approach. 2 ed. Toronto: May Field Publishing Company; 1991.
18. นิธิมา สุภารี. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ จังหวัดนครสวรรค์: (วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต) มหาวิทยาลัยวิทยาลัยมหิดล; 2544.
19. อรชร โวทวี. ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุในอาเภอบางแพ จังหวัดราชบุรี: (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต) มหาวิทยาลัยศิลปากร; 2548.
20. Yin Z, Geng G, Lan X, Zhang L, Wang S, Zang Y, et al. Status and determinants of health behavior knowledge among the elderly in China: a community-based cross-sectional study. BMC Public Health [serial on the Internet]. 2013; 13(710): Available from: http://www.biomedcentral.com/1471-2458/13/710.
21. ไพบูลย์ พงษ์แสงพันธ์ และยุวดี รอดจากภัย. การมีส่วนร่วมของชุมชนในการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุในภาคตะวันออกของประเทศไทย. วารสารสาธารณสุขมหาวิทยาลัยบูรพา. 2557. 9(2): 13-20.