การส่งบทความ

เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน เพื่อส่งบทความ

รายการตรวจสอบก่อนส่งบทความ

ในขั้นตอนการส่งบทความ ผู้แต่งต้องตรวจสอบและปฏิบัติตามข้อกำหนดรายการตรวจสอบการส่งทุกข้อ ดังต่อไปนี้ และบทความอาจถูกส่งคืนให้กับผู้แต่งกรณีที่ไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดทั้งหมด
  • The submission has not been previously published, nor is it before another journal for consideration (or an explanation has been provided in Comments to the Editor).
  • Where available, URLs for the references have been provided.
  • The text is single-spaced; uses a 12-point font; employs italics, rather than underlining (except with URL addresses); and all illustrations, figures, and tables are placed within the text at the appropriate points, rather than at the end.
  • The text adheres to the stylistic and bibliographic requirements outlined in the Author Guidelines.

คำแนะนำผู้แต่ง

สรรพสิทธิเวชสาร  เป็นวารสารวิชาการทางการแพทย์และสาธารณสุขของโรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์  จัดทำขึ้นเพื่อเผยแพร่และเปิดโอกาสให้นำเสนอผลงานวิชาการและงานวิจัย  รายงานผู้ป่วย  บทความที่น่าสนใจอันเป็นวิทยาการและองค์ความรู้ใหม่  รวมถึงข้อเสนอแนะและแนวความคิดใหม่  ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อวงการแพทย์ พยาบาล และสาธารณสุข  ตลอดจนผู้สนใจทั่วไป  โดยตีพิมพ์บทความประเภทต่างๆ ได้แก่  นิพนธ์ต้นฉบับ (original article)  บทความปฏิทัศน์/ฟื้นฟูวิชาการ (review article/refresher article)  รายงานผู้ป่วย (case report)  บทความพิเศษ (special article)  และจดหมายถึงบรรณาธิการ บทวิเคราะห์ หรือบทบรรณาธิการ (letter to editor/ comment/ editorial)

 

ความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์หรือคณะผู้นิพนธ์

- ผู้นิพนธ์หรือคณะผู้นิพนธ์ต้องรับรองว่า  บทความที่ท่านส่งมาเป็นผลงานของท่านเอง  และยังไม่เคยส่งหรือกำลังส่งไปตีพิมพ์ในวารสารอื่น  ถ้าผลงานนั้นได้เคยนำเสนอในที่ประชุมวิชาการใดมาก่อน  ให้ระบุในบทความว่าท่านได้นำเสนอผลงานนั้นในที่ประชุมแห่งใดบ้าง

- ผู้นิพนธ์หรือคณะผู้นิพนธ์ต้องรับรองว่า  ถ้าบทความของท่านได้รับการยอมรับจากกองบรรณาธิการแล้วนั้น  บทความดังกล่าวจะตีพิมพ์โดย "สรรพสิทธิเวชสาร" เพียงแห่งเดียวเท่านั้น

- ในกรณีที่ได้รับทุนวิจัย  ผู้นิพนธ์หรือคณะผู้นิพนธ์ต้องระบุแหล่งเงินทุนวิจัยอย่างชัดเจน  โดยให้ระบุไว้ในตอนท้ายของบทความ

- รายชื่อของคณะผู้นิพนธ์  ต้องเป็นไปตามความเป็นจริง  ผู้ที่มีชื่อต้องเป็นผู้ที่ได้อุทิศตัวเองแก่รายงานหรือบทความนั้นอย่างแท้จริงและทราบรายละเอียดในบทความนั้นทุกประการ  ผู้ไม่เกี่ยวข้อง เช่น ผู้บังคับบัญชา ไม่ควรระบุในรายชื่อของคณะผู้นิพนธ์

- บทความประเภท นิพนธ์ต้นฉบับและรายงานผู้ป่วย ผู้นิพนธ์ต้องแนบหนังสือรับรองการพิจารณาจริยธรรมการวิจัยจากคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคน (Ethic committee)

- ถ้ามีความไม่ถูกต้องในเนื้อหาของบทความผู้นิพนธ์หรือคณะผู้นิพนธ์ของบทความนั้นต้องเป็นผู้รับผิดชอบ

