กรณีศึกษาการดูแลผู้ป่วยกลับเข้าทำงาน: รายงานผู้ป่วย 3 ราย

Main Article Content

Chutarat Chino
Wiwat Ekburanawat

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์สะท้อนให้เห็นถึงความสำคัญของกระบวนการดูแลและจัดการกับผู้ป่วยที่ประสบปัญหาการบาดเจ็บหรือเจ็บป่วยรุนแรงให้สามารถกลับเข้าทำงานและประกอบอาชีพได้อย่างปลอดภัย โดยทำการศึกษาผู้ป่วย 3 ราย รายแรกเป็นชายไทยวัย 41 ปีซึ่งทำงานในโรงงานผลิตสารเคมีและมีอาการป่วยคือตาข้างซ้ายมองเห็นลดลงได้รับการวินิจฉัยจากจักษุแพทย์ว่าเป็นโรคปลายเส้นประสาทตาข้างซ้ายขาดเลือดไปเลี้ยง (Non-arteric anterior ischemic optic retinopathy; NAION)  รายที่สองเป็นหญิงไทย วัย 28 ปี อาชีพเป็นพนักงานตรวจสอบคุณภาพการผลิตในโรงงานต่อเติมชิ้นส่วนรถยนต์  ประสบปัญหาการเดินเซและสูญเสียการได้ยินเนื่องจากผลที่ตามมาจากป่วยเป็นโรคเยื่อหุ้มสมองและสมองอักเสบ (Meningoencephalitis)  และรายที่สามเป็นหญิงไทยวัย 22 ปี ทำงานในโรงงานผลิตยางมีหน้าที่นำชิ้นงานเข้าและออกจากเครื่องจักร  ประสบอุบัติเหตุปลายนิ้วกลางของมือข้างซ้ายถูกตัดขาดระหว่างการทำงาน           วิธีการศึกษาคือการนำข้อมูลจากเวชระเบียนของผู้ป่วยซึ่งมารับการรักษาที่โรงพยาบาลมาวิเคราะห์ตามหลักการการดูแลผู้ป่วยกลับเข้าทำงาน (Return to work) อันได้แก่ การพิจารณาเรื่องความเสี่ยง (Risk) ความสามารถสูงสุด (Capacity) และความทน (Tolerance) ตามหลักการที่ American Medical Association (AMA) ได้กำหนดองค์ความรู้พื้นฐานไว้   ทั้งนี้ผู้ป่วยทั้ง 3 รายได้รับการดูแลรักษาและมีโอกาสกลับเข้าทำงานได้อย่างปลอดภัย ซึ่งการดำเนินงานตามกระบวนการนี้ต้องอาศัยความร่วมมือจากหลายฝ่าย ทั้งฝ่ายนายจ้าง  ฝ่ายแพทย์ที่ทำการดูแลรักษา  ฝ่ายประกันสังคมและกองทุนเงินทดแทน ฝ่ายอาชีวอนามัยและความปลอดภัยของสถานประกอบการ ฝ่ายบุคคลของสถานประกอบการรวมถึงตัวผู้ป่วยเองด้วย

Article Details

บท
บทความพิเศษ (Special Articles)

References

1. วิวัฒน์ เอกบูรณะวัฒน์. การดูแลผู้ป่วยกลับเข้าทำงาน. ชลบุรี: มูลนิธิสัมมาอาชีวะ; 2554.
2. อดุลย์ บัณฑุกุล. การประเมินผู้ป่วยเพื่อกลับเข้าทำงานหลังการบาดเจ็บหรือเจ็บป่วย. กรุงเทพมหานคร: กลุ่มศูนย์การแพทย์เฉพาะทางด้านอาชีวเวชศาสตร์และเวชศาสตร์สิ่งแวดล้อม โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข; 2552.
3. Kosny A, MacEachen E, Ferrier S, Chambers L. The role of health care providers in long-term and complicated workers' compensation claims. J Occup Rehabil2011;21(4):582-90.
4. Talmage JB, Melhorn JM, Hyman MH. AMA Guides to the evaluation of work ability and return to work. 2nd ed. the United States of America: American Medical Association; 2011.
5. Institute for work and health, Ontario society of occupational therapists and the college of occupational therapists of Ontario. Working together: Successful strategies for return to work Institute for work and health[Internet]. 2008.[cited2014 Sep 23]:1-11.Available from: https://www.iwh.on.ca/system/files/documents/working_together_2008.pdf
6. พิพัฒน์ พูลทรัพย์, พรชัย สิทธิศรัณย์กุล, วิโรจน์ เจียมจรัสรังษี. สัดส่วนและปัจจัยที่เกี่ยวข้องของการกลับมาทำงานภายหลังการสูญเสียอวัยวะหรือสมรรถภาพของรยางค์ส่วนบนที่เกิดจากอุบัติเหตุเนื่องจากการทำงาน. วารสารวิชาการสาธารณสุข2554;20(2):265-71.
7. Sugiyama M, Sakakibara R, Tsunoyama K, Takahashi O, Kishi M, Ogawa E, et al. Cerebellar ataxia and overactive bladder after encephalitis affecting the cerebellum. Case Rep Neurol. 2009;(1):24-8.
8. ประกาศกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุย์ เรื่อง ประเภทและหลักเกณฑ์ความพิการ (พ.ศ. 2552). ราชกิจจานุเษกษา เล่มที่ 126 ตอนพิเศษ 77 ง. (ลงวันที่ 29 พฤษภาคม 2552).
9. พระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ (พ.ศ. 2550). ราชกิจจานุเษกษา เล่มที่ 124 ตอนที่ 61 ก. (ลงวันที่ 27 กันยายน 2550).
10. พระราชบัญญัติเงินทดแทน (พ.ศ. 2537). ราชกิจจานุเษกษา เล่มที่ 111 ตอนที่ 28 ก. (ลงวันที่ 30 มิถุนายน 2537).
11. Provider and injury management services group of work cover New South Wales. Guidelines for workplace return to work programs. 8th rev. ed. New South Wales: WorkCover NSW; 2010.
12. McKenzie D. The impact of mediation on workplace relationship conflict and return to work outcomes: a snapshot review. Melbourne: Institute for safety compensation and recovery Research; 2012 May. Report number: 22-014.
13. Institute for work and health. Survival Analysis. At work. [Internet]. 2012.[cited2014 Sep 1]: 1-8. Available from: https://www.iwh.on.ca/at-work/69.