การพัฒนาตัวแบบวัฒนธรรมด้านความปลอดภัยเชิงรุกในระบบอุตสาหกรรมการผลิตของประเทศไทย

Main Article Content

Yutthapoom Meepradist
Phitak Siriwong
Thirawat Chantuk

บทคัดย่อ

                  การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดชุดตัวแปรที่ใช้เป็นองค์ประกอบหลักในโมเดลการวิจัย และนำมาพัฒนาโมเดลโครงสร้างความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของตัวแบบวัฒนธรรมด้านความปลอดภัยเชิงรุก ตลอดจนนำไปกำหนดตัวแบบวัฒนธรรมด้านความปลอดภัยเชิงรุกในระบบอุตสาหกรรมของ ประเทศไทย ใช้เทคนิคการวิจัยและพัฒนาเป็นกรอบหลักในการวิจัยใช้วิธีการเก็บรวบข้อมูลแบบวิธีการผสมผสาน ระหว่างการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการวิจัยเอกสารและการสัมภาษณ์เชิงลึกแบบเดี่ยวและแบบกลุ่มกับผู้ให้ข้อมูลหลักที่เกี่ยวข้องด้านความปลอดภัย จำนวน 11 คน และเก็บข้อมูลวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้แบบสอบถาม จำนวน 380 ชุด สุ่มตัวอย่างแบบอาศัยความน่าจะเป็นเลือกการสุ่มอย่างง่าย สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และโมเดลสมการโครงสร้าง (SEM)


                   ผลการวิจัยพบว่า การประยุกต์แนวทางการวิจัยเอกสารเพื่อกำหนดกรอบที่ใช้เป็นแนวทางในการศึกษาที่ใช้เป็นองค์ประกอบหลักในโมเดลการวิจัย และจากการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการนำโมเดลที่ศึกษาได้ไปทำการสัมภาษณ์เชิงลึก ผสมผสานทั้งแบบแบบกลุ่มและแบบเดี่ยว เพื่อพัฒนาโมเดลโครงสร้างความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของตัวแบบวัฒนธรรมด้านความปลอดภัยเชิงรุกในระบบอุตสาหกรรมการผลิตของประเทศไทย พบว่า ด้านปัจจัยนำเข้า มี 4 องค์ประกอบ ได้แก่ คน อุปกรณ์และเครื่องจักร เงินและงบประมาณ และวิธีการ ปัจจัยกระบวนการ มี 2 องค์ประกอบ ได้แก่ ระบบคน และระบบงาน ปัจจัยด้านผลลัพธ์ มี 2 องค์ประกอบ ได้แก่ อัตราการเกิดอุบัติเหตุ และความเสียหายต่อธุรกิจ ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมในการทำงาน มี 3 องค์ประกอบ ได้แก่ บรรยากาศ  ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก วัฒนธรรมที่แตกต่าง ปัจจัยด้านการยศาสตร์ มี 2 องค์ประกอบ ได้แก่ ลักษณะงาน และลักษณะคน ปัจจัยด้านประสบการณ์ มี 4 องค์ประกอบ ระยะเวลาที่เคยทำ การได้มีส่วนร่วม การได้เคยรับการอบรม และภาวะผู้นำ วัฒนธรรมด้านความปลอดภัย มี  3 องค์ประกอบ ได้แก่ ด้านการรับรู้ ด้านพฤติกรรม ด้านจิตวิทยาภายใน เมื่อพิจารณาตัวแบบการพัฒนารูปแบบด้านวัฒนธรรมความปลอดภัยเชิงรุกในระบบอุตสาหกรรมการผลิตของประเทศไทย พบว่า วัฒนธรรมความปลอดภัย ได้รับอิทธิพลรวมสูงสุดจาก ปัจจัยด้านประสบการณ์รองลงมา ด้านการยศาสตร์ และด้านสิ่งแวดล้อมในการทำงาน ตามลำดับ

