การผ่าตัดทอนซิล:ประสิทธิภาพ ความปลอดภัย และภาวะ แทรกซ้อน

ผู้แต่ง

  • นนทยา ผูกพันธ์ กลุ่มงานโสต ศอ นาสิก โรงพยาบาลวารินชำาราบ จ.อุบลราชธานี

คำสำคัญ:

การผ่าตัดทอนซิล การผ่าตัดด้วยวิธีใช้ที่ขูดทอนซิล การผ่าตัดด้วยวิธีใช้จี้ไฟฟ้า ทอนซิลอักเสบ เรื้อรัง นอนกรน

บทคัดย่อ

          การศึกษาข้อมูลแบบย้อนหลังเพื่อศึกษาประสิทธิภาพ ความปลอดภัย และภาวะแทรกซ้อนของการผ่าตัดทอนซิลด้วยวิธีการใช้จี้ไฟฟ้าและวิธีใช้ที่ขูดทอนซิล ที่แผนกหู คอ จมูก โรงพยาบาลวารินชำาราบ จังหวัดอุบลราชธานี ระหว่างวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2552 ถึง วันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2558 โดยรวบรวมข้อมูลการรักษาและภาวะแทรกซ้อนของผู้ป่วยจำานวน 300 ราย ที่เข้ามารับการรักษาผ่าตัดทอนซิลจากการที่ทอนซิลมีขนาดใหญ่ทำาให้เกิดการนอนกรน มีการอุดกั้นทางเดินหายใจในขณะนอนหลับ และผู้ป่วยที่มีทอนซิลอักเสบเรื้อรัง ผลการศึกษาพบว่ามีการผ่าตัดด้วยวิธีใช้ที่ขูดทอนซิลในผู้ป่วย 162 ราย และเป็นการผ่าตัดด้วยวิธีใช้ จี้ไฟฟ้า 138 ราย หลังการผ่าตัดผู้ป่วยดีขึ้นจากภาวะนอนกรนทุกรายตั้งแต่วันแรก ภาวะแทรกซ้อนสำาคัญ หลังการผ่าตัดที่พบได้แก่ 1) ภาวะเลือดออกจากแผลหลังผ่าตัด 24 ชั่วโมง (secondary bleeding) 26 ราย (ร้อยละ 8.67) ซึ่งมีผู้ป่วย 4 ราย ที่ต้องเข้าผ่าตัดซำ้าเพื่อห้ามเลือด 2) ลิ้นไก่บวม (uvular edema) 18 ราย (ร้อยละ 6) และ 3) คลื่นไส้อาเจียน (nausea/vomiting) 21 ราย (ร้อยละ 7) ด้านความเจ็บปวดหลังผ่าตัดส่วนใหญ่ได้รับเพียงยาแก้ปวดชนิดรับประทาน มีผู้ป่วยที่ต้องใช้ยาระงับปวดชนิดฉีด 96 ราย พบการติดเชื้อ หลังผ่าตัด 4 ราย (ร้อยละ1.33) การผ่าตัดทอนซิลด้วยวิธีการจี้ไฟฟ้าเป็นวิธีที่สามารถใช้ได้ผลเป็นอย่างดีและ มีภาวะแทรกซ้อนน้อยกว่าวิธีใช้ที่ขูดทอนซิล ในการรักษาผู้ป่วยที่มีต่อมทอนซิลขนาดใหญ่ที่ทำาให้เกิดการนอนกรนมีการอุดกั้นทางเดินหายใจในขณะนอนหลับและผู้ป่วยที่มีการอักเสบเรื้อรังของต่อมทอนซิล ทำาให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-08-02