ความเครียดและการจัดการความเครียดของนักศึกษาแพทย์ ชั้นคลินิก โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์

ผู้แต่ง

  • ปิยะพล ปราบชมภู นักศึกษาแพทย์. ศูนย์แพทยศาสตร์ศึกษา โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ จ.อุบลราชธานี.
  • ศุภารัตน์ สกุลพานิช นักศึกษาแพทย์. ศูนย์แพทยศาสตร์ศึกษา โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ จ.อุบลราชธานี.
  • ชนกานต์ ดวนใหญ่ นักศึกษาแพทย์. ศูนย์แพทยศาสตร์ศึกษา โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ จ.อุบลราชธานี.
  • ภัทรสุดา ฟองงาม นักศึกษาแพทย์. ศูนย์แพทยศาสตร์ศึกษา โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ จ.อุบลราชธานี.
  • นลินี แข็งแอ นักศึกษาแพทย์. ศูนย์แพทยศาสตร์ศึกษา โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ จ.อุบลราชธานี.
  • จิรวัฒน์ มูลศาสตร์ กลุ่มงานจิตเวช โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ อุบลราชธานี

คำสำคัญ:

ความเครียด การจัดการความเครียด นักศึกษาแพทย์ชั้นคลินิก

บทคัดย่อ

          การศึกษาเชิงสำารวจแบบตัดขวางเพื่อศึกษาความเครียดและรูปแบบการจัดการความเครียดของ นักศึกษาแพทย์ชั้นคลินิก โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ ปีการศึกษา 2558 เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบวัดความเครียดในคนไทย (Thai Stress Test) และแบบประเมินการจัดการ ความเครียด (Coping Strtegies Inventory) วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ผลการศึกษาพบว่ามี นักศึกษาที่มีสภาพจิตอยู่ในระดับ “เครียด” ร้อยละ 59.3 ซึ่งเป็นเพศชายมากกว่าเพศหญิง นักศึกษาชั้นปี ที่ 4 มีสัดส่วนของผู้ที่เครียดมากที่สุด รองลงมาเป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 6 และ 5 ตามลำาดับ นักศึกษาที่มีเกรด เฉลี่ยสะสมตั้งแต่ 2.99 ลงมา มีความเครียดสูงกว่านักศึกษาที่มีเกรดเฉลี่ยสูงกว่า และพบว่านักศึกษาที่อยู่ ในกองกุมารเวชศาสตร์ อายุรศาสตร์ และเวชศาสตร์ฉุกเฉิน มีความเครียดสูงเป็น 3 ลำาดับแรก ด้านรูป แบบการจัดการความเครียดพบว่านักศึกษาใช้รูปแบบการมุ่งเน้นที่ปัญหา มากที่สุด ตามมาด้วย การมุ่งเน้น กับอารมณ์ การปล่อยวางปัญหา การปล่อยวางซึ่งอารมณ์ และใช้มากกว่าหนึ่งรูปแบบ ตามลำาดับ อย่างไร ก็ตาม พบว่านักศึกษาที่ใช้รูปแบบการปล่อยวางปัญหาเป็นกลุ่มที่มีสัดส่วนผู้ที่เครียดมากที่สุด ขณะที่นักศึกษา ที่ใช้รูปแบบการมุ่งเน้นที่ปัญหามีสัดส่วนผู้ที่เครียดน้อยที่สุด

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-08-01