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ (Original Articles)

References

1. ศิวัช แก้ววงศาและเพ็ญสุดา พันฤทธิ์ดา. การประยุกต์ใช้ FMEA เพื่อลดข้อผิดพลาดในงานออกแบบทางวิศวกรรม ของการบริหารโครงการ. การประชุมวิชาการข่ายงานวิศวกรรมอุตสาหการ ประจำปี พ.ศ. 2555 17-19 ตุลาคม 2555 ชะอำ เพชรบุรี; 2556.
2. ดลฤดี สุวรรคีรี. คู่มือแห่งความสุข 8 ประการในที่ทำงานของ สสส. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ; 2551.
3. อารีย์ แก้วทวี และจรรยา วงศ์กิตติถาวร. วัฒนธรรมความปลอดภัยของบุคลากรห้องผ่าตัดโรงพยาบาลสงขลานครินทร์. สงขลานครินทร์ เวชสาร. 2553; 26(3): 117-125
4. Heinrich HW. Industrial Accident Prevention. New York: McGraw-Hill; 1931.
5. ณัฐธิดา ชูเจริญพิพัฒน์. วัฒนธรรมในองค์กรที่มีผลต่อการปฏิบัติงานของพนักงานธนาคารไทยพาณิชย์ เขตนครสวรรค์. คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี; 2555.
6. Weihrich & Koontz. Management : a global perspective. New York : McGraw-Hill; 1993
7.Stain A. Safety culture and the issue of power. Safety Science, 2009; 47(2), 183-191.
8. จันทิราพร ทั่งสุวรรณ. การจัดการความปลอดภัยอำชีวอนำมัยและสิ่งแวดล้อม (SHE) ของโรงงานผลิตน้ำมันจากยางรถยนต์เก่าไม่ใช้แล้วของสหกรณ์การเกษตรวานรนิวาส จังหวัดสกลนคร. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการจัดการสิ่งแวดล้อม, คณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์; 2555.
9. HSC. ACSNI study group on human factors. Third report Organising for Safety. HSE Books; 1993.
10. Fernández-Muñiz B, Montes-Peón JM, Vázquez-Ordás CJ. Safety culture: analysis of the causal relationships between its key dimensions. Journal of Safety Research. 2007; 38: 627-641.
11. Cooper AM. How to supervise people. New York: McGraw-Hill Book; 1958.
12. O’Toole M. The relationship between employees’ perceptions of safety and organizational culture. Journal of Safety Research. 33 (2002) 231 – 243
13. รังสรรค์ ม่วงโสรส. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อวัฒนธรรมความปลอดภัยในอุตสาหกรรมปิโตรเคมี วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์; 2553.
14. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550. กรุงเทพ: สํานักพิมพ์คณะรัฐมนตรีและราชกิจจานุเบกษา; 2550
15. กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน. รายงานประจำปี 2550 การบริหารงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (สิ่งพิมพ์รัฐบาล). กรุงเทพฯ : กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน; 2550.
16.Yin RK. Case study research: Design and methods (3rd ed). Thousand Oaks, CA: Sage; 2003.
17. Hair JF Jr, Black WC, Babin BJ, & Anderson RE. Multivariate data analysis (7 ed.). Upper Saddle River, NJ: Prentice Hall; 2010.
18. วรรณี แกมเกตุ.วิธีวิทยาการวิจัยทางสังคมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2551.
19. Hughes BP, and Fattuhi NI. The workability of steel-fibre-reinforced concrete. Magazine of Concrete Research.Volume 28 Issue 96, September 1976, pp. 157-161
20. Dale E. Audio - Visual Methods in Teaching. 3rd ed. New York : Holt, Rinehart and Winston. ;1969.
21. Mohammad K. Normative ethical theories and ethical challenges in the field of information management. Journal of Academic Librarianship and Information Research, 2010; 44 (3): 87-121.