การสำรวจด้านความปลอดภัยและการชี้บ่งอันตรายต่อสุขภาพในคนงานก่อสร้าง : กรณีศึกษาบริษัทก่อสร้างที่พักอาศัยในจังหวัดขอนแก่น
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาเชิงสำรวจนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินด้านการจัดการความปลอดภัยและบ่งชี้อันตรายต่อสุขภาพจากการทำงานของคนงานก่อสร้างที่พักอาศัยในจังหวัดขอนแก่น ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอนการทำงาน ได้แก่ งานดินและงานฐานราก งานโครงสร้าง และงานระบบและงานตกแต่ง เก็บข้อมูลโดยใช้แบบฟอร์มการสำรวจในพนักงานทั้งหมด 80 คน ที่ทำงานก่อสร้างที่พักอาศัยจำนวน 5 แห่ง ผลการสำรวจพบว่าพนักงานส่วนใหญ่ปฏิบัติงานในงานโครงสร้างมากที่สุด ร้อยละ 68.75 งานโครงสร้างมีพนักงานสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลตามความเสี่ยงของงานมากที่สุด (ร้อยละ 50) งานดินและงานฐานรากและงานระบบและงานตกแต่งมีผลสำรวจสภาพแวดล้อมในการทำงานและสิ่งอำนวยความสะดวกผ่านมาตรฐานร้อยละ 62.50 งานดินและงานฐานรากมีการควบคุมทางวิศวกรรมผ่านมาตรฐานร้อยละ 54.54 ซึ่งใกล้เคียงกับงานระบบและงานตกแต่ง ที่พบร้อยละ 52.63 การชี้บ่งอันตรายของงานก่อสร้างพบสิ่งคุกคามจากเครื่องมือเครื่องจักรส่งผลอันตรายทางสุขภาพเกี่ยวกับการกระแทก ชน หล่น ทับและตกจากที่สูง ดังนั้นเจ้าของสถานประกอบกิจการควรให้ความสำคัญในการป้องกันการบาดเจ็บและอุบัติเหตุในงานก่อสร้าง โดยเฉพาะอันตรายจากการใช้เครื่องมือ เครื่องจักร ซึ่งเป็นสาเหตุการบาดเจ็บ และด้านการควบคุมทางวิศวกรรมในเขตก่อสร้าง เช่น นั่งร้าน แผงไฟฟ้าชั่วคราว บันได อุปกรณ์ในงานเชื่อม และถังแก๊สต่างๆ เป็นต้น ในพื้นที่เขตก่อสร้างต้องติดป้ายสัญลักษณ์ด้านความปลอดภัย การจัดเตรียมอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลให้สอดคล้องกับความเสี่ยงของงาน ผลที่ได้จากการศึกษานี้สามารถนำไปใช้ในการประเมินความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุและการบาดเจ็บ
Article Details
References
กองทุนเงินทดแทน สำนักงานประกันสังคม. สถานการณ์สถิติการประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยเนื่องจากการทำงาน ปี 2552-2556. กรุงเทพฯ:กระทรวงแรงงาน; 2559.
Gürcanli GE, Müngen U, Akad M. Construction Equipment and Motor Vehicle Related Injuries on Construction Sites in Turkey. Industrial Health 2008; 46(4): 375-88.
Tam CM, Zeng SX, Deng ZM. Identifying elements of poor construction safety management in China. Saf Sci 2004; 42(7): 369-586.
Ismail Z, Doostdar S, Harun Z. Factors influencing the implementation of a safety management system for construction sites. Saf Sci 2012; 50(3): 418-23.
สุดปรารถนา จารุกขมูล, สุนิสา ชายเกลี้ยง. การรับรู้อันตรายและการบาดเจ็บจากการทำงานของคนงานก่อสร้าง: กรณีศึกษาบริษัทก่อสร้างที่พักอาศัย. วารสารวิจัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2557; 19(5): 683-95.
Kongtip P, Yoosook W, Chantanakul S. Occupational health and safety management in small and medium-sized enterprises: an overview of the situation in Thailand. Saf Sci 2008; 46(9): 1356-68.
Jeong BY. Occupational deaths and injuries in the construction industry. J Appl Ergon 1998; 29(5): 355-60.
บุญชัย สอนพรหม. การศึกษาทัศนคติของคนงานก่อสร้างต่อสาเหตุการเกิดอุบัติเหตุใน อุตสาหกรรมก่อสร้าง : กรณีศึกษา บริษัท เอส ดับบลิว ที เทคโนโลยี แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด. (วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต). นครราชสีมา: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี; 2555.
Aksorn T, Hadikusumo BHW. Critical success factors influencing safety program performance in Thai construction projects. Saf Sci 2008; 46(4): 709-27.
ศิวกร หวังปักกลาง. การศึกษาและวิเคราะห์ความเสี่ยงของการก่อสร้างอาคารสูง ในเขตเทศบาลเมืองพัทยา. (วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต). นครราชสีมา: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี; 2555.
Janicak, CA. Occupational fatalities due to electrocutions in the construction industry. J Safety Res 2008; 39(6): 617-21.
Whitaker SM, Graves RJ, James M, McCann P. Safety with access scaffolds: Development of a prototype decision aid based on accident analysis. J Safety Res 2003; 34(3): 249-61.
Rivara FP, Thompson DC. Prevention of falls in the construction industry evidence for program effectiveness. Am J Prev Med 2000; 18(4): 23-6.
Arditi D, Lee DE, Polat G. Fatal accidents in nighttime vs. daytime highway construction work zones. J Safety Res 2007; 38(4): 399-405.
Jin TG, Saito M, Eggett DL. Statistical comparisons of the crash characteristics on highways between construction time and non-construction time. Accident Analysis and Prevention 2008; 40(6): 2015-23.
Nunes KR, Mahler CF, Valle RA. Reverse logistics in the Brazilian construction industry. J Environ Manage 2009; 90(12): 3717-20.
Baron J, Strome TL, Francescutti LH. The construction flagperson: A target for injury. Occup Med 1998; 48(3): 199-202.
Cambraia FB, Saurin TA, Formoso CT. Identification, analysis and dissemination of information on near misses: A case study in the construction industry. Saf Sci 2010; 84(1): 91-9.