ปัญหาและความต้องการในการรับบริการสาธารณสุขตามวิถีอิสลาม
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ และเป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิจัยเรื่อง “บริการสาธารณสุขที่จำเป็นสำหรับชาวไทยมุสลิม: ช่องว่างแห่งระบบบริการสาธารณสุขไทย” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาและความต้องการของชาวไทยมุสลิมเมื่อเข้ารับบริการสาธารณสุขที่โรงพยาบาลรัฐ กลุ่มผู้ให้ข้อมูลคือ ชาวไทยมุสลิมจำนวน 52 คนที่มีประสบการณ์การเข้ารับบริการสาธารณสุขที่โรงพยาบาลเป้าหมาย 8 แห่งภายใต้สังกัดกระทรวงสาธารณสุข ได้แก่ โรงพยาบาลศูนย์ในส่วนภูมิภาค 5 แห่ง โรงพยาบาลทั่วไปในส่วนภูมิภาค 1 แห่ง และโรงพยาบาลในเขตกรุงเทพมหานคร 2 แห่ง เก็บรวบรวมข้อมูลในช่วงเดือนธันวาคม 2558 ถึง มิถุนายน 2559 โดยใช้แบบสัมภาษณ์ การสัมภาษณ์เชิงลึก การสังเกต และการสำรวจสภาพแวดล้อมและบริบทของโรงพยาบาลเป้าหมาย ทำการวิเคราะห์ข้อมูลจากแบบสัมภาษณ์โดยใช้สถิติความถี่ ร้อยละ และข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึกโดยการวิเคราะห์เนื้อหา และนำเสนอข้อค้นพบ ผลการศึกษาพบว่า สามประเด็นที่เป็นปัญหาหลักของชาวไทยมุสลิมเมื่อเข้ารับบริการสาธารณสุขในโรงพยาบาลรัฐ ได้แก่ 1) โรงพยาบาลรัฐไม่มีการจัดบริการอาหารฮาลาลสำหรับผู้ป่วยมุสลิม 2) ไม่มีห้องละหมาด และ 3) ไม่มีสถานที่อาบน้ำละหมาดเฉพาะซึ่งแยกบริเวณชาย-หญิง ตามลำดับ และสิ่งที่ชาวไทยมุสลิมต้องการให้ทางโรงพยาบาลรัฐจัดบริการเมื่อต้องเข้ารับบริการสาธารณสุขเพื่อให้สอดคล้องกับวิถีอิสลาม ได้แก่ 1) มีห้องละหมาดไว้บริการ 2) มีสถานที่อาบน้ำละหมาดเฉพาะซึ่งแยกบริเวณชาย-หญิง และ 3) มีร้านอาหารอิสลามภายในโรงพยาบาล ผลที่ได้จากการศึกษานี้จะถูกนำเสนอต่อผู้บริหารโรงพยาบาลเป้าหมายและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อนำไปใช้พัฒนาปรับปรุงระบบบริการสาธารณสุขให้สอดคล้องกับวิถีอิสลามตามบริบทของพื้นที่และต้นทุนทางสังคม
Article Details
References
สถาบันเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือการดูแลฟื้นฟูสุขภาพผู้สูงอายุในชุมชนมุสลิม สำหรับผู้นำประจำมัสยิด. [อินเทอร์เน็ต]. 2551 [เข้าถึงเมื่อ 1 กันยายน 2556] เข้าถึงได้จาก: http://v2.agingthai.org/page/895
ปิติ ศรีแสงนาม. จะเป็น ASEAN Medical Hub ได้ไทยต้องเข้าใจวิถีอิสลาม. [อินเทอร์เน็ต]. 2555 [เข้าถึงเมื่อ 30 มกราคม 2560] เข้าถึงได้จาก: http://www.thai-aec.com/296#ixzz4WqcFg9AU
มาหะมะ เมาะมูลา. โรงพยาบาลวิถีอิสลาม. [อินเทอร์เน็ต]. 2553 [เข้าถึงเมื่อ 5 มกราคม 2560] เข้าถึงได้จาก: http://mblog.manager.co.th/infinitepower/th-94922/
Seibert PS, Stridh-Igo P, and Zimmerman CG. A Checklist to Facilitate Cultural Awareness and Sensitivity. J Med Ethics 2002;28:143-146.
สุรีย์ ธรรมิกบวร. การพยาบาลในความหลากหลายทางวัฒนธรรม. [อินเทอร์เน็ต]. 2555 [เข้าถึงเมื่อ 1 ตุลาคม 2556] เข้าถึงได้จาก: http://www.nurse.ubu.ac.th/sub/?name=knowledge&file =readknow ledge &id=19
นิพล แสงศรี. อิสลามกับประชาคมอาเซียน. [อินเทอร์เน็ต]. 2555. [เข้าถึงเมื่อ 1 ตุลาคม 2556] เข้าถึงได้จาก: http://www.islammore.com/main/content.php?page=news&category=4&id=2802
วิจิตรา ดวงดี. บทบาทชาวมุสลิมกับประชาคมอาเซียน. [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 1 ตุลาคม 2556] เข้าถึงได้จาก: http://www.youtube.com/watch?v=QQVGEQGKbcc
สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. สถิติสาธารณสุข พ.ศ. 2558. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์สามเจริญพาณิชย์ (กรุงเทพ) จำกัด. 2559.
ศิริเพ็ญ ศุภกาญจนกันติ และคณะ. รายงานการวิจัย “การศึกษาการส่งเสริมสุขภาพของชาวไทยมุสลิมในประเทศไทย”. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์เศรษฐศาสตร์สาธารณสุข คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, แผนงานสร้างเสริมสุขภาวะมุสลิมไทย ได้รับการสนับสนุนโดยสำนักกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ และศูนย์เศรษฐศาสตร์สาธารณสุข คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2548.
Anderson LM, Scrimshaw SC, Fullilove MT, Fielding JE, and Normand J. Culturally competent healthcare systems: A systemic review. Am J Prev Med 2003;24(3):68-79.
Padela AI, Gunter K, Killawi A, and Heisler M. Religious Values and Healthcare Accommodations: Voices from the American Muslim Community. J Gen Intern Med 2011;27(6):708-715.