บทความย้อนหลัง

  • พฤษภาคม - สิงหาคม
    ปีที่ 44 ฉบับที่ 2 (2566)

              สวัสดีครับ พบกันอีกครั้งในวารสารฉบับที่ 2 ปี 2566 สำหรับเนื้อหาในฉบับนี้ ประกอบด้วยงานวิจัย 4 เรื่องด้วยกัน ได้แก่ การศึกษาอัตราการรอดชีวิตและปัจจัยที่สัมพันธ์กับการรอดชีวิตของผู้ป่วยมะเร็งตับที่รักษาด้วยยาเคมีสูตร FOlFOX งานวิจัยเรื่องที่ 2 เป็นการศึกษาประสิทธิภาพของการตรวจพบเซลล์วิทยาด้วยเข็มขนาดเล็ก (FNA) ในการพยากรณ์มะเร็งจากก้อนที่ต่อมไทรอยด์ โรงพยาบาลวารินชำราบ เรื่องที่ 3 เป็นผลของการให้ข้อมูลย้อนกลับผลการตรวจครรภ์ด้วยด้วยคลื่นเสียงความถี่สูงอย่างมีส่วนร่วมต่อคะแนนความผูกพันของมารดาและทารกในครรภ์ในหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นในโรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ ส่วนเรื่องที่ 4 เป็นผลการรักษาและปัจจัยที่ใช้พยากรณ์โรคในผู้ป่วยมะเร็งปอดที่มาด้วย superior vena cava syndrome

              หวังว่าเนื้อหาในฉบับนี้จะเกิดประโยชน์กับท่านผู้อ่านไม่มากก็น้อย ท้ายนี้ก็ดูแลสุขภาพกันด้วยนะครับ ระวังโรคร้ายต่างๆ ที่มากับฤดูฝนครับ พบกันใหม่ในฉบับหน้าครับ

              นพ.อาคม อารยวิชานนท์ บรรณาธิการ

  • มกราคม - เมษายน
    ปีที่ 44 ฉบับที่ 1 (2566)

              สวัสดีครับ พบกันในฉบับแรกของปี 2566 เนื้อหาในฉบับนี้เป็นงานวิจัย 3 เรื่องที่น่า
    สนใจ เรื่องแรกเป็นการศึกษาเปรียบเทียบปริมาณการเสียเลือดหลังคลอดระหว่างการประเมิน
    ด้วยสายตาและการใช้ถุงตวงเลือดในสตรีตั้งครรภ์ที่คลอดทางช่องคลอดในโรงพยาบาลสรรพ
    สิทธิประสงค์: การศึกษาทดลองแบบสุ่มปกปิดสองทางมีกลุ่มควบคุม เรื่องที่สองเป็นการเปรียบ
    เทียบผลการผ่าตัดมดลูกระหว่างการผ่าตัดส่องกล้องทางหน้าท้องและการผ่าตัดส่องกล้องทาง
    ช่องคลอดในโรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ เรื่องที่สามเป็นปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการ
    ให้วิตามินบี 1 ขนาดสูงทางหลอดเลือดดำในผู้ป่วยที่มีปัญหาสุราที่รับไว้รักษาในหอผู้ป่วยใน
    โรงพยาบาลศูนย์แห่งหนึ่ง
              หวังว่าผู้อ่านทุกท่านจะได้ประโยชน์และความรู้เพิ่มเติมบ้างไม่มากก็น้อย อย่าลืมดูแล
    สุขภาพกันด้วยในช่วงที่โควิดกลายเป็นโรคประจำถิ่นแล้ว พบกันใหม่ในฉบับหน้าครับ
    ปีที่ 44 ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม-เมษายน 2566 Vol.44 No.1 January-April 2023
                                       นพ.อาคม อารยวิชานนท์
                                               บรรณาธิการ

  • กันยายน - ธันวาคม
    ปีที่ 43 ฉบับที่ 3 (2565)

              สวัสดีครับ พบกันอีกครั้งในฉบับสุดท้ายของปี 2565 เนื้อหาในฉบับนี้เป็นเนื้อหาเกี่ยวกับโรคโควิด 19 ประกอบด้วย เรื่อง การพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพในการป้องกันโรคโควิด 19 ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จังหวัดบึงกาฬ เรื่องที่ 2 เป็นเรื่องความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด 19 ของนักเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดนครนายก ส่วนเรื่องสุดท้ายเป็น เรื่องลักษณะทางคลินิกและผลลัพธ์ของผู้ป่วยโควิด 19 ที่มีภาวะอ้วน ที่มารักษาในโรงพยาบาลเสนา

              เนื้อหาน่าสนใจทั้ง 3 เรื่อง หวังว่าจะเกิดประโยชน์กับผู้อ่านทุกท่านไม่มากก็น้อย และทั้งนี้โรคโควิด 19 ได้ปรับเปลี่ยนเป็นโรคประจำถิ่นแล้ว ก็ขอให้ระมัดระวังป้องกันโรคกันอย่างต่อเนื่องครับ จะได้ปลอดภัยห่างไกลจากโรคโควิด 19 แล้วพบกันใหม่ในฉบับหน้าครับ

  • พฤษภาคม - สิงหาคม
    ปีที่ 43 ฉบับที่ 2 (2565)

