ผลของการฝึกแบบแรงต้านที่มีต่อความเมื่อยล้าของคนที่ยืนทำงานเป็นระยะเวลานาน

Main Article Content

Wisoot Chaikongmao
Pornthip Yenjai
Sukanya Charoenwattana

บทคัดย่อ

Effect of Resistance Training on Fatigue for the Prolong Standing Workers   


The purpose of this research was to study the effects of resistance training on fatigue for the prolong standing workers at the technical and product analysis department in a printing ink and plastic colorant manufacturing factory in Chachoengsao Province. This quasi-experimental research was a one group pretest – postest design. The representative sample consisted of 30 subjects, who volunteered to participate in the study. The equipment used consisted of; fatigue questionnaire, resistance training program (period of training was 6 weeks, 30 minutes a day, 3 days per week) and back and leg dynamometer. The results were analyzed for percentages, means and standard deviations, and comparison by using pair sample t-test.


Research result indicated that the subjects consisted of 50% male and 50% female workers, at the age of 26-30 years old, and they had been working for 1-6 years at the company. 63.3% worked more than 11 hours per day. The strength of the leg muscles before training, after training for 2 weeks, 4 weeks, and 6 weeks had the mean and the standard deviation of 55.07 ± 27.64, 62.17 ± 28.04, 105.03 ± 36.78 and 118 ± 40.10 kg, respectively. The strength of the leg muscles of the workers between before and after training at 6 weeks was different statistically. The fatigue before and after training at 6 weeks had the mean and the standard deviation of 2.63 (0.49) and 1.73 (0.44), respectively. The level of fatigue before training and after training at 6 weeks was different at .05 statistical level.


In summary, the resistant training in six weeks had the effect of reducing fatigue of the muscle among the prolong standing workers.


การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการฝึกแบบแรงต้านที่มีต่อความเมื่อยล้ากล้ามเนื้อขาของคนงานที่ยืนทำงานเป็นระยะเวลานาน แผนกเทคนิคและวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์ โรงงานผลิตหมึกพิมพ์และเม็ดพลาสติกแห่งหนึ่งใน จังหวัดฉะเชิงเทรา (Quasi-Experimental Research) โดยวัดผลก่อนและหลังการทดลอง(One group pretest – posttest design) กลุ่มตัวอย่างเป็นคนงานที่สมัครใจเข้าร่วมการวิจัยจำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ประกอบไปด้วย แบบสอบถามความเมื่อยล้า โปรแกรมการฝึกออกกำลังกายแบบแรงต้านโดยใช้เวลาในการฝึกเป็นระยะเวลา 6 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 วัน วันละ 30 นาที และเครื่องทดสอบความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขา จากนั้นนำผลที่ได้มาวิเคราะห์หาจำนวนร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยโดยใช้สถิติ Pair sample t-test


ผลการวิจัยพบว่าคนงานเป็นเพศชายจำนวน 15 ราย คิดเป็นร้อยละ50 และเป็นเพศหญิงจำนวน 15 รายคิดเป็นร้อยละ50 มีอายุอยู่ในช่วง26-30ปี มีอายุงาน 1-6 ปี ส่วนใหญ่ร้อยละ 63.3 และมีชั่วโมงการทำงานมากกว่า 11 ชั่วโมง ระดับความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขาก่อนทำการฝึก หลังฝึกสัปดาห์ที่2  สัปดาห์ที่ 4 และสัปดาห์ที่ 6 มีค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 55.07 (27.64),  62.17 (28.04),  105.03 (36.78) และ118(40.10) กิโลกรัม ตามลำดับ ซึ่งระดับความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขาของคนงานระหว่างก่อนฝึกและหลังฝึกสัปดาห์ที่ 6 มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และระดับความเมื่อยล้าก่อนการฝึกและหลังฝึกสัปดาห์ที่ 6 มีค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 2.63(0.49 ) และ1.73 (0.44)ตามลำดับ ซึ่งระดับความเมื่อยล้าก่อนการฝึกและหลังฝึกสัปดาห์ที่ 6 แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


สรุปได้ว่าผลของโปรแกรมการฝึกแบบแรงต้านเป็นระยะเวลา 6 สัปดาห์มีผลทำให้ระดับความเมื่อยล้ากล้ามเนื้อขาของคนงานที่ยืนทำงานเป็นระยะเวลานานลดลงได้

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ (Original Articles)