- ผู้นิพนธ์หรือคณะผู้นิพนธ์สามารถเสนอชื่อผู้เหมาะสมที่จะอ่านทบทวนบทความของท่าน 2 คน  โดยระบุรายชื่อและที่อยู่ในการติดต่อไว้ในหน้าแรก

 

การเตรียมต้นฉบับ

- ต้นฉบับที่ไม่สมบูรณ์ หรือไม่ถูกต้อง หรือไม่เป็นไปตามข้อกำหนดของสรรพสิทธิเวชสารจะถูกส่งคืนเจ้าของบทความเพื่อแก้ไขก่อนส่งอ่านทบทวนบทความ (review) ต่อไป  ดังนั้นผู้นิพนธ์หรือคณะผู้นิพนธ์ควรเตรียมบทความและตรวจสอบว่าบทความถูกต้องตามข้อกำหนดของวารสาร  ทั้งนี้เพื่อไม่ให้เกิดความล่าช้าในการตีพิมพ์ผลงานทางวิชาการของท่าน

- ให้ส่งไฟล์ต้นฉบับที่จะลงตีพิมพ์ พร้อมภาพประกอบ รูปภาพ กราฟ และตาราง ในระบบ Online submission ของวารสาร ตามลิ้งค์ https://he02.tci-thaijo.org/index.php/sanpasit_medjournal/about/submissions  โดยโปรแกรมที่ใช้พิมพ์บทความ (manuscript) ต้องเป็น Microsoft Word for Window ใช้ตัวอักษร TH SarabunPSK ขนาด 16  หรือ กรณีบทความภาษาอังกฤษอาจใช้ตัวอักษร Arial ขนาด 11 ก็ได้

- ให้พิมพ์และจัดรูปแบบหน้าลงในกระดาษหน้าเดียว ขนาด 8 1/2 x 11 นิ้ว หรือขนาดเอ 4  จัดหน้าตามปกติ หรือให้มีระยะห่างจากขอบกระดาษ 1 นิ้ว และให้พิมพ์บทความโดยเว้นบรรทัดเป็น 2 ช่องบรรทัด (double space)  

- ตัวเลขที่ใช้ให้ใช้เป็นตัวเลขอารบิกทั้งหมด  หน่วยที่ใช้ ควรใช้หน่วย System International (SI) หรือควบคู่กับหน่วย SI เช่น ฮีโมโกลบิน 12 กรัมต่อเดซิลิตร (120 กรัมต่อลิตร)  และในกรณีที่มีความจำเป็นก็อนุโลมให้ใช้หน่วยอื่นได้

- บทความที่จะนำลงตีพิมพ์ต้องเขียนในรูปแบบบทความวิชาการ (academic writing style) โดยใช้ภาษาที่ง่าย กะทัดรัด ชัดเจน ไม่เยิ่นเย้อและวกวน  สามารถส่งบทความทั้งในภาษาไทยและภาษาอังกฤษ  โดยการใช้ภาษาไทยให้ยึดหลักการเขียนทับศัพท์และศัพท์บัญญัติตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน  ยกเว้นคำที่แปลไม่ได้หรือแปลแล้วทำให้ใจความไม่ชัดเจน  และควรใช้ปี พ.ศ. ให้มากที่สุด

- คำย่อ ให้ใช้เฉพาะที่เป็นสากลเท่านั้น  และต้องบอกคำเต็มไว้ในครั้งแรกก่อน

- ชื่อยาหรือสารเคมีให้ใช้ generic name เท่านั้น  ทั้งนี้อาจระบุชื่อทางการค้าไว้ในวงเล็บต่อท้ายในครั้งแรกได้ในกรณีที่อาจส่งผลต่อความน่าเชื่อถือของการศึกษา

- *** กรณีมีข้อสงสัยสามารถสอบถามได้ที่อีเมล์ sanpasitmedjournal@gmail.com ***

 

-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ตัวอย่างการเตรียมบทความเพื่อส่งพิจารณาตีพิมพ์