              สวัสดีครับ พบกันในฉบับที่ 2 ปี พ.ศ. 2565 สำหรับเนื้อหาในวารสารฉบับนี้เป็นงานวิจัย 3  เรื่อง ได้แก่ การศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพในการวินิจฉัยโรคปอดอักเสบในผู้ป่วยเด็กจากภาพรังสีทรวงอกด้วยปัญญาประดิษฐ์ ในรูปแบบโครงข่ายประสาทเทียมแบบต่างๆ การศึกษาการดูแลเท้าของผู้ป่วยคลินิกเบาหวาน โรงพยาบาลวชิระภูเก็ต และการศึกษาทบทวนโรคไข้เลือดออก 5 ปีย้อนหลังในหอผู้ป่วยกุมารเวชกรรม โรงพยาบาลยโสธร

              งานวิจัยทั้ง 3 เรื่อง มีเนื้อหาที่น่าสนใจ และหวังว่าท่านผู้อ่านทุกท่านจะได้ความรู้เพิ่มเติมบ้างไม่มากก็น้อยครับ พบกันใหม่ในฉบับหน้าครับ

  • มกราคม - เมษายน
    ปีที่ 43 ฉบับที่ 1 (2565)

              สวัสดีปีใหม่ 2565 ครับ สำาหรับฉบับต้นปี 2565 นี้ มีเนื้อหาที่น่าสนใจหลายเรื่อง ซึ่งเป็นงานวิจัย 3 เรื่อง และบทความวิชาการ 1 เรื่อง สำาหรับเนื้อหาในเล่มนี้ ประกอบด้วย งานวิจัยเรื่องอุบัติการณ์ของภาวะแทรกซ้อนเฉียบพลันและกึ่งเฉียบพลันของผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน ชนิด ST segment ยกสูง ที่ได้รับการรักษาโรคหัวใจและหลอดเลือดผ่านสายสวนในโรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ โดย การศึกษาย้อนหลังเชิงพรรณนา 5 ปี งานวิจัยเรื่องที่ 2 เป็นเรื่องประสิทธิผลและความปลอดภัยของการนวดแบบราชสำนักในการฟื้นฟูผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบระยะกึ่งเฉียบพลัน ในหน่วยบริการสาธารณสุขภาครัฐ จังหวัดยโสธร งานวิจัยเรื่องที่ 3 เป็นผลการให้บริการกายภาพบำาบัดในคลินิกชะลอไตเสื่อมของหน่วยบริการปฐมภูมิ โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ ส่วนบทความวิชาการเป็นเนื้อหาที่น่าสนใจเกี่ยวกับการดูแลรักษาด้วยการรักษาโดยวิธีการที่ไม่ใช้ยา ในการป้องกันการเกิดโรคไมเกรน
              ท้ายนี้ หวังว่าเนื้อหาทางวิชาการนี้ จะเป็นประโยชน์แก่ทุกท่านที่อ่านไม่มากก็น้อย ดูแลสุขภาพกันด้วยในช่วงโควิดระบาดระลอกใหม่นี้ พบกันใหม่ในวารสารฉบับหน้าครับ

  • กันยายน - ธันวาคม
    ปีที่ 42 ฉบับที่ 3 (2564)

              สวัสดีครับ สำหรับฉบับปลายปี 2564 นี้ เป็นงานวิจัยของศัลยกรรมทางเดินปัสสาวะ และศัลยกรรมโรคกระดูกและข้อ ซึ่งมี 3 เรื่องด้วยกัน เนื้อหาประกอบด้วย การศึกษาย้อนหลังเปรียบเทียบความรุนแรงของภาวะเลือดออกภายหลังการผ่าตัดต่อมลูกหมากด้วยวิธีส่องกล้องระหว่างการดึงคอกระเพาะปัสสาวะผ่านสายสวนปัสสาวะโดยใช้ลูกโป่งน้ำสะอาดปริมาณ 30 และ 50 มิลลิลิตร งานวิจัย เรื่องที่ 2 เป็นการศึกษาเปรียบเทียบอัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อนและเสียชีวิตในผู้ป่วยกระดูกสะโพกหัก จากภาวะกระดูกพรุนที่ได้รับการผ่าตัดยึดตรึงกระดูกภายในระยะเวลา 48 ชั่วโมงกับหลัง 48 ชั่วโมง ในโรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ จังหวัดอุบลราชธานี ส่วนงานวิจัยเรื่องสุดท้ายเป็นเนื้อหาของผลการ รักษาภาวะกระดูกหักร่วมกับมีกระดูกสูญหายของกระดูก tibia ซึ่งทำการวิจัยที่โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ เช่นเดียวกัน
              หวังว่าผู้อ่านทุกท่านจะได้รับความรู้เพิ่มเติมจากงานวิจัยทั้ง 3 เรื่องไม่มากก็น้อย สามารถนำไปพัฒนาการดูแลรักษาผู้ป่วยอย่างต่อเนื่องได้ แล้วพบกันใหม่ในวารสารฉบับหน้าครับ 

     

  • พฤษภาคม - สิงหาคม
    ปีที่ 42 ฉบับที่ 2 (2564)

              สวัสดีครับ พบกันอีกครั้งในวารสารเล่ม 2 ปี 2564 ซึ่งเนื้อหาของเล่มนี้ เป็นงานวิจัยที่น่าสนใจ 3 เรื่อง ได้แก่ 1. การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างผลการตรวจทางภูมิคุ้มกันในน้ำเหลืองกับค่าความสมบูรณ์ของเม็ดเลือดในผู้ติดเชื้อเดงกีในโรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ 2. การศึกษาเปรียบเทียบปัจจัย และโรคทางคาร์ดิโอเมตาบอลิกในผู้ติดเชื้อและไม่ติดเชื้อเอชไอวีในโรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ จังหวัดอุบลราชธานี : การศึกษาภาคตัดขวางเชิงวิเคราะห์ แบบจับคู่ตามอายุ และเพศ และ 3. งานวิจัยเรื่องการศึกษาเปรียบเทียบลักษณะทางคลินิกของทารกคลอดก่อนกำหนดระยะท้ายกับทารกคลอดครบกำหนดในโรงพยาบาลหนองบัวลำภู          

