ผลของโปรแกรมสุขศึกษาร่วมกับการบริหารจัดการทรัพยากรต่อความรู้ เจตคติ พฤติกรรมป้องกันการสัมผัสตะกั่ว และระดับตะกั่วในเลือด ของพนักงานโรงงานแบตเตอรี่

Main Article Content

Hathairat Methanawin
Chantana Chantawong
Yuwadee Leelukkanaveera

บทคัดย่อ

วิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมสุขศึกษาร่วมกับ
การมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการทรัพยากรต่อความรู้ เจตคติ พฤติกรรมการป้องกันการสัมผัสตะกั่ว
และระดับตะกั่วในเลือดของพนักงานโรงงานแบตเตอรี่ กลุ่มตัวอย่างเป็นพนักงานโรงงานแบตเตอรี่
มีคุณสมบัติตามเกณฑ์ที่กำหนด แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม จำนวนกลุ่มละ 30 คน ดำเนิน
การทดลอง 12 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่
โปรแกรมสุขศึกษาฯ คู่มือเรื่องโรคพิษตะกั่ว แผนกิจกรรมกลุ่ม โปสเตอร์เตือน แบบประเมินพฤติกรรม
การป้องกันการสัมผัสตะกั่วของหัวหน้างานและพนักงาน 2) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล
ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินความรู้เรื่องโรคพิษตะกั่ว เจตคติต่อการป้องกัน
การสัมผัสตะกั่ว และพฤติกรรมการป้องกันการสัมผัสตะกั่ว วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย
ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าทีแบบอิสระ ผลการวิจัย พบว่า หลังการทดลอง กลุ่มทดลอง
มีความรู้เรื่องโรคพิษตะกั่ว เจตคติต่อการป้องกันการสัมผัสตะกั่ว และพฤติกรรมการป้องกันการสัมผัส
ตะกั่วดีกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < .01 ) และกลุ่มทดลองมีระดับตะกั่วใน
เลือดลดลงมากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < .01) สถานประกอบการควร
ใช้โปรแกรมนี้กำหนดเป็นแนวทางในการป้องกันการสัมผัสตะกั่ว เพื่อให้การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
ของพนักงานเกิดความยั่งยืน

Article Details

บท
Original Articles