     ตัวอย่างบทความ Manuscript เพื่อส่งพิจารณาตีพิมพ์

ตัวอย่างการเตรียมบทความฉบับแก้ไขพร้อมการตอบข้อเสนอแนะผู้ทรงคุณวุฒิ

     ตัวอย่างบทความแก้ไข revision

     ตัวอย่างหนังสือตอบกลับในการส่งบทความฉบับแก้ไข

-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

 

ข้อแนะนำการเขียนบทความประเภทต่างๆ

1. หน้าแรก หรือ title page

เขียนเป็นภาษาไทยและอังกฤษ ประกอบด้วย  1) ชื่อเรื่อง  2) ชื่อ สกุล ของผู้นิพนธ์และสถานที่ทำงาน  3) ระบุชื่อและการติดต่อของผู้รับผิดชอบ  4) ชื่อเรื่องอย่างย่อหรือ running title (ความยาวไม่เกิน 40 ตัวอักษร)  5) รายชื่อผู้อ่านทบทวนบทความ (ถ้ามี)

2. บทคัดย่อ หรือ abstract

ต้องมีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษสำหรับนิพนธ์ต้นฉบับ  การเขียนบทคัดย่อหรือ abstract  ต้องเขียนเรียงตามหัวข้อต่อไปนี้  1) หลักการและเหตุผล  2) วัสดุและวิธีการ  3) ผลการศึกษา  4) สรุป  [กรณีบทคัดย่อภาษาอังกฤษ 1) Background  2) Materials and Methods  3) Results  4) Conclusions]

เนื่องจากบทคัดย่อเป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งที่ผู้ทรงคุณวุฒิที่อ่านพิจารณาว่าจะรับบทความวิจัยดังกล่าวหรือไม่  จึงควรเขียนให้ชัดเจนที่สุด  โดยให้มีข้อมูลเพียงพอที่สะท้อนถึงคุณภาพของกระบวนการวิจัยและเนื้อหาสำคัญที่ทำให้สามารถนำไปสู่ข้อสรุปได้  โดยเฉพาะในส่วนผลการศึกษา  ต้องแสดงผลการศึกษาที่ได้ที่สำคัญ  และหากเป็นไปได้ควรแสดงค่าสถิติที่สำคัญ เช่น  ค่า 95% confidence interval หรือค่า p-value  ไม่เขียนเพียงว่า “จะแสดงผลในตัวบทความ” หรือ “จะนำเสนอต่อไป”

ในกรณีที่จำเป็นหรือเพื่อความเหมาะสมกับเนื้อหาบทความ  อาจใช้รูปแบบการเขียนแบบความเรียงต่อเนื่องย่อหน้าเดียวได้  แต่ต้องมีเนื้อหาครบถ้วนตามหัวข้อดังกล่าว  ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของกองบรรณาธิการ

3. คำสำคัญ (Keywords)

เขียนภาษาไทยและภาษาอังกฤษ  สำหรับจัดทำดัชนี  ระบุไว้ใต้บทคัดย่อ/abstract  จำนวนไม่เกิน 5 คำ

4. นิพนธ์ต้นฉบับ

ในส่วนเนื้อหา ให้ลำดับเนื้อหาดังต่อไปนี้  1) บทนำ  2) วัสดุและวิธีการ  3) ผลการศึกษา  4) วิจารณ์  5) เอกสารอ้างอิง     [กรณีบทความภาษาอังกฤษ 1) Introduction 2) Materials and Methods  3) Results  4) Discussion  5) Conclusions]

โดยกำหนดให้ความยาวของบทคัดย่อไม่เกิน 300 คำ  ความยาวของ abstract ไม่เกิน 250 คำ  ความยาวของเนื้อหาตั้งแต่บทนำจนถึงสรุป (ไม่รวมเอกสารอ้างอิง รูปภาพและตาราง) ไม่เกิน 5,000 คำ สำหรับภาษาไทย และไม่เกิน 4,000 คำ สำหรับภาษาอังกฤษ  โดยเอกสารอ้างอิงไม่เกิน 40 ข้อ  กำหนดให้มีตารางและรูปภาพรวมกันได้ไม่เกิน 6 รูป