              หวังว่างานวิจัยทั้ง 3 เรื่องจะก่อประโยชน์กับผู้อ่านไม่มากก็น้อย ดูแลรักษาสุขภาพกันด้วยครับในช่วงโรคระบาดโควิด 19 พบกันใหม่ในฉบับหน้า


  • มกราคม - เมษายน
    ปีที่ 42 ฉบับที่ 1 (2564)

              สวัสดีครับ สำหรับในฉบับแรกของปี 2564 นี้ มีงานตีพิมพ์ที่น่าสนใจ 3 เรื่อง ได้แก่ กรณีศึกษาภาวะการเชื่อมต่อระหว่างหลอดเลือดแดงกับท่อไตในผู้ป่วยหญิงตั้งครรภ์ กับงานวิจัย 2 เรื่อง คือ การศึกษาผลการเพาะเชื้อเทียบระหว่างน้ำปัสสาวะที่เก็บจากกระเพาะปัสสาวะก่อนผ่าตัดน้ำปัสสาวะที่เก็บจากกรวยไตและนิ่วในผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดนิ่วด้วยการเจาะรูผ่านผิวหนัง และงานวิจัยเรื่อง การเปรียบเทียบทางชีวกลศาสตร์ของโครงแบบ DCCS และ CFIX ของสกรูในการยึดคอของกระดูกต้นขาเทียมที่หัก

              ทางกองบรรณาธิการหวังว่าผู้อ่านทุกท่านจะได้ประโยชน์จากงานทั้ง 3 เรื่องไม่มากก็น้อย แล้วพบกันใหม่ในฉบับหน้าครับ


  • กันยายน - ธันวาคม
    ปีที่ 41 ฉบับที่ 3 (2563)

              สวัสดีครับ สำหรับเนื้อหาในฉบับนี้ ประกอบด้วย การให้คำปรึกษาครอบครัวและทักษะการแก้ไขปัญหา ซึ่งเป็นกรณีตัวอย่างผู้ป่วย และงานวิจัย 2 เรื่อง ได้แก่ การเปรียบเทียบผลการผ่าตัดไส้เลื่อนที่ขาหนีบระหว่างผู้ป่วยที่ผ่าตัดแบบวันเดียวกลับและผู้ป่วยที่ผ่าตัดแบบนัดนอนโรงพยาบาลในโรงพยาบาลมุกดาหาร และงานวิจัยทางศัลยกรรมกระดูก เรื่อง เทคนิคการใช้น้ำเย็น อัตราการไหลของน้ำ สว่านนำร่องขนาดเล็กเพื่อการลดอุณหภูมิที่เกิดขึ้นจากการเจาะกระดูกต้นขา ซึ่งทำการศึกษานำร่องจากการเจาะกระดูกต้นขาวัว

               หวังว่าเนื้อหาในวารสารฉบับนี้จะก่อประโยชน์ต่อผู้อ่านทุกท่านไม่มากก็น้อย แล้วพบกันใหม่ในฉบับ
    หน้าครับ

  • พฤษภาคม - สิงหาคม
    ปีที่ 41 ฉบับที่ 2 (2563)

              สวัสดีครับ พบกันอีกครั้งในฉบับที่ 2 ปี 2563 สำหรับเนื้อหาในฉบับนี้ มีบทความวิชาการที่น่าสนใจ 1 เรื่อง คือ การควบคุมผู้ป่วยด้วยวิธีการทางกายภาพในโรงพยาบาลทั่วไป แนวทางในการปฏิบัติ และข้อพิจารณาทางคลินิก และมีงานวิจัย 2 เรื่อง ได้แก่ ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับระดับความพึงพอใจ ต่อบริการสุขภาพในผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงที่รับการดูแลในคลินิกหมอครอบครัว อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี และการศึกษาปัจจัยเสี่ยงเพื่อพยากรณ์ผลการรักษาในแง่ภาวะทุพพล ภาพและการเสียชีวิตของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบเฉียบพลันหลังได้รับการรักษาโดยยาละลายลิ่มเลือดทางหลอดเลือดดำภายใน 90 วัน

              หวังว่าเนื้อหาภายในวารสารนี้จะเป็นประโยชน์แก่ผู้อ่านทุกท่านไม่มากก็น้อย พบกันใหม่ในฉบับหน้า

  • มกราคม - เมษายน
    ปีที่ 41 ฉบับที่ 1 (2563)

     

              สวัสดีครับ พบกันอีกครั้งในฉบับแรกของปี 2563 เนื้อหาของวารสารในฉบับนี้ ประกอบด้วยนิพนธ์ต้นฉบับ 2 เรื่อง และบทความวิชาการ 1 เรื่อง นิพนธ์ต้นฉบับ 2 เรื่อง ได้แก่ งานวิจัยการใช้estrogen cream ในผู้ป่วยที่มีภาวะช่องคลอดแห้ง  และการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างระดับเอนไซม์ ADA ในเยื่อหุ้มหัวใจกับการวินิจฉัยวัณโรคเยื่อหุ้มหัวใจในโรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ จังหวัดอุบลราชธานี  ส่วนบทความวิชาการนั้นเป็นเนื้อหาเกี่ยวกับสมาธิบำบัดทางการแพทย์


