ปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อความภักดีของผู้รับบริการการแพทย์แผนไทย ในภาคตะวันออกของประเทศไทย

Main Article Content

Chulalak Thienrungrassamee
Pratchaya Kaewkaen
Parinya Ruengtip

บทคัดย่อ

                 การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่ส่งผลต่อความภักดีของผู้รับบริการการแพทย์แผนไทยในภาคตะวันออกของประเทศไทย และตรวจสอบ         ความสอดคล้องของโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุกับข้อมูลเชิงประจักษ์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นผู้รับบริการทางการแพทย์แผนไทย จำนวน 450 คน จากโรงพยาบาลนำร่องทางด้านการแพทย์แผนไทยในภาคตะวันออก 3 แห่ง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS และวิเคราะห์โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุด้วยโปรแกรม LISREL 8.80


                ผลการวิจัยปรากฏว่า โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่ส่งผลต่อความภักดีของผู้รับบริการการแพทย์แผนไทยในภาคตะวันออกของประเทศไทยที่พัฒนาขึ้น มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ พิจารณาจาก ค่าสถิติไค-สแควร์ ( ) เท่ากับ 58.03 ค่า df เท่ากับ 43 ค่า p เท่ากับ .063 ค่า GFI เท่ากับ .98 ค่า AGFI เท่ากับ .95 ค่า CFI เท่ากับ 1.00 ค่า NFI เท่ากับ .99 ค่า NNFI เท่ากับ 1.00 ค่า SRMR เท่ากับ .043 ค่า RMSEA เท่ากับ .028 และค่าสัมประสิทธิ์การพยากรณ์ของความภักดีต่อการบริการ เท่ากับร้อยละ 53 ตัวแปรที่มีอิทธิพลต่อความภักดีของผู้รับบริการ     มากที่สุด คือความพึงพอใจของผู้รับบริการ รองลงมาคือ การรับรู้คุณค่าของผู้รับบริการ ข้อร้องเรียนของผู้รับบริการ การรับรู้คุณภาพของผู้รับบริการ และความคาดหวังของผู้รับบริการ ตามลำดับ

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ (Original Articles)

References

1. สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข. 2554. รายงานการสาธารณสุขไทย 2551-
2553. โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก, 287.
2. สำนักนายกรัฐมนตรี. 2556. พระราชบัญญัติวิชาชีพการแพทย์แผนไทย พ.ศ. 2556.
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 130 ตอนที่ 10 ก วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2556, 1.
3. สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ กระทรวงสาธารณสุข. 2552. ประกาศคณะกรรมการ
สุขภาพแห่งชาติ เรื่อง ธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2552, 6-20.
4. Chao Y, Lee GY, & Ho YC. 2009. Customer loyalty in virtual environments:
An empirical study in e-bank. Journal of Computational Methods in Science and
Engineering, 48(2), 497-500.
5. Pooltong Y. 2008. “Customer loyalty: The roles of corporate social responsibility
and service quality”, Ph.D.Dissertation (Marketing). Bangkok: Thammasat
University.
6. Schiffman LG, & Kanuk LL. 1994. Consumer behavior. (5th ed.). Englewood
Cliffs,N. J. : Prentice-Hall.
7. Zeithaml, Valarie A. 1988. Consumer Perceptions of Price, Quality and Value: A
Means-end Model and Synthesis of Evidence. Journal of Marketing. (52), 2-18.
8. Kotler P. 1997. Marketing management: analysis, planning implementation and
control. (9th ed). New Jersey: Asimmon &Schuster.
9. ชัยสมพล ชาวประเสริฐ. 2549. การตลาดบริการ. กรุงเทพฯ: บริษัทซีเอ็ดยูเคชั่นจำกัด(มหาชน).
10. Fornell C, Johnson MD, Anderson EW, Cha J, Bryant BE. 1996. The American
Customer Satisfaction Index: Nature, Purpose, and Findings. Journal of Marketing, 60
(October), 7-18.
11. คมวุฒิ อัญญธนากร. 2556. ปัจจัยที่ส่งผลต่อความพึงพอใจของลูกค้าในการใช้บริการธนาคาร
ออนไลน์. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, การประชุมวิชาการ
บัณฑิตศึกษาระดับชาติ ครั้งที่ 3 ประจำปี 2556, 493-511.
12. Kotler, P., & Keller, Kevin. (2009). Marketing Management. 13th Edition. New
Jersey: Prentice-Hall.
13. Zeng Y., & Zhang L. 2008. An empirical study on the relationship among
customer satisfaction, switching cost and store loyalty. Journal of Chinese
Marketing, 1(April), 25-31.
14. อัมพล ชูสนุกและไพโรจน์ วงศ์นำทรัพย์. 2556. อิทธิพลของส่วนประสมทางการตลาดต่อ
คุณค่าที่ลูกค้ารับรู้ ความพึงพอใจ และความจงรักภักดีของลูกค้าตลาดค้าผ้า บริษัท มาดอนน่า
แฟบริค จำกัด. วารสารการจัดการธุรกิจ, มหาวิทยาลัยบูรพา, 2(1), 19-21.
15. ดนยา ชัยมงคล. 2554. การรับรู้คุณค่าตราสินค้า“เอส แอนด์ พี” ของผู้บริโภคในจังหวัด
เชียงใหม่. บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (การบริหารธุรกิจ), มหาวิทยาลัยแม่โจ้.
16. พิมพ์รามิล สุพรรณพงศ์. 2554. อิทธิพลสำคัญต่อคุณค่าการรับรู้ และการตัดสินใจรับบริการ
คลินิกพิเศษเฉพาะทางนอกเวลา โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล.
บริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต (การตลาด), มหาวิทยาลัยสยาม.
17. กาญจนา ทวินันท์ และแววมยุรา คำสุข. 2558. ปัจจัยที่ส่งผลต่อความพึงพอใจลูกค้า ในธุรกิจ
การท่องเที่ยวแบบพำนักระยะยาวในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวประเทศไทย. วารสารธุรกิจ
ปริทัศน์ 7(2), 151-167.
18. ไพโรจน์ ปิยะวงศ์วัฒนา. 2556. ความคาดหวังใหม่ของลูกค้าที่มีผลต่อการแบ่งส่วนตลาด
ธุรกิจโรงแรมจังหวัดเพชรบุรี (ชะอำ). WMS Journal of Management. มหาวิทยาลัยวิไลลักษณ์,
1(1), 46-57.
19. วิมลรัตน์ หงส์ทอง. 2555. ความคาดหวังและการรับรู้คุณภาพการให้บริการลูกค้าธนาคาร
ออมสินสาขาวัชรพล. บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (การจัดการทั่วไป), มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี
ราชมงคลธัญบุรี.