รูปแบบการจัดการสิ่งแวดล้อมโดยผู้สูงอายุในชุมชนชนบท

Main Article Content

Yonlada Pongsupa

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัญหาสิ่งแวดล้อมในชุมชนชนบทที่มีผลกระทบต่อผู้สูงอายุ เพื่อเสนอรูปแบบการจัดการสิ่งแวดล้อมโดยผู้สูงอายุในชุมชนชนบท และเพื่อทดลองใช้รูปแบบการจัดการสิ่งแวดล้อมโดยผู้สูงอายุในชุมชนชนบท มีกลุ่มเป้าหมายและผู้ให้ข้อมูลหลักที่เกี่ยวข้องโดยการคัดเลือกชุมชนที่ใช้เป็นกรณีศึกษาด้วยกระบวนการการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research, PAR) ให้เกิดเป็นชุมชนต้นแบบ ประกอบไปด้วยพื้นที่การสำรวจทั้งหมด 4 ภาค ได้แก่ 1) ภาคกลางและภาคตะวันออก คือ จังหวัดสุพรรณบุรี และอ่างทอง 2) ภาคเหนือ คือ จังหวัดตาก และเชียงใหม่ 3) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ คือ จังหวัดชัยภูมิ และขอนแก่น และ 4) ภาคใต้ คือ จังหวัดสงขลา และพัทลุง รวมทั้งองค์การบริหารส่วนตำบล เพื่อรวบรวมข้อมูลด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมและความเหมาะสมของการบริหารจัดการด้านสิ่งแวดล้อมสำหรับผู้สูงอายุในพื้นที่ชนบท


ผลการศึกษาพบว่า แต่ละพื้นที่ได้กำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านสิ่งแวดล้อมไว้อย่างชัดเจน รวมทั้งการดำเนินโครงการและกิจกรรมด้านการดูแลสิ่งแวดล้อมและพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในชุมชน เช่น โครงการจัดตั้งธนาคารขยะ โครงการรณรงค์การจัดการขยะชุมชนอย่างมีส่วนร่วม เป็นต้น ซึ่งปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรมผู้สูงอายุนั้น เกิดจากความร่วมมือ ความสามัคคีในทุกภาคส่วน รวมทั้งการสร้างภาคีเครือข่ายให้เกิดความเข้มแข็งในการดำเนินกิจกรรม การจัดทำรูปแบบการจัดการสิ่งแวดล้อมโดยผู้สูงอายุในชุมชนชนบทมี 4 ด้าน ได้แก่ การจัดการพลังงานในครัวเรือน การจัดการน้ำในครัวเรือน การจัดการขยะในครัวเรือน และภูมิปัญญาชาวบ้านกับเกษตรอินทรีย์


 

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ (Original Articles)

References

gอกสารอ้างอิง

ครรชิต พุทธโกษา. 2554. คู่มือการพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้ฉบับสมบูรณ์. รายงานวิจัย สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.

ชุติเดช เจียนดอน และคณะ. คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในชนบทอำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา. วารสารสาธารณสุขศาสตร์. 41(3): 229 - 239.

ช่อเพชร พานระลึก. 2557. แนวทางการปรับปรุงและจัดทำต้นแบบที่อยู่อาศัยที่เหมาะสมกับงบประมาณ สำหรับคนพิการ และผู้สูงอายุกรณีศึกษา เทศบาลนครพิษณุโลก. วารสาร วิชาการศิลปะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. 5(2): 103 – 118.

ไตรรัตน์ จารุทัศน์ และคณะ. 2552. การออกแบบชุมชนน่าอยู่ผู้สูงวัย สำหรับผู้สูงอายุในชนบท. รายงานวิจัย. สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.).

ปาริชาติ วลัยเสถียร. 2546. กระบวนการและเทคนิคการทำงานของนักพัฒนา. โครงการเสริมสร้างการเรียนรู้เพื่อชุมชน

เป็นสุข (สรส.). พิมพ์ครั้งที่ 2 กรุงเทพฯ

เมธี พิริยการนนท์. 2556. การศึกษาเพื่อจัดทำคู่มือกระบวนการจัดสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมและปลอดภัยสำหรับผู้สูงอายุ. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 263 – 271.

สกัลย์ สุมนานุสรณ. 2557. ศึกษาความต้องการรูปแบบที่พักอาศัยและสิ่งแวดล้อมทางกายภาพบริเวณรอบที่พักอาศัยสำหรับกลุ่มผู้สูงอายุ. วารสารธุรกิจปริทัศน์. 6(2):

– 89.

สุดนิรันดร์ เพชรัตน์ และคณะ. 2557. การจัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพเพื่ออำนวยความสะดวกสำหรับผู้สูงอายุ. วารสารวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. 9(2): 70 – 85.

สุพัตรา ศรีวณิชชากร และคณะ. การดูแลผู้สูงอายุแบบบูรณาการในชุมชน. รายงานประกอบการจัดเวทีเสวนา ร่วมพัฒนาระบบสุขภาพชุมชน ครั้งที่ 8. สำนักงานวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพชุมชน (สพช.) สถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียน มหาวิทยาลัยมหิดล.

สัมฤทธิ์ ศรีธำรงสวัสดิ์. 2553. รายงานการสังเคราะห์ระบบการดูแลผู้สูงอายุนระยะยาวสำหรับประเทศไทย. รายงานวิจัย. มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย

(มส.ผส.).

สํานักงานพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. 2550. วิถีเมืองและชนบทกับความอยู่เย็นเป็นสุข. เอกสารประกอบการประชุมประจำปี 2550. สํานักงานพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