              หวังว่าเนื้อหาวิชาการนี้จะมีประโยชน์กับผู้อ่านทุกท่านไม่มากก็น้อย พบกันใหม่ในฉบับหน้าครับผู้อ่านทุกท่านคงได้ประโยชน์จากเนื้อหาของวารสารในเล่มนี้ไม่มากก็น้อย แล้วพบกันใหม่ในฉบับหน้าครับ

                                                                                                                                                  

  • มกราคม - ธันวาคม
    ปีที่ 40 ฉบับที่ 1-3 (2562)

              สวัสดีครับ สำหรับวารสารในปี 2562 นี้ มีเนื้อหาที่น่าสนใจเป็นงานวิจัย จำนวน 4 เรื่อง และ บทความวิชาการ 1 เรื่อง เนื้อหาของงานวิจัยในเล่มนี้ ได้แก่ การศึกษาความสัมพันธ์ของ ASPECT Score และปัจจัยเสี่ยงของภาวะทุพพลภาพที่ 90 วันในผู้ป่วยสมองขาดเลือดเฉียบพลันที่รักษาด้วยยาละลายลิ่มเลือด สถานการณ์การดึงท่อช่วยหายใจและท่อช่วยหายใจหลุดในโรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ การใช้บริการทางการแพทย์ของผู้ป่วยไม่ฉุกเฉินในช่วงนอกเวลาราชการที่โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ และปัจจัยทำนายการเสียชีวิตของผู้ป่วยโรคลูปัสในโรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ ส่วนบทความวิชาการ เป็นเนื้อหาที่น่าสนใจเกี่ยวกับการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ วิธีการวินิจฉัยและดูแลรักษาโรค

              ท้ายนี้หวังว่าผู้อ่านทุกท่านคงได้ประโยชน์จากเนื้อหาของวารสารในเล่มนี้ไม่มากก็น้อย แล้วพบกันใหม่ในฉบับหน้าครับ

  • พฤษภาคม - ธันวาคม
    ปีที่ 39 ฉบับที่ 2-3 (2561)

              สวัสดีครับ สำหรับเนื้อหาในเล่มปักษ์หลัง ปี 2561 นี้ ประกอบด้วยงานวิจัย 2 เรื่อง กับรายงาน ผู้ป่วย 2 ราย ซึ่งผลงานวิจัยเป็นเรื่อง ปัจจัยในการเกิดโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายซ้ำ และการประเมิน คุณภาพชุดตรวจคัดกรองไวรัสไข้หวัดใหญ่ ส่วนรายงานผู้ป่วยเป็นผู้ป่วยที่เป็นก้อนมะเร็งของเนื้อเยื่อไต ชนิดถุงน้ำ 1 ราย และอีก 1 รายเป็นโรคลมชักที่มีความยากลำบากในการวินิจฉัยและการรักษา

             หวังว่าท่านผู้อ่านทุกท่านจะได้รับประโยชน์จากเนื้อหาในฉบับนี้ไม่มากก็น้อย แล้วพบกันใหม่ เล่มหน้าครับ

  • มกราคม - เมษายน
    ปีที่ 39 ฉบับที่ 1 (2561)

             

             สวัสดีครับ สำหรับเนื้อหาในเล่มปักษ์หลัง ปี 2561 นี้ ประกอบด้วยงานวิจัย 2 เรื่อง กับรายงาน ผู้ป่วย 2 ราย ซึ่งผลงานวิจัยเป็นเรื่อง ปัจจัยในการเกิดโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายซ้ำ และการประเมิน คุณภาพชุดตรวจคัดกรองไวรัสไข้หวัดใหญ่ ส่วนรายงานผู้ป่วยเป็นผู้ป่วยที่เป็นก้อนมะเร็งของเนื้อเยื่อไต ชนิดถุงน้ำ 1 ราย และอีก 1 รายเป็นโรคลมชักที่มีความยากลำบากในการวินิจฉัยและการรักษา

             หวังว่าท่านผู้อ่านทุกท่านจะได้รับประโยชน์จากเนื้อหาในฉบับนี้ไม่มากก็น้อย แล้วพบกันใหม่ เล่มหน้าครับ

  • มกราคม - ธันวาคม
    ปีที่ 38 ฉบับที่ 1-3 (2560)

    บรรณาธิการแฉลง thai

  • มกราคม - ธันวาคม
    ปีที่ 37 ฉบับที่ 1-3 (2559)

              สำหรับสรรพสิทธิเวชสารฉบับรวมเล่ม ปี 2559 นี้ มีงานวิจัยต้นฉบับ 3 เรื่อง ได้แก่ 1) การศึกษา ลักษณะทางคลินิกและปัจจัยเสี่ยงของโรคหลอดเลือดดำาสมองอุดตันในโรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ จังหวัดอุบลราชธานี 2) ลักษณะทางคลินิกของผู้ป่วยในที่มีโรคทางจิตเวชร่วมกับโรคทางกายที่เข้ารับบริการใน โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ ระหว่างปี พ.ศ.2556-2558 และ 3) การศึกษาการปฏิบัติตาม CPR Guideline 2010 ของบุคลากรในห้องผู้ป่วยหนัก โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ อุบลราธานี นอกจากนั้นยังมีบทความวิชาการเรื่องการฟื้นฟูผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง และบทความพิเศษเรื่องการช่วยเหลือครอบครัวผู้เสียชีวิตสมองตายและบริจาคอวัยวะ ซึ่งคิดว่าน่าจะก่อประโยชน์แก่ผู้อ่านได้ไม่มากก็น้อย แล้วพบกันใหม่ในฉบับ หน้าครับ

