ความชุกของความผิดปกติของระบบกล้ามเนื้อและกระดูกโครงร่าง ที่เกี่ยวเนื่องจากการทำงานในอาชีพต่างๆ
Main Article Content
บทคัดย่อ
อาการผิดปกติของระบบกล้ามเนื้อและกระดูกโครงร่างที่เกี่ยวเนื่องจากการทำงานเป็นปัญหาทางด้านสุขภาพที่พบมากปัญหาหนึ่งในหลายประเทศ และยังพบอีกว่าปัญหานี้มีแนวโน้มที่จะเพิ่มมากขึ้น ปัญหาดังกล่าวมีผลกระทบโดยตรงต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน บทความฉบับนี้จึงมีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาสถานการณ์การเกิดอาการผิดปกติของระบบกล้ามเนื้อและกระดูกโครงร่างในอาชีพต่างๆ โดยได้ทำการศึกษาและสำรวจจากเอกสารที่เผยแพร่ในช่วงปี พ.ศ. 2547 ถึง 2559 จากวารสารและรายงานการประชุมวิชาการที่มีการตีพิมพ์เผยแพร่จากแหล่งข้อมูลทั้งในประเทศและต่างประเทศ การสำรวจอาการผิดปกติของระบบกล้ามเนื้อและกระดูกโครงร่างส่วนใหญ่นิยมใช้รูปแบบตามแบบสอบถามมาตรฐานของนอร์ดิก ผลการสำรวจเอกสารพบว่า อาการผิดปกติของระบบกล้ามเนื้อและกระดูกโครงร่างพบทั้งในกลุ่มอาชีพที่ต้องใช้แรงงาน (แรงงานในภาคอุตสาหกรรมและเกษตรกรรม) และ กลุ่มอาชีพที่ไม่ต้องใช้แรงงาน (กลุ่มบุคลากรทางสาธารณสุข และ กลุ่มพนักงานสำนักงาน) อวัยวะของร่างกายที่พบว่ามีอาการผิดปกติมากที่สุด คือ หลังส่วนล่าง และ ร่างกายส่วนบน (คอและไหล่) เพื่อให้เข้าใจปัญหานี้มากยิ่งขึ้นจึงจำเป็นที่จะต้องมีการศึกษาปัจจัยเสี่ยงที่มีผลกระทบต่อการเกิดอาการดังกล่าว นอกจากนั้นควรจะมีการศึกษาวิธีที่เหมาะสมในการดำเนินการเพื่อลดการเกิดอาการผิดปกติของระบบกล้ามเนื้อและกระดูกโครงร่างในผู้ปฏิบัติงาน การดำเนินการป้องกันที่มีประสิทธิภาพจะทำให้ลดโอกาสในการเกิดอาการผิดปกติของระบบกล้ามเนื้อและกระดูกโครงร่างและลดความเสี่ยงที่เกิดขึ้น ซึ่งจะเป็นการเพิ่มคุณภาพชีวิตให้กับผู้ปฏิบัติการที่ประสบปัญหาอยู่ในปัจจุบัน
Article Details
References
J. D. Collins, L. W. O'Sullivan. Musculoskeletal disorder prevalence and psychosocial risk exposures by age and gender in a cohort of office based employees in two academic institutions. International Journal of Industrial Ergonomics, 2015; 46: 85-97.
M. Massaccesi, A. Pagnotta, A. Soccetti, M. Masali, C. Masiero, F. Greco. Investigation of work-related disorders in truck drivers using RULA method. Applied Ergonomics, 2013; 34 (4) : 303-307.
วรศักดิ์ ยิ้มศิริวัฒนะ. อัตราความชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับอาการปวดหลังส่วนล่างของพนักงานขับรถโดยสารประจำทางระหว่างจังหวัดในสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (จตุจักร) (วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต). ภาควิชาเวชศาสตร์ป้องกันและสังคม, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2548.
