ปีที่ 36 ฉบับที่ 2 (2558): พฤษภาคม - สิงหาคม
บุคลากรทางการแพทย์ ซึ่งต้องดูแลรักษาผู้ป่วย โดยมีความไม่แน่นอน และชีวิตของผู้ป่วยเป็นผลลัพธ์ของการทำางาน รวมทั้งความคาดหวังของผู้ป่วยและญาติ เป็นกลุ่มบุคคลที่อาจกล่าวได้ว่าต้องเผชิญกับความเครียดอยู่เกือบตลอดช่วงการทำางาน แนวทางการจัดการความเครียดที่เหมาะสมจึงเป็นปัจจัยสำคัญประประการหนึ่งที่จะทำาให้บุคคลนั้นสามารถมีชีวิตได้อย่างปกติสุขและสามารถทำางานได้อย่างมีประสิทธิภาพไม่เพียงแต่บุคลากรเท่านั ้น นักศ ึกษาแพทย์เองก็ต้องแบกรับความกดด ันเช่นนี้ด้วยเช่นกัน เนื่องจากรูปแบบการเรียนการสอนที่เปลี่ยนไปจากการเรียนของนักศึกษาทั่วไป ในกรณีที่นักศึกษาแพทย์ไม่สามารถปรับตัวได้อย่างเหมาะสม ย่อมลดทอนศักยภาพของตนเอง ส่งผลต่อการเรียนรู้และการฝึกปฏิบัติ และอาจส่งผลต่อการปฏิบัติงานในอนาคตได้ รายงานพิเศษในสรรพสิทธิเวชสารฉบับนี้ ได้นำาเสนอภาพความเครียดของนักศึกษาแพทย์ชั้นคลินิกที่กำาลังศึกษาและฝึกปฏิบัติอยู่ในโรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ รวมทั้งรูปแบบการจัดการความเครียดของนักศึกษา แน่นอนว่าย่อมมีทั้งรูปแบบที่ช่วยให้นักศึกษาปรับตัวได้เหมาะสมและรูปแบบที่อาจทำาให้นักศึกษายังคงมีความเครียดหรือเครียดเพิ่มจากเดิม จึงเป็นประเด็นที่ครูแพทย์ทุกท่านควรได้คำานึงถึงระดับความเครียดและพื้นฐานการปรับตัวของนักศึกษา รวมทั้งควรต้องหาแนวทางในการส่งเสริมให้นักศึกษาสามารถใช้รูปแบบการจัดการความเครียดที่เหมาะสม ซึ่งจะส่งผลดีต่อชีวิตการทำางานใน
อนาคตของนักศึกษาเหล่านี้ด้วย