  • กันยายน - ธันวาคม
    ปีที่ 36 ฉบับที่ 3 (2558)

              ผู้ป่วยจิตเวชเด็ก เป็นกลุ่มที่ต้องดูแลใส่ใจเป็นพิเศษ การบำบัดทางจิตนั้นมีหลายวิธี ทั้งนี้ แพทย์และบุคลากรทางการแพทย์อาจใช้หลายวิธีร่วมกันได้ บทความพิเศษในฉบับนี้ได้กล่าวถึงการบำบัดหลากหลายรูปแบบในผู้ป่วยจิตเวชเด็ก น่าจะก่อประโยชน์ในการบำบัดรักษาผู้ป่วยจิตเวชเด็กได้ตามควร ส่วนเนื้อหาที่น่าสนใจอีกเรื่องเป็นกรณีศึกษาผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจตายร่วมกับภาวะเลือดออกในสมอง ซึ่งทำให้การดูแลผู้ป่วยมีความยุ่งยากเพิ่มมากขึ้น บทความนี้จึงเป็นกรณีศึกษาที่จะช่วยพัฒนาแนวทางการดูแลรักษาผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจตายที่มีความซับซ้อนลักษณะนี้ได้ดียิ่งขึ้นต่อไป

              ความรู้ทางการแพทย์ในแต่ละปีเพิ่มขึ้นอย่างมากมาย รวมทั้งความซับซ้อน ยุ่งยากในการดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะโรคหัวใจร่วม หวังว่าบทความเหล่านี้จะช่วยให้บุคลากรทางสาธารณสุขทุกท่านสามารถนำไปใช้พัฒนาการดูแลรักษาผู้ป่วยให้ดียิ่งขึ้นได้

  • พฤษภาคม - สิงหาคม
    ปีที่ 36 ฉบับที่ 2 (2558)

              บุคลากรทางการแพทย์ ซึ่งต้องดูแลรักษาผู้ป่วย โดยมีความไม่แน่นอน และชีวิตของผู้ป่วยเป็นผลลัพธ์ของการทำางาน รวมทั้งความคาดหวังของผู้ป่วยและญาติ เป็นกลุ่มบุคคลที่อาจกล่าวได้ว่าต้องเผชิญกับความเครียดอยู่เกือบตลอดช่วงการทำางาน แนวทางการจัดการความเครียดที่เหมาะสมจึงเป็นปัจจัยสำคัญประประการหนึ่งที่จะทำาให้บุคคลนั้นสามารถมีชีวิตได้อย่างปกติสุขและสามารถทำางานได้อย่างมีประสิทธิภาพไม่เพียงแต่บุคลากรเท่านั ้น นักศ ึกษาแพทย์เองก็ต้องแบกรับความกดด ันเช่นนี้ด้วยเช่นกัน เนื่องจากรูปแบบการเรียนการสอนที่เปลี่ยนไปจากการเรียนของนักศึกษาทั่วไป ในกรณีที่นักศึกษาแพทย์ไม่สามารถปรับตัวได้อย่างเหมาะสม ย่อมลดทอนศักยภาพของตนเอง ส่งผลต่อการเรียนรู้และการฝึกปฏิบัติ และอาจส่งผลต่อการปฏิบัติงานในอนาคตได้ รายงานพิเศษในสรรพสิทธิเวชสารฉบับนี้ ได้นำาเสนอภาพความเครียดของนักศึกษาแพทย์ชั้นคลินิกที่กำาลังศึกษาและฝึกปฏิบัติอยู่ในโรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ รวมทั้งรูปแบบการจัดการความเครียดของนักศึกษา แน่นอนว่าย่อมมีทั้งรูปแบบที่ช่วยให้นักศึกษาปรับตัวได้เหมาะสมและรูปแบบที่อาจทำาให้นักศึกษายังคงมีความเครียดหรือเครียดเพิ่มจากเดิม จึงเป็นประเด็นที่ครูแพทย์ทุกท่านควรได้คำานึงถึงระดับความเครียดและพื้นฐานการปรับตัวของนักศึกษา รวมทั้งควรต้องหาแนวทางในการส่งเสริมให้นักศึกษาสามารถใช้รูปแบบการจัดการความเครียดที่เหมาะสม ซึ่งจะส่งผลดีต่อชีวิตการทำางานใน
    อนาคตของนักศึกษาเหล่านี้ด้วย

  • มกราคม - เมษายน
    ปีที่ 36 ฉบับที่ 1 (2558)