พรศิริ จงกล. การสืบค้นการเจ็บปวดกล้ามเนื้อและกระดูกของคนขับรถแท็กซี่ และปัจจัยเสี่ยงอันเนื่องจากการทำงาน (สำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์). สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี; 2553.
D. Alperovithch-Najenson, Y. Santo, i. Y. Masharaw, M. Katz-Leurer, D. Ushvaev, L. Kalichman. Low back pain among professional bus drivers: Ergonomic and Occupational-Psychosocial Risk Factors. Original articles, 2010; 12: 26-31.
M. Miyamoto, S. Konno, Y. Gembun, X. Liu, K. Minami, H. Ito. Epidemiological study of low back pain and occupational risk factors among taxi drivers. Industrial Health, 2008; 46(2): 112-117.
เพชรรัตน์ แก้วดวงดี, รุ้งทิพย์ พันธุเมธากุล, วัณทนา ศิริธราธิวัตร, ยอดชาย บุญประกอบ, สาวิตรี วันเพ็ญ, ภาณี ฤทธิ์มาก, ยุพา ถาวรพิทักษ์. ความชุกและปัจจัยด้านท่าทางการทำงานที่สัมพันธ์กับอาการปวดหลังส่วนล่างในกลุ่มอาชีพอุตสาหกรรมสิ่งทอ (แหอวน) จังหวัดขอนแก่น. ศรีนครินทร์เวชสาร, 2554; 26(14): 317-324.
J. Kezhi, S. S. Gary, C. K. Theodore. Prevalence of low back pain in three occupational groups in Shanghai, People’s Republic of China. Journal of Safety Research, 2004; 35; 23-28.
นงลักษณ์ ทศทิศ, รุ้งทิพย์ พันธุเมธากุล, วิชัย อึงพินิจพงศ, พรรณี ปึงสุวรรณ, ทิพาพร กาญจนราช. ความชุกของความผิดปกติทางระบบกระดูกและกล้ามเนื้อในกลุ่มอาชีพตัดเย็บ จังหวัดขอนแก่น. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2554; 11(12): 47-54.
นภานันท์ ดวงพรม, สุนิสา ชายเกลี้ยง. การรับรู้ความผิดปกติของระบบโครงร่างกล้ามเนื้อในพนักงานผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์แห่งหนึ่งในจังหวัดอุดรธานี. วารสารวิจัยมหาลัยขอนแก่น, 2556; 18(15): 880-891.
F. Gerr, N. B. Nathan, L. Merlino, D. Anton, J. Rosecrance, M. P. Jones, M. Marcus, A. R. Meyers. A Prospective Study of Musculoskeletal Outcomes Among Manufacturing Workers: I. Effects of Physical Risk Factors. Human Factors: The Journal of the Human Factors and Ergonomics Society, 2014; 56(1).
เสาวลักษณ์ แก้วมณี, ชวพรพรรณ จันทร์ประสิทธิ์, ธานี แก้วธรรมานุกูล. ปัจจัยคุกคามสุขภาพจากการทำงานและภาวะสุขภาพตามความเสี่ยงของแรงงานสูงอายุในอุตสาหกรมอาหารทะเลบรรจุกระป๋อง. Occupational health. 2554; 90-99.
รุ้งทิพย์ พันธุเมธากุล, วัณทนา ศิริธาราธิวัตร, ยอดชาย บุญประกอบ, วิชัย อึงพินิจพงศ์, มณเฑียร พันธุเมธากุล. ความชุกของภาวะความผิดปกติของระบบกระดูกและกล้ามเนื้อในชาวนา : กรณีศึกษาตำบลศิลา อำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น. เทคนิคการแพทย์และกายภาพบำบัด, 2554; 23(13): 297-303.
S. Y. Vasave, D. B. Anap. Prevalance of musculoskeletal disorders among sugarcane workers – A cross sectional study. Basic and Applied Medical Research, 2016; 5(2): 756-762.
