การวิเคราะห์องค์ประกอบสมรรถนะของนักสาธารณสุข ที่ปฏิบัติงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการเตรียมความพร้อมรับสาธารณภัยจากน้ำท่วม
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยเชิงบรรยายนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบสมรรถนะและตัวแปรที่อธิบายลักษณะองค์ประกอบสมรรถนะของนักสาธารณสุขในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในการจัดการสาธารณภัยจากน้ำท่วม สุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิตามสัดส่วนทั้ง 4 ภูมิภาค คือ ภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคใต้ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือได้ตัวอย่าง 259 คน เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถามที่พัฒนามาจากกรอบแนวทางตามวัฏจักรการจัดการสาธารณภัย ร่วมกับความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญจากการสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์ปัจจัยเชิงสำรวจ (Exploratory Factor Analysis :EFA) โดยการสกัดองค์ประกอบด้วยวิธีองค์ประกอบหลัก หมุนแกนองค์ประกอบแบบออโธโกนอลด้วยวิธีแวริแมกซ์ ผลการศึกษาพบว่า องค์ประกอบสมรรถนะของนักสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการเตรียมความพร้อมรับสาธารณภัยจากน้ำท่วม ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบ มีตัวแปรทั้งหมด 50 ตัวแปร ดังนี้ องค์ประกอบที่ 1) สมรรถนะการจัดระบบงานสาธารณสุข ดูแล ช่วยเหลือ เยียวยา ผู้ประสบภัย 2) สมรรถนะการประสานงาน การสื่อสาร การจัดการเหตุการณ์เฉพาะหน้า 3) สมรรถนะการวางแผนเตรียมความพร้อมให้กับบุคลากรและชุมชน 4) สมรรถนะการประเมินสถานการณ์และการระบุแนวทางแก้ไข 5) สมรรถนะการบริหารความเสี่ยงและปฏิบัติตามหลักมนุษยธรรม 6) สมรรถนะการเฝ้าระวังผลกระทบต่อสุขภาพ มีตัวแปรที่บรรยายองค์ประกอบ 12, 12, 8, 6, 7 และ 5 ตัวแปร ตามลำดับ จากผลการวิจัยครั้งนี้สามารถนำไปใช้เป็นข้อมูลสำหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการพัฒนา ความสามารถและสมรรถนะให้กับนักสาธารณสุข ให้สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างมั่นใจเมื่อเกิดเหตุการณ์สาธารณภัยน้ำท่วม
Article Details
References
2. Du W, FitzGerald GJ, Clark M , & Hou XY. Health impacts of floods. Prehos Disaster Med. 2010; 25: 265-272
3. Landesman LY. Public Health Management of Disasters : The Practice Guide. 3rd ed. American Public Health association; 2011.
4. ยุทธดนัย สีดาหล้าและคณุสสัน ศุภวัตรวรคุณ. บทเรียนการจัดการชุมชนรับมืออุทกภัยโดยชุมชนท้องถิ่นเป็นศูนย์กลาง. พิมพ์ครั้งที่ 1 กรุงเทพฯ: พิมพ์สิริพัฒนา; 2557
5.ธีระ รามสูต.การพัฒนาสู่นักสาธารณสุขมืออาชีพในยุคโลกาภิวัฒน์. วารสารสมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย 2554; 1(1): 1-14.
6.ไททัศน์ มาลา, สุนทรชัย ชอบยศ และพิศาล พรหมพิทักษ์กุล.แนวทางในการจัดการอุทกภัย: กรณีศึกษาเทศบาลนครนนทบุรี. วารสารสถาบันพระปกเกล้า 2557;12(2) : 77-105.
7. ชัยวัฒน์ สวัสดิเวช. ปัญหา อุปสรรค และแนวทางการพัฒนาการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จังหวัดภูเก็ต. [วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต]. ภูเก็ต: มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต; 2553.
8. Harpal S, and Subramaniam S. Health emergency and disaster preparedness in Malaysia. Southeast Asian Journal of Tropical Medicine and Public Health 2009; 40 :11.
9. Munro BH. Statistical methods for health care research (Vol. 1). Lippincott Williams & Wilkins; 2005.
10. คณะกรรมการพัฒนาสาธารณสุขจังหวัด. คู่มือการจัดการภาวะฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุขในภัยพิบัติระดับจังหวัด โดยใช้ 6 ต :กรณีอุทกภัย.น่าน ; 2555: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดน่าน.
11. Savoia E, Lin L, & Viswanath K. Communications in public health emergency preparedness: a systematic review of the literature. Biosecurity and bioterrorism: biodefense strategy, practice, and science 2013; 11(3): 170-184.
12. คณะทำงานสังเคราะห์บทเรียนการรับมืออภิมหาอุทกภัย 2554 . สังเคราะห์บทเรียนการรับมือมหาอุทกภัย 2554. นนทบุรี; 2555: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข.
13. สุรางค์ศรี ศีตมโนชญ์, ลักขณา ไทยเครือ, วิวัฒน์ ศีตมโนชญ์. การประเมินการเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับภัยพิบัติของหน่วยงานสาธารณสุขและชุมชนจังหวัดภูเก็ต.วารสารวิชาการสาธารณสุข 2005 ; 17(7): SVII1992-SVII2005.
14. Gebbie KM, Weist EM, McElligott JE, Biesiadecki LA, Gotsch AR, Keck CW & Ablah E. Implications of preparedness and response core competencies for public health. Journal of Public Health Management and Practice 2013; 19(3): 224-230.
15. Green III WG. The incident command system for public health disaster responders. Meeting of the Public Health Task Group, Richmond Metropolitan Medical Response System. Richmond 2002 : 21:1-12
16. Korteweg HA, van Bokhoven I, Yzermans CJ, & Grievink L. Rapid Health and Needs assessments after disasters: a systematic review. BMC public health 2010; 10(1): 295.
17. Walsh L, Subbarao I, Gebbie K, Schor KW, Lyznicki J, Strauss-Riggs K, & Hick J. Core competencies for disaster medicine and public health. Disaster medicine and public health preparedness 2012; 6(01): 44-52.
18. กิตติพงศ์ อุบลสะอาด, ผาสุก แก้วเจริญตา และทีมวิจัย คปสอ.ลับแล. บทเรียนการบรรเทาภัยพิบัติ สถานการณ์อุทกภัยน้ำท่วมโคลนถล่มอำเภอลับแล และการพัฒนาแผนบรรเทาภัยพิบัติทีมสาธารณสุขอำเภอลับแล. วารสารวิจัยระบบสุขภาพ 2550, 1(2), 146-153.
19. กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย. แผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ พ.ศ.2558. กรุงเทพฯ: คณะกรรมการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ; 2558.
20. สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร. คู่มือแผนพัฒนาสมรรถนะตามสายวิชาชีพของสำนักอนามัย. กรุงเทพฯ; 2556.