              “จังหวัดอุบลราชธานี อาจถือได้ว่าเป็นเมืองหลวงของโรคเมลิออยโดสิส” ประโยคดังกล่าวนี้อาจดูเหมือนเกินความเป็นจริงสำาหรับบุคคลทั่วไปหรือแม้กระทั่งบุคลากรทางการแพทย์ทั่วไป แต่สำาหรับแวดวงวิชาการที่เกี่ยวข้องกับโรคเมลิออยโดสิสแล้ว ประโยคนี้ถึงไม่ใช่ก็ใกล้เคียง เนื่องจากจำานวนอุบัติการณ์และความชุกที่พบได้สูง อีกทั้งรายงานการศึกษาต่างๆ การเป็นแหล่งทำาการศึกษาวิจัยอย่างต่อเนื่องและให้ข้อมูลสำาคัญเกียวกับโรคนี้โดยมีโรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ที่เป็นทั้งสถานบริการที่ให้การดูแลรักษาและศูนย ์การศึกษาวิจัย สำหรับสรรพสิทธิเวชสารฉบับนี้ก็ได้ย้ำาถึงสถานภาพการเป็นเมืองหลวงของโรคเมลิออยโดสิสอีกครั้งด้วยการนำาเสนอบทความการศึกษาผู้ป่วยเมลิออยโดสิสบริเวณศีรษะและลำาคอ และก็น่าจะเป็นรายงานผู้ป่วยเมลิออยโดสิสในบริเวณศีรษะและลำาคอที่มีจำานวนผู้ป ่วยมากท ี่สุด ซึ่งก็เป็นข้อมูลทางคลินิกที่ผู ้เกี่ยวข้องควรพิจารณา
              อีกรายงานการศึกษาหนึ่งเกี่ยวกับการกระทำาผิดต่อเด็ก ซึ่งศึกษาย้อนหลัง 3 ปี จากข้อมูลของศูนย์ช่วยเหลือเด็กและสตรีที่ถูกกระทำารุนแรง หรือ ศูนย์พึ่งได้ โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ ก็ได้ให้ข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสถานการณ์ในหลายแง่มุม โดยเฉพาะการกระทำาผิดทางเพศหรือการทารุณกรรมทางเพศ ข้อมูลเหล่านี้น่าจะทำาให้ผู้เกี่ยวข้อง ทั้งในแง่การป้องกันปัญหาและการดูแลช่วยเหลือภายหลังเกิดเหตุ ได้ตระหนักและใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานสำาหรับการดำาเนินงานต่อไป

  • กันยายน - ธันวาคม
    ปีที่ 35 ฉบับที่ 3 (2557)

              โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ นอกจากจะเป็นโรงพยาบาลระดับตติยภูมิที่ให้บริการทางการแพทย์แก่ประชาชนในจังหวัดอุบลราชธานีและจังหวัดใกล้เคียงแล้ว ยังมีบทบาทของการเป็นโรงเรียนแพทย์สำาหรับนักศึกษาแพทย์ชั้นปีที่ 4-6 อีกด้วย โดยที่บัณฑิตแพทย์ที่จบการศึกษาออกไปส่วนใหญ่ปฏิบัติงานอยู่ในโรงพยาบาลชุมชนและโรงพยาบาลจังหวัดในเขตบริการสุขภาพที่ 10 และจังหวัดอื่นในภาคอีสาน การ
    พยายามพัฒนาการเรียนการสอนเพื่อให้ได้แพทย์ที่มีคุณภาพ มีความสามารถในการดูแลรักษาผู้ป่วยได้อย่างถูกต้องเหมาะสม จึงเป็นอีกหน้าที่หนึ่งของอาจารย์แพทย์ในโรงพยาบาล นอกจากการประเมินการเรียนการสอนในช่วงปลายปีการศึกษาโดยนักศึกษาแพทย์แล้ว เสียงสะท้อนจากบัณฑิตแพทย์ที่ทำางานในพื้นที่ต่างๆโดยเฉพาะในโรงพยาบาลชุมชน ก็เป็นอีกประเด็นที่จะแสดงถึงผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาและการนำาไปใช้ในการทำางานจริง อีกทั้งยังสามารถนำาข้อมูลมาใช้ปรับปรุงแนวทางการเรียนการสอนให้ได้บัณฑิตแพทย์ที่มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น รายงานการศึกษาถึงเวชปฏิบัติด้านเวชศาสตร์ฟื้นฟูในวารสารฉบับนี้จึงแสดงความพยายามของอาจารย์ผู้สอนสำาหรับการพัฒนาคุณภาพของบัณฑิตแพทย์ในอนาคต ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อประชาชนและผู้ป่วยที่มารับบริการ
             สำหรับรายงานการศึกษาอื่นนั้นก็ล้วนเป็นประเด็นที่มีการศึกษาไม่มากนักในประเทศไทย ข้อมูลจากการศึกษาจึงอาจใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาคุณภาพในการดูแลรักษาผู้ป่วย รวมทั้งพัฒนาการบริการที่เหมาะสมต่อผู้ป่วยเฉพาะกลุ่มที่ต้องการการดูแลและบริการทางการแพทย์ที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งนอกจากจะช่วยป้องกันภาวะแทรกซ้อนแล้ว ยังอาจช่วยในการลดวันนอนโรงพยาบาลและค่าใช้จ่ายต่างๆ ลงอีกด้วย

  • พฤษภาคม - สิงหาคม
    ปีที่ 35 ฉบับที่ 2 (2557)