ชวพรพรรณ จันทร์ประสิทธิ์ และ ธานี แก้วธรรมานุกูล. ปัจจัยคุกคามสุขภาพ การเจ็บป่วยและบาดเจ็บที่เกี่ยวเนื่องกับการทำงาน พฤติกรรมการทำงานของแรงงานนอกระบบ : กรณีศึกษากลุ่มเกษตรกรปลูกข้าวโพดฝักอ่อน.2553; 5(12): 41-50.
Yee Guan NG, Shamsul Bahri Mohd TAMRIN, Wai Mun YIK, Irwan Syah Mohd YUSOFF, Ippei MORI. The Prevalence of Musculoskeletal Disorder and Association with Productivity Loss: A Preliminary Study among Labour Intensive Manual Harvesting Activities in Oil Palm Plantation. Industrial Health, 2013; 52(1): 78–85.
Kayla Stankevitz, Ashley Schoenfisch, Vijitha de Silva, Hemajith Tharindra, Marissa Stroo, Truls Ostbye. Prevalence and risk factors of musculoskeletal disorders among Sri Lankan rubber tappers. Occupational and Environmental Health, 2016; 22(2): 91-98.
Matthew W. Nonnenmann, Dan Anton, Fredric Gerr, Linda Merlino, Kelley Donham. Musculoskeletal Symptoms of the Neck and Upper Extremities among Iowa Dairy Farmers. Amarican Journal of Industrial Medicine, 2008; 51(6): 443–451.
Christina Lunner Kolstrup. Work-related musculoskeletal discomfort of dairy farmers and employed workers. Occupational Medicine and Toxicology, 2012; 7(1).
Elahe Kabir-Mokamelkhah, Mashallah Aghilinejad, Amir Bahrami-Ahmadi, Soheila Abbaszadeh, Sharbanou Moslemi, Narges Shahnaghi, Mohammad Hassan Nassiri-Kashani. Role of Rice Farming in Development Risk of Musculoskeletal Disorders Among Rice Farmers: a Prospective Study in 2013. Safety & Environment, 2015; 3(1): 489-494.
Altaf Hossain Sarker, Mohammad Shariful Islam, Md Monoarul Haque, Tarafder Nahid Parveen. Prevalence of Musculoskeletal Disorders among Farmers. Orthopedics & Rheumatology, 2016; 4(1).
Titaporn Luangwilai, Saowanee Norkaew, Wattasit Siriwong. Factors Associated with Musculoskeletal Disorders among Rice Farmers: Cross Sectional Study in Tarnlalord Sub-District, Phimai District, Nakhonratchasima Province, Thailand. Journal of Health Research, 2014; 28: S85-S91.
D. R. Smith, M. Mihashi, Y. Adachi, H. Koga, T. Ishitake. A detailed analysis of musculoskeletal disorder risk factors among Japanese nurses. Safety Research, 2006; 37(2): 195–200.
S. S. Yeung, A. Genaidy, L. Levin. Prevalence of musculoskeletal symptoms among Hong Kong nurses. Occupational Ergonomics, 2004; 4(3): 199-208.
L. F. Reed, D. Battistutta, J. Young, B. Newman. Prevalence and risk factors for foot and ankle musculoskeletal disorders experienced by nurses. BMC Musculoskelet Disord, 2014; 15: 196.
Sunisa Chaiklieng, Worawan Poochada, Rachatiya Nit. Work Environment Hazards and Ergonomic Risk of Dental Personnel. Burapha University, 2016; 11: 99-110.
Rachatiya Nithithamthada, Sunisa Chaiklieng, Rungt. Musculoskeletal disorders among dental personnel of government sector in Khon Kaen province. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2013; 18(5): 869-879.
E. D. Marshall, L. M. Duncombe, R. Q. Robinson, S. L. Kilbreath. Musculoskeletal symptoms in New South Wales dentists, Australian Dental Journal, 1997; 42(4): 240-245.
