ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการทำหน้าที่ตามบทบาทของเจ้าหน้าที่ความปลอดภัย ในการทำงานระดับเทคนิค ในโรงงานอุตสาหกรรมจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการทำหน้าที่ตามบทบาทของ จป. เทคนิค ในโรงงานอุตสาหกรรมจังหวัดพระนครศรีอยุธยา รูปแบบการวิจัยเป็นแบบภาคตัดขวาง ประชากรในการศึกษานี้เป็น จป. เทคนิค จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ที่ได้มาจากข้อมูล จป. เทคนิค ที่ขึ้นทะเบียนกับสำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จำนวน 108 คน โดยในการศึกษานี้จะทำการศึกษาทั้งหมดทุกคน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด Pearson correlation และ Chi square test
ผลการวิจัยพบว่า จป. เทคนิค ในการศึกษานี้ ส่วนใหญ่ ร้อยละ 67.6 เป็นเพศชาย มีอายุเฉลี่ย 34.08 ± 4.73 ปี ร้อยละ 63.9 มีวุฒิการศึกษาระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ร้อยละ 55.6 มีอายุงานในสถานประกอบกิจการปัจจุบัน 4-6 ปี ความคิดเห็นต่อการบริหารจัดการด้านความปลอดภัยฯ ของสถานประกอบกิจการ ส่วนใหญ่ อยู่ในระดับดี ร้อยละ 53.7 ความคิดเห็นต่อการสนับสนุนการดำเนินการด้านความปลอดภัยฯ จากผู้บริหาร หัวหน้างาน พนักงาน และหน่วยงานภาครัฐ ส่วนใหญ่ อยู่ในระดับดี ร้อยละ 53.7 ระดับการปฏิบัติงานด้านความปลอดภัยฯ ของ จป. เทคนิค ส่วนใหญ่ อยู่ในระดับน้อย ร้อยละ 38.9 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคะแนนการปฏิบัติหน้าที่ของ จป. เทคนิค ในโรงงานอุตสาหกรรมจังหวัดพระนครศรีอยุธยา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ อายุ ระยะเวลาการปฏิบัติงาน ความคิดเห็นต่อการบริหารจัดการด้านความปลอดภัยฯ ของสถานประกอบกิจการ และการสนับสนุนการดำเนินการด้านความปลอดภัยฯ จากผู้บริหาร หัวหน้างาน พนักงาน และหน่วยงานภาครัฐ แม้ว่า จป.เทคนิค มีความคิดเห็นว่าการบริหารงานด้านความปลอดภัยของสถานประกอบกิจการอยู่ในระดับดี แต่ในประเด็นของการสนับสนุนการดำเนินการด้านความปลอดภัย ผู้บริหารควรต้องมีการกำกับดูแล ติดตามการปฏิบัติงานเพื่อให้การดำเนินการด้านความปลอดภัยเป็นไปได้อย่างราบรื่น หน่วยงานภาครัฐควรปรับปรุงในเรื่องของการสนับสนุนข้อมูลข่าวสาร การประชาสัมพันธ์ รวมถึงการเผยแพร่ข้อมูลเพื่อให้สถานประกอบกิจการมีการปฏิบัติงานให้ถูกต้องตามกฎหมาย และนายจ้างต้องให้ จป. เทคนิค ปฏิบัติงานด้านความปลอดภัยเพิ่มขึ้น และรัฐควรเพิ่มบทบาทในการดูแล จป.เทคนิค เช่น การกำกับดูแลการดำเนินการของ จป. เทคนิค ในสถานประกอบกิจการ
Article Details
References
2. แอนน์ จิระพงษ์สุวรรณ. ปัญหาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย. วารสารพยาบาลสาธารณสุข กันยายน-ธันวาคม 2556 ปีที 27 ฉบับที 3 คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. 2556 วันที่ค้นข้อมูล 20 มกราคม 2558, เข้าถึงได้จาก https://phpn.ph.mahidol.ac.th/Journal/txt/27_no3/9ann.pdf
3. สำนักงานกองทุนเงินทดแทน. จำนวนการประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยเนื่องจากการทำงาน. 2557. วันที่ค้นข้อมูล 11 มกราคม 2558, เข้าถึงได้จากhttps://www.sso.go.th/wpr/category.jsp?lang=th&cat=801
4. กระทรวงแรงงาน. กฎกระทรวงแรงงาน เรื่อง กำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ.2549. ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 123 ตอนที่ 23 ก. หน้า 13-20; 2549.
5. กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน. คู่มืออบรมคณะกรรมการความปลอดภัย
อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานของสถานประกอบกิจการ (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ: ดอกเบี้ย; 2557.
6. จารุวรรณ วิโรจน์. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับหัวหน้างาน : การวิเคราะห์พหุระดับ. วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต, สาขาวิชาชีวสถิติ, บัณฑิตมหาวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2548.
7. นิภาพร คำหลอม. รายงานการวิจัย โครงการ : การศึกษาการปฏิบัติงานด้านอาชีวอนามัย และความปลอดภัยของเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับหัวหน้างาน กรณีจังหวัดอุบลราชธานี. อุบลราชธานี: คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี; 2553.
8. ภาณี ฤทธิ์มาก, จิราพร เขียวอยู่, เฟื่องฟ้า กาญจโนภาส, อภิญญา ขาวลิขิต และ อุไรวรรณ อินทร์ม่วง. รายงานวิจัยโครงการ : การปฏิบัติงานด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยของเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับหัวหน้างาน กรณีจังหวัดขอนแก่น. (ชุดโครงการอาชีวอนามัย). ขอนแก่น: คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2544.
9. _______ . รายงานวิจัยโครงการ : การปฏิบัติงานด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยของเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับวิชาชีพ กรณีจังหวัดขอนแก่น. (ชุดโครงการอาชีวอนามัย). ขอนแก่น: คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2543.
10. รัศลี จอประยูร. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความปลอดภัยในการทำงานของพนักงานบริษัท คาร์ตัน ออปทิคัล (สยาม) จำกัด. ภาคนิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, สาขาการจัดการทั่วไป, คณะวิทยาการจัดการ, มหาวิทยาลัยราชภัฎพระนครศรีอยุธยา; 2551.
11. วันเฉลิม พลอินทร์. การสนับสนุนเรื่องความปลอดภัยและอนามัยในการทำงานขององค์การ พฤติกรรมความปลอดภัยและคุณภาพชีวิตในการทำงานของพนักงานบริษัทปูนซิเมนต์ไทย ทุ่งสง จำกัด. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ, บัณฑิตมหาวิทยาลัย, สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ; 2549.
12. Bloom, B. Taxonomy of Education Objective Handbook I. Cognitive Domain. New York: David Mckay; 1975.