              สรรพสิทธิเวชสารฉบับนี้เป็นอีกฉบับที่แสดงถึงความก้าวหน้าของการบริการทางการแพทย์สําหรับประชาชนในเขตบริการสุขภาพที่ 10 โดยเฉพาะกับบุคลากรรุ่นใหม่ที่มีไฟในความพยายามพัฒนาขีดความสามารถทั้งในการดูแลรักษาผู้ป่วยและการรักษาต่อเนื่องเพื่อลดภาวะแทรกซ้อน ลดการกลับเป็นซํ้า และลดภาระด้านค่าใช้จ่าย รวมทั้งยังสะท้อนให้เห็นถึงความซับซ้อนของผู้ป่วยและความยากลําบากในการดูแล ขณะที่ยังคงมีข้อจํากัดในด้านทรัพยากรอื่นๆ อีกหลายประเด็น
              การรับรู้ถึงพิษภัยจากควันบุหรี่ในประชาชนทั่วไปก็เป็นประเด็นที่บุคลากรทางการแพทย์ควรให้ความสนใจ การรับรู้ถึงผลกระทบต่อสุขภาพเพียงบางด้านแต่ละเลยประเด็นอื่นย่อมส่งผลต่อการเกิดโรคที่เกี่ยวเนื่องจากควันบุหรี่ ดังเช่นรายงานของ ทัศนียา ไกรสรสวัสดิ์ และคณะ ที่แสดงให้เห็นว่าประชาชนส่วนหนึ่งยังไม่รับรู้ถึงการเกิดภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบที่เป็นผลจากควันบุหรี่ นอกจากนั้นยังอาจแสดงถึงการรับรู้ที่ไม่ถูกต้องต่อผลของการสูบบุหรี่มือสอง (secondhand smoking) อีกด้วย

              ปัญหากระจกตาอักเสบจากการติดเชื้อเป็นอีกภาวะโรคที่พบได้บ่อยในกลุ่มประชาชนที่มีอาชีพทางการเกษตร ยิ่งเป็นการติดเชื้อราแล้วการดูแลรักษาก็เป็นปัญหามากยิ่งขึ้น รวมถึงความเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนและความผิดปกติที่ตามมา การตระหนักถึงการติดเชื้อราที่กระจกตาและการให้การดูแลรักษาอย่างเหมาะสม ทันเวลา เป็นประเด็นที่ต้องให้ความสําคัญ การทบทวนองค์ความรู้ในฉบับนี้จึงเป็นอีกบทความที่น่าสนใจยิ่ง โดยเฉพาะในพื้นที่ที่มีประชากรประกอบอาชีพทางการเกษตรเป็นจํานวนมาก

  • มกราคม - เมษายน
    ปีที่ 35 ฉบับที่ 1 (2557)

              ในปี พ.ศ.2558 ที่จะมาถึงนี้เป็นปีแรกของประเทศในกลุ่มอาเซียนที่จะร่วมกันก้าวเข้าสู่ความเป็น “ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน” หรือที่รู้จักกันในนาม AEC (ASEAN Economic Community) ซึ่งผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อประเทศไทยย่อมไม่เพียงแต่ทางด้านเศรษฐกิจและการเมืองเท่านั้น แต่ความร่วมมือดังกล่าวยังเอื้อต่อการโยกย้ายแรงงาน การเดินทางระหว่างประเทศในกลุ่มอาเซียน รวมทั้งส่งผลต่อระบบบริการด้านการแพทย์และสาธารณสุขด้วยเช่นกัน โดยเฉพาะประเทศไทยซึ่งรายล้อมด้วยประเทศที่อาจกล่าวได้ว่ามีระบบการแพทย์และสาธารณสุขที่ด้อยกว่า ด้านหนึ่งนั้นเป็นโอกาสสำาหรับธุรกิจที่เกี่ยวข้อง นำามาซึ่งรายได้ของประเทศ แต่อีกด้านก็อาจนำามาซึ่งปัญหาการให้บริการและค่าใช้จ่ายของประเทศด้วยเช่นกัน ในวารสารฉบับนี้ “สุวารี และคณะ” ได้ทบทวนการมารับบริการของผู้ป่วยต่างชาติที่ไม่ใช่สัญชาติไทยในโรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์เพื่อคาดการณ์แนวโน้มและการบริหารจัดการในอนาคต ประเด็นที่น่าสนใจและอาจเป็นปัญหาไม่เพียงแต่แรงงานข้ามชาติเท่านั้น ยังรวมทั้งประชาชนทั่วไปที่ต้องการบริการทางการแพทย์ที่ดีกว่า นอกจากนั้นยังพบว่าผู้ป่วยชาติตะวันตกก็มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นเช่นกัน อย่างไรก็ตามตัวเลขการเรียกเก็บบริการได้กลับสวนทางกัน ถึงแม้ว่าสัดส่วนนี้อาจจะดูไม่มากนักเมื่อเทียบกับรายรับรวมของโรงพยาบาลแต่ก็เป็นอีกภาระหนึ่งแน่นอน ยังไม่รวมถึงปัญหาความคาดหวังต่อการบริการอีกด้วย แน่นอนว่าสถานการณ์เช่นนี้คงไม่เพียงเกิดขึ้นกับสรรพสิทธิประสงค์เท่านั้นแต่เป็นโรงพยาบาลจังหวัดที่อยู่ชายแดนอื่นเช่นกัน

              สรรพสิทธิเวชสารฉบับนี้นับได้ว่าเป็นความพยายามของกองบรรณาธิการในการจัดทำาวารสารให้เป็นปัจจุบันมากที่สุด แน่นอนว่ายังอาจมีความล่าช้าอยู่บ้าง แต่ก็นับได้ว่าเป็นผลจากการทำางาน รวมทั้งผู้นิพนธ์หลายๆ ท่านที่ยังคงไว้วางใจส่งเรื่องมาเพื่อตีพิมพ์ ซี่งบรรณาธิการก็ต้องขอขอบคุณไปยังทุกท่านด้วย

  • มกราคม - ธันวาคม
    ปีที่ 34 ฉบับที่ 1-3 (2556)

