ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการควบคุมตนเองในพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของเด็กนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น จังหวัดสุพรรณบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยเชิงสำรวจภาคตัดขวางนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการควบคุมตนเองในพฤติกรรมการสูบบุหรี่ ในนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น จังหวัดสุพรรณบุรี กลุ่มตัวอย่างคือนักเรียนมัธยมศึกษา ที่ศึกษาอยู่ในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 ทั้งเพศชายและเพศหญิง ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 ในโรงเรียนเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 9 จังหวัดสุพรรณบุรี จำนวน 404 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามตอบด้วยตนเอง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ สถิติเชิงพรรณนา การวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (Pearson’s Correlation Coefficient) การทดสอบไคสแควร์ (Chi-square Test) และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน (Stepwise Multiple Regression Analysis)
ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับการควบคุมตนเองในพฤติกรรมการสูบบุหรี่ในเด็กนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น จังหวัดสุพรรณบุรี ได้แก่ เพศ พฤติกรรมการสูบบุหรี่ในปัจจุบัน ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ค่าใช้จ่ายที่ได้รับจากผู้ปกครอง อิทธิพลของกลุ่มเพื่อน การรับรู้กฎระเบียบเรื่องบุหรี่ของโรงเรียน และ สภาพแวดล้อมของชุมชน นอกจากนี้ยังพบว่า เพศ พฤติกรรมการสูบบุหรี่ในปัจจุบัน ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน อิทธิพลของกลุ่มเพื่อน การรับรู้กฎระเบียบเรื่องบุหรี่ของโรงเรียน สามารถร่วมกันทำนายการควบคุมพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของตนเองได้ คิดเป็นร้อยละ 52
ข้อเสนอแนะ การสนับสนุนจากผู้ปกครองในการดูแลเรื่องการศึกษาของนักเรียน การให้ความรู้เกี่ยวกับโทษของการสูบบุหรี่ และบริหารค่าใช้จ่ายให้กับนักเรียนอย่างเหมาะสม
Article Details
References
2. เครือข่ายวิชาชีพสุขภาพเพื่อสังคมไทยปลอดบุหรี่. หลักการและเหตุผล. [ออนไลน์]. 2556 [เข้าถึงวันที่ 13 มีนาคม 2559]: เข้าถึงได้จาก https://www.thpaat.org/.
3. สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข. สรุปสถิติที่สำคัญ พ.ศ.2556. นนทบุรี; 2556.
4. สำนักงานสถิติแห่งชาติ. อัตราสูบบุหรี่จำแนกรายภาค พ.ศ.2534 - พ.ศ.2556. [ออนไลน์]. 2556 [เข้าถึงวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2559]: เข้าถึงได้จาก https://www.nso.go.th.
5. Gottfredson MR, Hirschi T. A General Theory of Crime. Stanford, California: Stanford University Press.1990.
6. สมหมาย กล้าณรงค์, สมบัติ ดุลยรัตน์, ชมรักษ์ ภูษิตวิโรจน์กุล, ฤทธิเดช ดำรงค์ชีพ. การสำรวจ พฤติกรรมการสูบบุหรี่ของเยาวชนในจังหวัดแม่ฮ่องสอน .รายงานวิจัยจากศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ; 2552.
7. ทวิมา ศิริรัศมี, บุปผา ศิริรัศมี, จรัมพร โห้ลำยอง, อารี จำปากลาย, ปริยา เกนโรจน์ และธีรนุช ก้อนแก้ว. รายงานการสำรวจระดับประเทศ เรื่องผลกระทบจากนโยบายควบคุมการบริโภค ยาสูบในประเทศไทย กลุ่มวัยรุ่นรอบที่ 4 (พ.ศ.2552). นครปฐม: สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล; 2555.
8.ทวิมา ศิริรัศมี, บุปผา ศิริรัศมี, จรัมพร โห้ลำยอง, อารี จำปากลาย, ปริยา เกนโรจน์ และธีรนุช ก้อนแก้ว. ผลกระทบจากนโยบายควบคุมการบริโภคยาสูบในประเทศไทย กลุ่มผู้สูบบุหรี่ รอบ ที่ 5 (พ.ศ.2554).เล่ม1. นครปฐม: สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล; 2556.
