พัฒนารูปแบบการดูแลผู้สูงอายุที่เป็นโรคเบาหวานโดยใช้กระบวนการ มีส่วนร่วมของครอบครัวและชุมชน

Main Article Content

พิสิษฐ์ พิริยาพรรณ
เวธกา กลิ่นวิชิต
ผกาพรรณ ดินชูไท
สุริยา โปร่งน้ำใจ
เพ็ชรงาม ไชยวานิช

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการดูแลผู้สูงอายุที่เป็นโรคเบาหวานโดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วมของครอบครัวแล ะชุมชน ประชากร คือ ผู้สูงอายุเทศบาลเมืองแสนสุข จังหวัดชลบุรี 5,797 คน บุคคลในครอบครัวอย่างน้อย 1 คน จาก 10,253 ครัวเรือน ผู้นำชุมชนจาก 26 ชุมชน กลุ่มตัวอย่างเลือกแบบเจาะจง เป็นผู้สูงอายุที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคเบาหวาน 60 คน ผู้ดูแลผู้สูงอายุในครอบครัว 40 คน ตัวแทนชุมชน 20 คน รวม 120 คน ขั้นตอนวิจัยมี 4 ขั้นตอน คือ 1) ค้นหาปัญหา 2) วางแผนแก้ปัญหา 3) ลงมือปฏิบัติ 4) สะท้อนผลและประเมินผล เก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึก สนทนากลุ่ม สังเกตแบบมีส่วนร่วมและแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูล โดยวิเคราะห์เนื้อหา และสถิติเชิงพรรณนา ผลการวิจัย พบว่า วิธีค้นหาความต้องการการดูแลผู้สูงอายุที่เป็นโรคเบาหวาน ประกอบด้วย การประเมินภาวะสุขภาพ ความสามารถในการดูแลตนเองของผู้สูงอายุ และ การสนับสนุนของครอบครัวและชุมชน การวางแผนแก้ปัญหาควรใช้กระบวนการมีส่วนร่วมระหว่าง ผู้สูงอายุ ครอบครัว และชุมชน ควรลงมือปฏิบัติตามบทบาทตนเอง ดังนี้ บทบาทผู้สูงอายุ 4 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านรับประทานยา 2) ด้านรับประทานอาหาร 3) ด้านออกกำลังกาย 4) ด้านจัดการความเครียด บทบาทผู้ดูแลและชุมชน ได้แก่ 1) ความรู้โรคเบาหวานและการดูแล 2) ทักษะปฏิบัติการดูแล 3) ทัศนคติที่ดีต่อการดูแลผู้สูงอายุและต่อตนเอง บทบาทของบุคลากรทางการแพทย์ ได้แก่ 1) ติดตามและประเมินผล 2)สะท้อนผลลัพธ์ 3) สนับสนุนให้คำปรึกษาต่อผู้สูงอายุและผู้ดูแล โดยมีผลการใช้รูปแบบการดูแลผู้สูงอายุที่เป็นโรคเบาหวาน ในภาพรวมอยู่ในระดับ พึงพอใจมากที่สุด (= 4.55, SD = 0.64) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ผู้ใช้รูปแบบมีความพึงพอใจด้านความสามารถนำไปใช้ของรูปแบบ มากที่สุด (= 4.69, SD = 0.63) รองลงมาคือ ด้านความครบถ้วนของรูปแบบและความเหมาะสมเป็นไปได้ในการใช้งาน (= 4.55, SD = 0.70, = 4.55, SD = 0.75)

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ (Original Articles)
Author Biographies

พิสิษฐ์ พิริยาพรรณ, มหาวิทยาลัยบูรพา

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สาขาวิชาเวชศาสตร์ชุมชน อาชีวเวชศาสตร์ และเวชศาสตร์ครอบครัว คณะแพทยศาสตร์

เวธกา กลิ่นวิชิต, มหาวิทยาลัยบูรพา

พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยบูรพา

ผกาพรรณ ดินชูไท, มหาวิทยาลัยบูรพา

อาจารย์แพทย์ สาขาวิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์

สุริยา โปร่งน้ำใจ, มหาวิทยาลัยบูรพา

อาจารย์แพทย์ สาขาวิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์

เพ็ชรงาม ไชยวานิช, มหาวิทยาลัยบูรพา

อาจารย์แพทย์ สาขาวิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์

References

จันทร์เพ็ญ ชูประภาวรรณ และคณะ.

การสำรวจประชากรสูงอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป

ในประเทศไทย ปี พ.ศ. 2538. วารสารการ

ส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม, 2540 ;

(2): 18.

มหาวิทยาลัยบูรพา. สถิติของการมารับบริการ

ณ โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยบูรพา ปี พ.ศ.

-2553. ชลบุรี : โรงพยาบาลมหาวิทยาลัย

บูรพา.

กองสถิติสาธารณสุข. สถิติสาธารณสุข พ.ศ.

กรุงเทพ: กระทรวงสาธารณสุข; 2540.

Best, John W. Research in Education.

th ed.Englewood Cliffs, New Jersey :

Prentice – Hall Inc.; 1981: 173-175.

Cronbach, Lee J. Essentials of

Psychological Testing. New York:

Harper & Row; 1970.

พัชรา สินลอยมา. วิธีดำเนินการวิจัย.

ในเอกสารประกอบการสอนวิชา ระเบียบ

วิธีการวิจัยทางนิติศาสตร์. คณะวิทยาศาสตร์:

นครปฐม : มหาวิทยาลัยศิลปากร; 2551.

สุมาลี เอี่ยมสมัย, รัตนา เหมือนสิทธิ์, จรูญศรี

ทองมาก. รูปแบบการดูแลผู้สูงอายุของ

อาสาสมัครผู้ดูแลผู้สูงอายุในเขตเทศบาลตำบล

พุกร่าง อำเภอพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี.

วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข, 2555;

(3): 77-87.

ชุลีกร ด่านยุทธศิลป์ และสุรินธร กลัมพากร.

การดูแลผู้สูงอายุเจ็บป่วยเรื้อรังในชุมชน.

วารสารสาธารณสุขศาสตร์. 2554; ฉบับพิเศษ

พรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพล

อดุลยเดช : 99-108.

กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของ

มนุษย์. แผนผู้สูงอายุแห่งชาติฉบับที่ 2 (พ.ศ.

– 2564) ฉบับปรับปรุง ครั้งที่ 1 พ.ศ.

กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์เทพเพ็ญ

วานิสย์; 2552.