References

1. กนกวรรณ พันกับ. (2551). การปรับปรุงสถานีทํางานเพื่อลดความเมื่อยล้ากล้ามเนื้อของผู้ปฏิบัติ
งานกลุ่มคนงานหญิงในงานหัตถกรรมการผลิตกระดาษสา.ปริญญานิพนธ์ วศ.ม.(วิศวกรรมความปลอดภัย). บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
2. สถาบันความปลอดภัยในการทำงาน. (2549). คู่มือความปลอดภัยในการทำงาน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ บริษัท ร้อยสิบเอ็ดธุรกิจ จำกัด.
3. Mandy, R. C., Malgorzata, J. R., and Stephan, A. K. (2001). Leg swelling, comfort and fatigue
when sitting, standing and sit / stand. International Journal of Industrial Ergonomics : 289-296.
4. สถิติการประสบอันตรายหรือการเจ็บป่วยเนื่องจากการทำงาน 2554.(ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก http://www.sso.go.th/wpr/uploads/uploadImages/file/AnnualReportBook2555.pdf (วันที่ค้นข้อมูล: 5 มิถุนายน 2556)
5. Johnson and Stolberg (1971). Prentice-Hall Sport Series. Prentice-Hall, University of Michigan
6. สสิธร เทพตระการ. (2538). การทำงานที่ใช้กล้ามเนื้อและความล้า. เอกสารวิชาการกองอาชีวอนามัย.
7. วันใหม่ ประพันธ์บัณฑิต. (2551). เวท เทรนนิ่ง (Weight Training).กรุงเทพฯ: ไอกรุ๊ป เพลส.
8. Frederic Delavier. (2012). Strength Training Anatomy Workout II. Paris, France.
9. I. Kuorinka.; et al. (1987). Standardised Nordic questionnaires for theanalysis of musculoskeletal symptoms. Applied Ergonomics. 234 – 237
10. พรพิมล เหมือน และภูริชญา วีระศิริรัตน์. (2557). เปรียบเทียบผลระหว่างการยืดกล้ามเนื้อแบบคงค้างและการนวดพีทริสซาจต่ออาการแสดงของการปวดกล้ามเนื้อเหยียดเข่าหลังหลังกระตุ้นด้วยการออกกำลังกายแบบพลัยโอเมตริกในชายไทย. วารสารเทคนิคการแพทย์และกายภาพบำบัด, มหาวิทยาลัยบูรพา.
11. การกีฬาแห่งประเทศไทย. (2543). การทดสอบสมรรถภาพทางกาย. ฝ่ายวิทยาศาสตร์การกีฬา. (เอกสาร). กรุงเทพฯ : (ม.ป.ท.)
12. เกษม ช่วยพนัง. (2536). วิทยาศาสตร์การกีฬา. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : เอมพันพ์การพิมพ์.
13. นุดี วรมหาภูมิ. (2538). การใช้ร่างกายเป็นอุปกรณ์ออกกำลังกาย. (เอกสาร). กรุงเทพฯ
14. Penny, Guy Dec. (1971, May). A Study of the Effects of Resistance Running on Speed,
Strength, Power, Muscular Endurance and Agility. Dissertation Abstracts International. 31: 3937 – A.
15. เรวดี วงศ์จันทร์. (2544). ผลการฝึกยกน้ำหนักที่ช่วงระหว่างของการฝึกต่างกันต่อความแข็งแรงของกล้ามเนื้อต้นขาด้านหลัง. วิทยานิพนธ์ วท.ม. (วิทยาศาสตร์การกีฬา) กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. ถ่ายเอกสาร.
16. บุญร่วม แท่นสูงเนิน. (2546). ผลของการฝึกที่ใช้ร่างกายเป็นแรงต้านที่มีต่อความแข็งแรงและอดทนของกล้ามเนื้อ.ปริญญานิพนธ์ กศ.ม. (พลศึกษา), มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. ถ่ายเอกสาร.
17. พิชิต ภูติจันทร์. (2531). สรีรวิทยาการออกกำลังกาย. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
18. เนตรนภางค์ ทรัพย์เจริญ. (2548). การศึกษาระดับความล้าในกล้ามเนื้อน่องละเปอร์เซ็นต์เม็ดเลือดขาวก่อนและหลังใช้โปรแกรมออกกำลังกายในคนงานที่ต้องยืนทำงานเป็นเวลานาน.วิทยานิพนธ์ปริญญาโท (สุขศาสตร์อุตสาหกรรมและความปลอดภัย), มหาวิทยาลัยมหิดล. ถ่ายเอกสาร.
19. ศิริรัตน์ หิรัญรัตน์. (2536). การฝึกสมรรถภาพทางกาย. กรุงเทพฯ : ไทยมิตรการพิมพ์.
20. Hasegawa, T., Inoue, K., Tsusue, O. and Kumashiro, M. (2000). Effectsof a sit-stand schedule on a light repetitive task. International Journal of Industrial Ergonomics.(28): 219-294