9. Kan K. Cigarette smoking and self-control. Journal of Health Economics 2007; 26 (1): 61-81.
10. อุทุมพร ณ นคร. การศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการทดลองสูบบุหรี่ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นโรงเรียนชลราษฎรอำรุง.ชลบุรี:กระทรวงศึกษาธิการ; 2550.
11. ชูชัย ศุภวงศ์ , สุภกร บัวสาย , จิตสิริ ธนภัทร. วิวัฒนาการของการควบคุมการบริโภคยาสูบใน เมืองไทย. กรุงเทพฯ: กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข; 2540.
12. Martinez Alvarez J, Garcia Gonzales J, Domingo Gutierrez M, Machin Fernandez AJ. The consumption of alcohol, tobacco and drugs in adolescents. Aten Primaria 1996; 18(7): 383-385.
13. นงนุช โรจนเลิศ. การศึกษาตัวแปรที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมตนเองของนักเรียนวัยรุ่น. [ปริญญานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ; 2533.
14. ประกิต วาทีสาธกกิจ, กรองจิต วาทีสาธกกิจ. สารานุกรมไทยสำหรับเด็กและเยาวชน โดยพระราช ประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว. เล่ม28.กรุงเทพฯ: อเมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง ; 2547.
15. สมจิตต์ สุพรรณทัศน์. การสูบบุหรี่และโรคมะเร็ง โปรแกรมสุขศึกษาและปัญหาการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม. วารสารสุขศึกษา, 2522; 2: 9-18.
16. กมลภู ถนอมสัตย์ และรัชนี สรรเสริญ. ปัจจัยที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมการสูบบุหรี่ในระยะ เริ่มต้น ของนักเรียนชายชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจังหวัดตราด.วารสารการพยาบาลและการศึกษา. 2553; 38-47.
17. Paavola M, Vartiainen E, Puska P. Smoking cessation between teenage years and adulthood. Health Education Research 2001; 16(1): 49-57.
18. นพมาศ ร่มเกตุ. การรับรู้ถึงผลกระทบของการสูบบุหรี่ต่อสุขภาพ และพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาจังหวัดสงขลา. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี, 2551; 2: 86-100.
19. จิรวัฒน์ มูลศาสตร์. พฤติกรรมการใช้สารเสพติดในนักเรียนมัธยม : กรณีศึกษาในโรงเรียนมัธยม แห่งหนึ่งของ จ. อุบลราชธานี. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย, 2545; 47(2) :121-134.
20. ณินท์ญาดา รองเดช, เสาวลักษณ์ พลายมี, เบญจวรรณ ลิ้มพิพัฒนวงศ์, สินชัย รองเดช, วิฑูรย์ เหลืองดิลก . การสำรวจพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของเยาวชนในจังหวัดตรัง.รายงานวิจัยจากศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ; 2552 .
21. Tucker JS, Ellickson PL, Klein DJ. Smoking cessation during the transition from adolescence to young adulthood. Nicotine&Tobacco Research 2002; 4(3): 321-332.
22. อารี จำปากลาย, บุปผา ศิริรัศมี, ทวิมา ศิริรัศมี, ปริยา เกนโรจน์, สุรัตนา พรวิวัฒนชัย, ธีรนุช ก้อนแก้ว. ผลกระทบจากนโยบายควบคุมการบริโภคยาสูบในประเทศไทย การสำรวจกลุ่มผู้สูบบุหรี่ระดับประเทศ รอบที่ 3 (พ.ศ.2551). เล่ม1. นครปฐม: สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล; 2553.
23. บุปผา ศิริรัศมี และคณะ. ผลกระทบจากนโยบายควบคุมการบริโภคยาสูบในประเทศไทย กลุ่มผู้สูบบุหรี่ รอบที่ 5 (พ.ศ.2554).เล่ม1. นครปฐม: สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล; 2556.
24. Wayne W, Chad L. Biostatistics: a foundation for analysis in the health sciences.8th ed. New York, USA: John Wiley & Sons; 2005.
25. Mcleroy K, Bibeau D, Strekler A, Glanz K. An ecological perspective on health promotion program. Health Education Quarterly 1988; 15: 351-377.