Sunisa Chaiklieng, Pornnapa Suggaravetsiri, Yodcha. Work Ergonomic Hazards for Musculoskeletal Pain among University Office Workers. Walailak Journal of Science and Technology, 2010; 7(2): 169-176.
เมธินี ครุสันธิ์ และ สุนิสา ชายเกลี้ยง. ความชุก ความรู้สึกไม่สบายบริเวณ คอ ไหล่และหลังของพนักงานสำนักงานของมหาวิทยาลัย ที่ใช้คอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะมากกว่า 4 ชั่วโมงต่อวัน (สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต) สาขาวิชาวิทยาการระบาด, คณะสาธารณสุขศาสตร์:มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2557.
K. Chuntum. Prevaleance & Risk Factors for Musculoskeletal Disorders Among Chaiyaphum Rajabhat University Workers. Journal of Nursing and Health Sciences, 2015; 9(3): 166-177.
Thitichaya Chalardlon, Phimlada Anansirikasem. Work - related Musculoskeletal Injuries and Work Safety Behaviors Among Call Center Workers. Nursing Journal of The Ministry of Public Health, 2013; 3(1): 44-59.
K. Yokoyama, N. Aziz, S. Maeda. Association of Risk Factors with Musculoskeletal Disorders among Male Commercial Bus Drivers in Malaysia. Human Factors and Ergonomics in Manufacturing & Service Industry, 2012; 24(4): 369-385.
S. Gangopadhyay, S. Dev. Effect of low back pain on social and professional life of drivers of Kolkata. Prevention, Assessment and Rehabilitation, 2012; 41(0): 2426-2433.
G. Szeto, P. Lam. Work-related musculoskeletal disorders in urban bus drivers of Hong Kong. J Occup Rehabil, 2007; 17(2): 181-198.
Olanrewaju O. Okunribido, Steven J. Shimbles, Mari. City bus driving and low back pain: A study of the exposures to posture. Applied Ergonomics, 2007; 38: 29–38.
Emre Ozgür Bulduk, Sıdıka Bulduk, Tufan Süren. Assessing exposure to risk factors for work-related musculoskeletal. International Journal of Industrial Ergonomics, 2014; 44: 817-820.
S. Chaikieng, P. Juntratep, P. Suggaravetsiri, R. Puntumetakul. Prevalence and ergonomic risk factors of low back pain among solid waste collectors of local administrative organizations in Nong Bua Lam Phu province. Medical technology and physical therapy, 2012; 24(1): 97-109.
O. Saetan, J. Khiewyoo, C. Jones, D. Ayuwat. Musculoskeletal disorders among northeastern construction workers with temporary migration. Srinagarind Med J, 2007; 22(2): 165-173.
Kaufman-Cohen Y, Ratzon NZ. Correlation between risk factors and musculoskeletal disorders among classical musicians. Occup Med (Lond), 2011; 61: 90-95.
Sunisa Chaiklienga, Pornnapa Suggaravetsiri. Risk factors for repetitive strain injuries among school teachers in Thailand. Work, 2012; 41: 2510-2515.
Sunisa Chaiklieng, Thanyawat Homsombat. Ergonomic Risk Assessment by RULA among Workers of Rom Suk Broom Weaving. Srinagarind Med J, 2011; 26(1): 35-40.
กัญญ์ฐพิมพ์ บำรุงวงศ์, สุรินธร กลัมพากร และ แอนน์ จิร. ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการป้องกันกลุ่มอาการผิดปกติทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อของพนักงานนวดแผนไทย. Journal of Public Health Nursing, 2558; 29(11): 15-28.
คุณากร สินธพพงศ์, จันทร์ทิพย์ อินทวงศ์, สุนทร เหรียญภูมิการกิจ. รายงานผู้ป่วยภาวะความผิดปกติจากการบาดเจ็บสะสม ในโรงงานทำหมวกกันน็อก จังหวัดระยอง. The Public Health Journal of Burapha University, 2556; 115-122.