การประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพด้านการสัมผัสปัจจัยการยศาสตร์ ของแรงงานนอกระบบกลุ่มเย็บผ้าสำเร็จรูป

Main Article Content

Sunisa Chaiklieng
Thawatchai Kampong
Worawan Poochada

บทคัดย่อ

การศึกษาที่ผ่านมาในแรงงานนอกระบบกลุ่มเย็บผ้าสำเร็จรูป อำเภอหนองเรือ จังหวัดขอนแก่น พบความชุกของการปวดหลังในรอบ 6 เดือนที่ผ่านมา สูงถึงร้อยละ 60.38 และปัจจัยหนึ่งที่มีความสัมพันธ์กับการปวดหลังของแรงงานกลุ่มนี้ คือ พนักงานรับรู้ว่ามีการทำงานท่าเดิมซ้ำๆ การศึกษาเชิงสำรวจนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพด้านการสัมผัสปัจจัยการยศาสตร์ของแรงงานนอกระบบกลุ่มเย็บผ้าสำเร็จรูปกลุ่มนี้ โดยทำการเก็บข้อมูลในกลุ่มตัวอย่างแรงงานนอกระบบจำนวน 313 คน ที่มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน ใช้การสังเกตควบคู่กับการใช้แบบประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพในกระบวนการทำงานของทุกคน คือ การเตรียมผ้า การเย็บผ้า และการตรวจ บรรจุหีบห่อ วิเคราะห์ความเสี่ยงโดยใช้แมทริกซ์ความเสี่ยงต่อสุขภาพ (4x4) ที่คำนึงถึงโอกาสและความรุนแรง ผลการศึกษาพบว่าความเสี่ยงจากปัจจัยการยศาสตร์ โดยพิจารณาในระดับสูงของแต่ละกระบวนการ สูงที่สุด 3 ลำดับแรก มีดังนี้ 1) การเตรียมผ้า คือ ท่าทางการทำงานไม่เหมาะสม (ร้อยละ 48.56) การเคลื่อนไหวซ้ำซากเป็นเวลานานๆ (ร้อยละ 19.17) และการออกแรงมากๆ (ร้อยละ 6.39) ตามลำดับ 2) กระบวนการเย็บผ้า คือ ท่าทางการทำงานไม่เหมาะสม (ร้อยละ 64.86) การเคลื่อนไหวซ้ำซากเป็นเวลานานๆ (ร้อยละ 38.66) และการทำงานติดต่อกันเป็นเวลานานๆ (ร้อยละ 31.95) ตามลำดับ 3) กระบวนการตรวจชิ้นงานและบรรจุหีบห่อ คือ ท่าทางการทำงานที่ไม่เหมาะสม (ร้อยละ 63.90) การได้รับแรงเครียดจากร่างกายโดยตรง (ร้อยละ 16.29) และการทำงานเคลื่อนไหวที่ซ้ำซากเป็นเวลานานๆ (ร้อยละ 6.39) ตามลำดับ สรุปผลการวิจัยได้ว่าปัจจัยทางการยศาสตร์ที่เกิดจากท่าทางการทำงานไม่เหมาะสม ท่าทางซ้ำๆ นานๆ เกิดแรงเครียดจากร่างกายโดยตรงนี้ อาจเป็นสาเหตุส่วนหนึ่งของการปวดหลังของแรงงานกลุ่มนี้ได้ ดังนั้น จึงควรจัดให้มีบริการด้านอาชีวอนามัย โดยการให้ความรู้ด้านการยศาสตร์แก่แรงงานเพื่อลดความเสี่ยงด้านการยศาสตร์ และการปรับปรุงสภาพแวดล้อมการทำงานเพื่อการป้องกันโรคปวดหลังจากการทำงานต่อไปได้

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ (Original Articles)

References

1. สุวิทย์ อินนามมา. แรงงานนอกระบบ: วิถีชีวิต การทำงาน การดูแลสุขภาพและสังคม กรณีศึกษากลุ่มเย็บผ้า ตำบลบ้านเม็ง อำเภอหนองเรือ จังหวัด หนองเรือ. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข 2553; 4: 379-92.
2. เครือเนตร อารีรักษ์. การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อแก้ไขปัญหาสุขภาพจากการทำงานของแรงงานนอกระบบที่ประกอบอาชีพตัดเย็บเสื้อผ้าสำเร็จรูป ตำบลบะหว้า อำเภออากาศอำนวย จังหวัดสกลนคร (วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสุขศึกษาและการ ส่งเสริมสุขภาพ)บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2551.
3. สำนักงานประกันสังคม. รายงานประจำปี 2557 กองทุนเงินทดแทน. 2558 (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก https://www.sso.go.th/wpr/uploads/uploadImages/file/AnnualReportBook2557.pdf. (วันที่ค้นข้อมูล 16 มีนาคม พ.ศ.2558)
4. ธวัชชัย คำป้อง, สุนิสา ชายเกลี้ยง. ปัจจัยเสี่ยงที่สัมพันธ์กับการปวดหลังจากการทำงานของแรงงานนอกระบบกลุ่มเย็บผ้าสำเร็จรูป อำเภอหนองเรือ จังหวัดขอนแก่น. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2556; 6: 70-8.
5. Hsieh FY, Bloch DA, Larsen MD. A simple method of sample size calculation for linear and logistic regression. Statistics in Medicine 1998; 17: 1623-34.
6. จตุพร เลิศฤทธิ์. การประเมินความเสี่ยงต่อความเมื่อยล้าของกล้ามเนื้อในคนงานโรงงานทอผ้าอำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ (วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาอนามัยสิ่งแวดล้อม) บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2550.
7. สุนิสา ชายเกลี้ยง. พิษวิทยาสาธารณสุข. ขอนแก่น: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2557.
8. Trevelyan FC, Haslam RA. Musculoskeletal disorders in a handmade brick manufacturing plant. Inter J Ind Ergon 2001; 27: 43-55.
9. Glover W, McGregor A, Sullivan C, Hague J. Work-related musculoskeletal disorders affecting members of the Chartered Society of Physiotherapy. Physiotherapy 2005; 91: 138-47.
10. เพชรรัตน์ แก้วดวงดี. ความชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องของการปวดหลังส่วนล่างในอาชีพกลุ่มอุตสาหกรรมสิ่งทอ (วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชากายภาพบำบัด). ขอนแก่น: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2553.
11. วัชรากร เรียบร้อย และสุนิสา ชายเกลี้ยง. การบาดเจ็บซ้ำซากในพนักงานอุตสาหกรรมแกะสลักหิน จังหวัดชลบุรี.วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2554; (4): 11-20.
12. เกษราวัลณ์ นิลวรางกูร, ดลวิวัฒน์ แสนโสม, ชวนพิศ ทำนอง, อุตสาห์ ศุภรพันธ์, และนิรมล ศรีธงชัย. การพัฒนาศักยภาพการดูแลตนเองของแรงงานสตรีนอกระบบงานทอผ้าพื้นบ้านในจังหวัดขอนแก่น (ระยะที่ 2). ขอนแก่น: คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2549.
13. ประดิษฐ์ ประทีปะวณิช. Myofascial pain syndrome: a common problem in clinical practice. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง; 2542.
14. Sinaki M, Mokri B. Low back pain and disorders of the lumbar spine. In: Braddom RL (Ed.), Physical Medicine & Rehabilitation. (p.728-755). Philadelphia: WB Saunders; 1996.
15. รุ่งฤดี วงศ์ชุม. สุขภาพกับแรงงานสตรีที่รับงานมาทำที่บ้าน. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2551; 31: 59-64.