5. รายงานผู้ป่วย

ในส่วนเนื้อหา ให้เรียงลำดับเนื้อหาดังต่อไปนี้   1) บทนำ  2) รายงานผู้ป่วย  3) วิจารณ์  4) สรุป  5) เอกสารอ้างอิง     [กรณีบทความภาษาอังกฤษ 1) Introduction 2) Detail of case report  3) Discussion  4) Conclusions  5) References]

โดยกำหนดให้ความยาวของบทคัดย่อไม่เกิน 100 คำ  ความยาวของ abstract ไม่เกิน 100 คำ  ความยาวของเนื้อหาไม่เกิน 1,000 คำ  เอกสารอ้างอิงจำนวนไม่เกิน 15 ข้อ  ตารางและรูปภาพรวมกันไม่เกิน 2 รูป

6. บทความปริทัศน์ และ บทความพิเศษ

ให้อนุโลมตามผู้เขียน  แต่ให้มีขอบข่ายรูปแบบการเขียนคล้ายกับบทความนิพนธ์ต้นฉบับ  โดยประกอบด้วยบทคัดย่อ บทนำ เนื้อเรื่อง และสรุป  กำหนดให้มีความยาวของบทคัดย่อ ไม่เกิน 300 คำ  ความยาวของ abstract ไม่เกิน 250 คำ  ความยาวของเนื้อหาตั้งแต่บทนำจนถึงสรุป ไม่เกิน 5,000 คำ  สำหรับทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ  จำนวนเอกสารอ้างอิงไม่เกิน 40 ข้อ  ตารางและรูปภาพรวมกันไม่เกิน 6 รูป

7. จดหมายถึงบรรณาธิการ หรือ บทวิเคราะห์ (letter to editor/ comment)

จดหมายถึงบรรณาธิการ หรือบทวิเคราะห์ เป็นบทความที่แสดงความเห็น หรือบทวิเคราะห์ที่น่าสนใจ อาจเกี่ยวข้องกับบทความที่ตีพิมพ์ในสรรพสิทธิเวชสาร หรือเป็นหัวข้อที่น่าสนใจอย่างยิ่งในขณะนั้น โดยเป็นบทความรับเชิญโดยกองบรรณาธิการ (Solicited comment) หรือส่งมาเองโดยผู้นิพนพ์ (Unsolicited comment) ก็ได้  โดยมีความยาวไม่เกิน 1,000 คำ สามารถมีตารางหรือรูปภาพไม่เกิน 1 ตารางหรือรูปภาพ และมีจำนวนเอกสารอ้างอิงไม่เกิน 10 ข้อ  

8. ตารางและแผนภูมิ

ระบุตำแหน่งของตาราง/แผนภูมิไว้ในเนื้อหาเรียงตามลำดับ  ส่วนตัวตาราง/แผนภูมิพิมพ์แยกไว้ด้านหลังบทความและเอกสารอ้างอิง  พร้อมเขียนเลขที่และคำอธิบาย

9. ภาพประกอบหรือรูปภาพ

เป็นได้ทั้งภาพถ่ายขาว-ดำ และภาพสี โดยระบุตำแหน่งของภาพประกอบ/รูปภาพไว้ในเนื้อหาเรียงตามลำดับ  ให้จัดวางไว้ด้านหลังบทความ เอกสารอ้างอิง และตาราง  เขียนหมายเลขของภาพกำกับไว้  ส่วนคำบรรยายภาพให้พิมพ์ไว้ใต้ภาพ ทางวารสารไม่คิดค่าใช้จ่ายในกรณีต้องการตีพิมพ์ภาพสี

10. การอ้างอิงเอกสาร

ใช้การอ้างอิงตามระบบแวนคูเวอร์แบบตัวเลข (Vancouver, number style)  โดยใส่หมายเลขหลังข้อความหรือหลังชื่อบุคคลที่อ้างถึงในบทความเรียงตามลำดับ  และพิมพ์ยกระดับเหนือข้อความที่อ้าง  การย่อชื่อวารสารใช้ตาม Index Medicus  สำหรับเอกสารอ้างอิงภาษาไทยให้เขียนแบบเดียวกัน  โดยชื่อผู้เขียนใช้ชื่อเต็ม ใส่ชื่อตัวก่อนชื่อสกุล  ชื่อวารสารใช้ชื่อเต็ม  และใช้ปี พ.ศ. 

