ความคาดหวังของนักศึกษาแพทย์ ที่มีต่อกระบวนการเรียนการสอน ของคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

Main Article Content

พรรณิการ์ พุ่มจันทร์
นุชจรีย์ หงษ์เหลี่ยม

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบสภาพความคาดหวังกับสภาพความเป็นจริงของนักศึกษาแพทย์ต่อกระบวนการเรียนการ
สอนของคณะแพทยศาสตร์ศิรราชพยาบาลจำแนกตามเพศ ชั้นปี และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
วิธีการ : ศึกษาสภาพความคาดหวังและสภาพความเป็นจริงของนักศึกษาแพทย์โดยใช้แบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่าง คือ
นักศึกษาแพทย์คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ชั้นปีที่ 2-6 จำนวน 1,200 คน ซึ่งมาจากการคำนวณด้วย
โปรแกรม G*Power สถิติที่ใช้คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test และ ANOVA เมื่อพบความแตกต่างจึงทำการ
ทดสอบด้วย Bonferroni
ผลการศึกษา: ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นนักศึกษาแพทย์เพศชาย โดยที่นักศึกษาแพทย์ทั้งเพศหญิงและชายส่วน
ใหญ่มีต่อกระบวนการเรียนการสอนในทุกๆ ด้านระดับมากที่สุด สำหรับด้านที่นักศึกษาแพทย์มีความคาดหวังมากที่สุด คือ ด้าน
อาจารย์ผู้สอน รองลงมา คือ ด้านปัจจัยส่งเสริมการจัดการเรียนการสอน ซึ่งไม่สอดคล้องกับสภาพที่เป็นจริง กล่าวคือ นักศึกษา
แพทย์ทั้งเพศหญิงและเพศชายโดยส่วนใหญ่มีความคิดเห็นว่าสภาพที่เป็นจริงในการจัดการเรียนการสอนในแต่ละด้านมีระดับการ
ปฏิบัติอยู่ในระดับมากเท่านั้น ยกเว้น ด้านอาจารย์ผู้สอนที่นักศึกษาเพศหญิงมีความคิดเห็นวา่ มีระดับ การปฏิบัติ อยู่ในระดับ มากที่สุด
เมื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของนักศึกษาระหว่างเพศชายและเพศหญิง พบว่า เพศต่างกัน มีความคาดหวังในด้านการประเมิน
ผลการเรียนการสอนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และนักศึกษาแพทย์เพศหญิงและชายมีความคิดเห็นต่อ
สภาพความเป็นจริงในด้านอาจารย์ผู้สอนและด้านปัจจัยส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่
ระดับ .05 นักศึกษาแพทย์ที่มีชั้นปีและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแตกต่างกัน มีความคาดหวังและมีความคิดเห็นต่อสภาพความ
เป็นจริงทั้ง 5 ด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
สรุป: นักศึกษาแพทย์มีสภาพความคาดหวังและสภาพความเป็นจริงที่แตกต่างกัน ควรนำผลการศึกษาไปพัฒนาและปรับปรุง
กระบวนการเรียนการสอนตามความคาดหวังของนักศึกษาแพทยเ์ พื่อใหก้ ารเรียนการสอนเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของผ้เู รียนมาก
ยิ่งขึ้น

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