              “เรายังอยู่บนเส้นทางของการปรับเปลี่ยนเพื่อพัฒนา อุปสรรคและปัญหาเป็นสิ่งที่เราต้องก้าวผ่านไปให้ได้” ความตั้งใจและความมุ่งมั่นของกองบรรณาธิการยังเป็นเช่นนี้ ถึงแม้ว่ายังต้องเผชิญกับปัญหาเรื่องเวลา ความล่าช้า และความผิดพลาด
              ก่อนอื่น บรรณาธิการต้องขออภัยท่านผู้อ่านและเจ้าของเรื่อง (นพ.ธวัชชัย ทองประเสริฐ - ภาวะ extramedullary hematopoiesis ของบริเวณไซนัสในผู้ป่วยธาลัสซีเมีย) เนื่องจากเกิดความผิดพลาดในการ พิมพ์สรรพสิทธิเวชสารฉบับที่ผ่านมา (ปีที่ 33 ฉบับที่ 1-3 พ.ศ.2555 หน้าที่ 65) ทำาให้ตารางที่ 1 ในบทความไม่ถูกต้อง ทั้งนี้ กองบรรณาธิการได้นำาเสนอตารางที่ถูกต้องไว้ในหน้าถัดไปแล้ว สำาหรับท่านที่ค้นหาบทความดังกล่าวจากอินเตอร์เน็ตนั้น ทางกองบรรณาธิการได้แก้ไขข้อผิดพลาดดังกล่าวก่อนที่จะเผยแพร่แล้ว
              สำหรับในฉบับนี้ ท่านผู้อ่านจะเห็นความหลากหลายของเนื้อหาบทความ ทั้งด้านการแพทย์สาธารณสุข และวิทยาศาสตร์การแพทย์ ซึ่งก็เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของวารสารเราที่เปิดกว้างเพื่อการนำาเสนอองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการแพทย์และสาธารณสุขให้มากที่สุด ประเด็นของเกมออนไลน์และการสูบบุหรี่ในวัยรุ่นหญิงที่ดูเหมือนว่าจะมีการกล่าวถึงและให้ความสนใจ แต่การให้ความสำาคัญและการจัดการก็อาจจะยังไม่เข้มข้นมากเท่าที่ควร หรือการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมอย่างต่อเนื่องในผู้หญิงก็ดูจะไม่ได้รับการสนับสนุนหรือมีแนวทางในทางปฏิบัติที่ชัดเจน หวังไว้ว่าเนื้อหาบทความดังกล่าวจะกระตุ้นให้ผู้เกี่ยวข้องได้ให้ความสำาคัญเพิ่มมากขึ้น เพื่อการเฝ้าระวังและสุขภาพที่ดีของประชาชน

  • มกราคม - ธันวาคม
    ปีที่ 33 ฉบับที่ 1-3 (2555)

  • มกราคม - ธันวาคม
    ปีที่ 32 ฉบับที่ 1-3 (2554)

              สรรพสิทธิเวชสารปีที่ 32 ประจำาปี 2554 นี้ยังคงเป็นฉบับรวม 1-3 เช่นกับฉบับก่อนหน้านี้ เนื่องจากปัญหาการดำาเนินงานของกองบรรณาธิการเอง รวมทั้งในฉบับหน้า (ปีที่ 33) ด้วยเช่นกัน อย่างไรก็ตามสำหรับฉบับปีที่ 33 ที่จะตามมานั้น ได้มีการปรับเปลี่ยนกองบรรณาธิการและฝ่ายจัดการ เพื่อปรับปรุงกระบวนการดำาเนินงานทั้งหมดและเพื่อพัฒนาคุณภาพของวารสาร
             ในฉบับนี้มีรายงานวิจัยที่น่าสนใจที่ศึกษาปัญหาทางคลินิก (โรคกล้ามเนื้อหัวใจตาย) โดยใช้มุมมองทางด้านเพศภาวะ (gender) ข้อค้นพบที่ได้ก็แสดงให้เห็นความแตกต่างของการรับรู้เรื่องอาการแสดงของโรคในเพศหญิง เนื่องจากบทบาททางเพศภาวะ (gender role) ซึ่งส่งผลถึงการดูแลตนเองและการแสวงหาการรักษา รวมทั้งอาจส่งผลต่อแนวทางการวินิจฉัยของแพทย์ด้วย การศึกษาในมุมมองด้านเพศภาวะในอีกหลายภาวะ/โรคจึงน่าจะประเด็นที่ควรได้รับความสนใจจากผู้ที่เกี่ยวข้องทางด้านคลินิก เพื่อประโยชน์ต่อแนวทางและผลการรักษาที่แตกต่างกันระหว่างเพศ
              ส่วนบทความพิเศษอีกสองเรื่องก็เป็นการทบทวนองค์ความรู้ในเรื่องมะเร็งท่อน้ำาดี ซึ่งยังคงเป็นปัญหาระดับต้นๆ ของประชากรในภาคอีสาน รวมทั้งแนวทางของกระบวนการพยาบาลสำาหรับผู้ป่วยโรคเส้นเลือดสมอง ซึ่งก็เป็นภาวะโรคที่ยังคงมีอุบัติการณ์สูงขึ้นเรื่อยๆ อีกทั้งภาวะเรื้อรังของรอยโรคและภาวะแทรกซ้อนที่อาจตามมา ทั้งสองประเด็นก็เป็นปัญหาทางสาธารณสุขที่ควรได้รับการทบทวนและพัฒนาองค์ความรู้อย่างต่อเนื่องเช่นกัน

1-25 of 30