ตัวอย่างการเขียนเอกสารอ้างอิง

10.1 บทความในวารสาร  ใส่ชื่อผู้ร่วมงานทุกคน  ถ้ามากกว่า 3 คน ให้ใส่ชื่อ 3 คนแรก ตามด้วย “และคณะ/et al.” เช่น

Lewy H, Rotstein A, Kahana E et al. Juvenile multiple sclerosis similar to type I diabetes mellitus has a seasonality of month of birth which differs from that in the general population. J Pediatr Endocrinol Metab 2008;21:473-7.

10.2 บทคัดย่อ/บทความใน supplement

Lofwall MR, Strain EC, Brooner RK et al. Characteristics of older methadone maintenance (MM) patients [abstract]. Drug Alcohol Depend 2002;66(Suppl 1):S105.

10.3 หนังสือหรือตำรา

Fealy S, Sperliny JW, Warren RF et al. Shoulder anthroplasty: complex issues in the primary and revision setting. New York: Thieme; 2008.

10.4 บทหนึ่งในหนังสือหรือตำรา

Waltzman SB, Shapiro WH. Cochlear implants in adults. In: Valente M, Hosfond-Dunn H, Roeser RJ, editors. Audiology treatment. 2nd ed. New York: Thieme; 2008; p 361-9.

10.5 เอกสารประกอบการประชุม (proceeding)

Christensen S, Oppacher F. An analysis of Koza's computational effort statistic for genetic programming. In: Foster JA, Lutton E, Miller J et al. editors. Genetic programming. Proceedings of the 5th European Conference on Genetic Programming; 2002 Apr 3-5; Kinsdale, Ireland. Berlin: Springer; 2002; p 182-91.

10.6 วิทยานิพนธ์

แสงหล้า พลนอก. ผลของการสร้างจินตภาพต่อความเจ็บปวดในผู้ป่วยแผลไหม้. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลอายุรศาสตร์และฉุกเฉิน. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2543

10.7 เอกสารอิเล็กทรอนิกส์

- บทความวารสารทางอินเทอร์เน็ต (journal article on the Internet)

Morse SS. Factors in the emergence of infectious disease. Emerg Infect Dis [serial online] 1995 Jan-Mar;1(1):[24 screens]. Available from: http://www.cdc.gov/ncidoc/EDI/edi.htm. Accessed August 8, 1998.

- หนังสือทางอินเทอร์เน็ต (monograph on the Internet)

Field MJ, Behrman RE. Where children die: improving palliative and end-of-life case for children and their families [monograph on the Internet]. Washington: National Academy Press; 2003 [cited 2008 Sep 26]. Available from: http://nap.edu/openbook.php?record_ id=10390&page=1

- โฮมเพจ / เว็บไซต์ (momepage / web site)

Cancer-Pain.org [homepage on the Internet]. New York: Association of Cancer Online Resources, Inc.; c2000-01 [cited 2008 Oct 3]. Available from: http://www.cancer-pain.org/

 

-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ตัวอย่างการเตรียมบทความเพื่อส่งพิจารณาตีพิมพ์

     ตัวอย่างบทความ Manuscript เพื่อส่งพิจารณาตีพิมพ์

ตัวอย่างการเตรียมบทความฉบับแก้ไขพร้อมการตอบข้อเสนอแนะผู้ทรงคุณวุฒิ

     ตัวอย่างบทความแก้ไข revision

     ตัวอย่างหนังสือตอบกลับในการส่งบทความฉบับแก้ไข

-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

บทความปฏิทัศน์

บทความปฏิทัศน์ วิเคราะห์ วิจารณ์ เนื้อหาทางวิชาการ

นิพนธ์ต้นฉบับ

นิพนธ์ต้นฉบับ

นโยบายส่วนบุคคล

วัตถุประสงค์ของวารสาร