การศึกษาพฤติกรรมการเรียนของนักศึกษาแพทย์ชั้นปรีคลินิก ปีการศึกษา 2559 คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

Main Article Content

นุชจรีย์ หงษ์เหลี่ยม
นัดดา วงษ์วรรณา
พิราวรรณ หนูเสน

Abstract

วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบพฤติกรรมการเรียนของนักศึกษาแพทย์ชั้นปรีคลินิก 10 ด้าน ดังนี้ 1) ด้านทัศนคติในการเรียน 2) ด้านแรงจูงใจในการเรียน 3) ด้านการจัดเวลาในการเรียน 4) ด้านความวิตกกังวลในการเรียน 5) ด้านการมีสมาธิและการเอาใจใส่ต่อการเรียน 6) ด้านกระบวนการสร้างและใช้ความรู้ 7) ด้านการเลือกใจความสำคัญและการจดจำเนื้อหาบทเรียนที่สำคัญ 8) ด้านการใช้เทคนิคต่าง ๆ และอุปกรณ์ช่วยเหลือในการเรียน 9) ด้านการทดสอบตนเองทบทวนและเตรียมตัวก่อนเข้าเรียน และ 10) ด้านกลยุทธ์ในการสอบและการเตรียมตัวสอบ
วิธีการศึกษา:  กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาแพทย์ชั้นปีที่ 2-3 คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล จำนวน 245 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ คือ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบสามทาง
ผลการศึกษา:  นักศึกษาแพทย์ชั้นปีที่ 2-3  โดยรวมมีพฤติกรรมการเรียนทั้ง 10 ด้านอยู่ในระดับปานกลาง มีค่าเฉลี่ย 2.97 และเมื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมการเรียนทั้ง 10 ด้าน จากวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบสามทาง พบว่า พฤติกรรมการเรียนด้านความวิตกกังวลในการเรียนมีความแตกต่างกันระหว่างชั้นปี และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาแพทย์ชั้นปรีคลินิก อย่างมีนัยสำคัญที่ 0.05
สรุป: พฤติกรรมการเรียนของนักศึกษาแพทย์ชั้นปรีคลินิก ปีการศึกษา 2559 เมื่อวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการ simple effect เปรียบเทียบรายคู่ (Post Hoc) ด้วยวิธีเชฟเฟ่ พบว่า นักศึกษาแพทย์ชั้นปีที่ 2 ที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแตกต่างกันมีความวิตกกังวลในการเรียนแตกต่างกัน 2 คู่ ได้แก่ 1) นักศึกษาแพทย์ที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 2.50-2.99 มีความวิตกกังวลในการเรียนมากกว่านักศึกษาแพทย์ที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 3.50-4.00 (ค่าเฉลี่ย = 2.82) และ 2) นักศึกษาแพทย์ที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 2.50-2.99 มีความวิตกกังวลในการเรียนมากกว่านักศึกษาแพทย์ที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 3.00-3.49 (ค่าเฉลี่ย = 2.85) ส่วนนักศึกษาแพทย์ชั้นปีที่ 3 ที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแตกต่างกันมีด้านความวิตกกังวลในการเรียนแตกต่างกัน 1 คู่ คือ นักศึกษาแพทย์ที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 3.00-3.49 มีความวิตกกังวลในการเรียนมากกว่านักศึกษาแพทย์ที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 3.50-4.00 (ค่าเฉลี่ย = 3.16)  


Study of learning behavior of pre-clinical medical students 2016 in Faculty of Medicine Siriraj Hospital
Nucharee Hongliam, M.P.A., Nadda Wongwanna, M.Ed., Pirawan Noosen, M.S.
Division of Medical Education, Faculty of Medicine Siriraj Hospital, Mahidol University, Bangkok 10700, Thailand.


Objective:  To study and compare the learning behavior of  pre-clinical medical students in 10  aspects as follows :  1) learning attitude  2) learning motivation 3) learning management  4) learning anxiety  5) learning concentration and attentiveness  6) constructing and applying knowledge 7) selecting main concepts and remembering the key contents of lessons  8)  using various  techniques and assistant learning aids  9) self-evaluation, revision and preparation before class and 10) examination strategies and preparation.
Methods: 
A questionnaire was distributed with the sampling of 245 second and third-year medical students.  Data were collected by questionnaire. The statistics used were means, average deviation and analyzed with three-of way Analysis Variance.
Results:
 Research  findings were as follows:  the second and the third year medical students as a whole  had 10 aspects  of learning behavior  in moderate level  with average score of 2.987and  the comparison  in 10 aspects  used three-of way Analysis Variance found out that  the learning anxious  behavior differed between years  and the learning outcomes pre-clinical medical students with significant  at  0.05.
Conclusion: 
Learning behavior of pre-clinical medical students 2016So the data analyzed with Simple effect comparing Post Hoc used Scheffe Method was the second year medical students with different learning outcomes had 2 pairs of learning anxiety: 1)  the medical  students with 2.50-2.99 average grade had more anxious than the medical students with 3.50-4.00 average grade (mean = 2.82) and the medical  students with 2.50-2.99 average grade had more anxious than the medical students with 3.00-3.49 average grade (mean = 2.85). The third-year medical students with different learning outcomes had 1 pair of learning anxiety which was the medical students with 3.00-3.49  average grade had more anxious than the medical students with 3.50-4.00 average grade (mean = 3.16).

Article Details

How to Cite
1.
หงษ์เหลี่ยม น, วงษ์วรรณา น, หนูเสน พ. การศึกษาพฤติกรรมการเรียนของนักศึกษาแพทย์ชั้นปรีคลินิก ปีการศึกษา 2559 คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล. Siriraj Med Bull [Internet]. 2017 Dec. 20 [cited 2024 Nov. 22];10(3):166-73. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/simedbull/article/view/106234
Section
Original Article