การบริหารการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุทางการแพทย์และสาธารณสุขในเขตเทศบาลตำบลเขาพระงาม อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี ประเทศไทย

Main Article Content

Sarayuth Sa-ngiam
Anuwat Wichaingoen

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับการให้บริการทางการแพทย์ และสาธารณสุข ระดับคุณภาพชีวิตและการให้บริการทางการแพทย์และสาธารณสุขที่มีต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลตำบลเขาพระงาม อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี รวมทั้งดำเนินการพัฒนาและวิเคราะห์ผลลัพธ์โครงการบ้านต้นแบบผู้ป่วยเรื้อรัง และผู้สูงอายุ และโครงการศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุแบบครบวงจร กลุ่มตัวอย่าง   เชิงปริมาณ ได้แก่ ผู้สูงอายุ จำนวน 355 คน กลุ่มตัวอย่างเชิงคุณภาพ ได้แก่ ผู้สูงอายุ จำนวน 20 คน และผู้มีหน้าที่รับผิดชอบหรือเกี่ยวข้องโดยตรง จำนวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม  แบบสัมภาษณ์ และการสนทนากลุ่ม สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และการวิเคราะห์ถดถอยพหุ ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพจะนำมาเสริมข้อมูลเชิงปริมาณ และเพื่อวิเคราะห์ปัญหา ค้นหาวิธีแก้ไขปัญหา และคิดค้นโครงการเพื่อผู้สูงอายุต่อไป


ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้


  1. อิทธิพลของปัจจัยการให้บริการทางการแพทย์และสาธารณสุข 4 ด้าน ได้แก่ ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก ด้านกระบวนการขั้นตอนการให้บริการ ด้านเจ้าหน้าที่บุคลากร ผู้ให้บริการ และด้านช่องทางการให้บริการสูงขึ้นทำให้คุณภาพชีวิตผู้สูงอายุสูงขึ้น

  2. การดำเนินโครงการบ้านต้นแบบสุขภาวะผู้ป่วยเรื้อรัง และผู้สูงอายุ สามารถสร้างเครือข่ายการดูแลผู้ป่วยติดบ้าน ติดเตียง ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ผู้ป่วยได้รับการดูแลสุขภาพที่บ้านเสมือนอยู่โรงพยาบาล  และสามารถให้บริการช่วยเหลืออัตโนมัติผ่านทางโทรศัพท์แก่ผู้ป่วยได้ครบทุกหลังคาเรือน

  3. การดำเนินโครงการศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุแบบครบวงจรก่อให้เกิดผลลัพธ์ คือ โรงเรียนปัจฉิมวัยวิทยา ห้องนิทรรศการ และห้องกิจกรรมอิสระสำหรับผู้สูงอายุ

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ (Original Articles)

References

1. เฉลียว บุรีภักดี. สัมมนาการวิจัยยุทธศาสตร์การพัฒนาในรูปแบบต่าง ๆ. เพชรบุรี : มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี. 2552.
2. เทพศักดิ์ บุญยรัตพันธุ์. One Stop service. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http//www.dramanage.com/index.php? lay = show & ac = artice&id = 538643951. (วันที่ค้นข้อมูล 15 กุมภาพันธ์ 2560).
3. ชูวงศ์ ฉายะบุตร. การปกครองท้องถิ่น. กรุงเทพฯ : ส่วนท้องถิ่น. 2539.
4. Orley and Kuyken W. Quality of life assessment : International perspectives. New York :Springer – verleg. 1995.
5. กุหลาบ รัตนสัจธรรม และคณะ. การพัฒนารูปแบบที่เหมาะสมในวิธีดำเนินงานวางแผนพัฒนาคุณภาพชีวิตตามเกณฑ์ความจำเป็นพื้นฐานในระดับหมู่บ้าน. กรุงเทพฯ : กรมสุขภาพจิต. 2535.
6. เสรี พงค์พิศ. ชุมชนเรียนรู้อยู่เย็นเป็นสุข. กรุงเทพฯ : พลังปัญญา. 2548.
7. ESCAP. Guideline On Methodological Approaches to The Conduct of a Regional Survey of the Quality of Life as an Aspects of Human Resources Development. New York : ESCAP. 1990.
8. พิชิต พิทักษ์เทพสมบัติ และคณะ. ความสุขของคนไทยในเขตชนบท. กรุงเทพฯ : สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. 2553.
9. ป๋วย อึ๊งภากรณ์. ปฏิทินแห่งความหลังจากครรภ์มารดาถึงเชิงตะกอนในศาสนธรรมกับกาลเวลา. กรุงเทพฯ : มูลนิธีโกมลคีมทอง. 2530.
10. พระเทพเวที (ประยุทธ์ ปยุตโต). คุณภาพชีวิตตามนัยแห่งพุทธธรรม. ในสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. 2553.
11. สรายุทธ เสงี่ยม. เทศบาลตำบลเขาพระงาม. เอกสารประกอบการให้ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับรางวัล UNPSA.
ลพบุรี: 2559.
12. สรายุทธ เสงี่ยม. กรมการพัฒนาชุมชน. การประเมินความสัมฤทธิ์ผลของโครงการพัฒนาชนบท: งานพัฒนาเศรษฐกิจชนบท. กรุงเทพฯ: 2552.
13. สุพรรณี ไชยอำพร และสนิท สมัครการ. การวิเคราะห์ทางสังคมเพื่อการพัฒนา. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. 2535.
14. วรเดช จันทศร. การบริหารเพื่อการพัฒนากระทรวงสาธารณสุข. กรุงเทพฯ : มูลนิธิสถาบันเพื่อการพัฒนาประเทศไทย. 2532.
15. Blumel CM. Foreiqn Aid. Donor Coordination (kenya). Ph.D. Dissertation University of Maryland. 2001.