ผลของระบบการให้การช่วยเหลือ มารดาวัยเยาว์และการติดตามใน รูปแบบสหวิชาชีพ

Main Article Content

ส่งศรี เมืองทอง
ทัศนีย์ นิลสูงเนิน
รัตนา ชื่นภักดี

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: วัยเยาว์ที่ตั้งครรภ์ไม่ปรารถนามีจำนวนมากขึ้นและมีแนวโน้มอายุน้อยลง ส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์สังคม
และเกิดปัญหาหลายด้าน องค์กรทุกภาคส่วนจึงควรร่วมมือกันหาแนวทางช่วยเหลือกลุ่มแม่วัยเยาว์ให้สามารถดูแลตนเองและบุตร
ได้อย่างเหมาะสมตามสิทธิเสรีภาพที่ควรได้รับ งานสังคมสงเคราะห์ได้ตระหนักในความสำคัญนี้และได้ทำการศึกษาผลสำเร็จของ
ระบบการให้ความช่วยเหลือมารดาวัยเยาว์ในรูปแบบสหวิชาชีพ ซึ่งบริการช่วยเหลือทางสังคมสงเคราะห์มุ่งเน้นสนับสนุนให้สามารถ
เลี้ยงดูบุตรด้วยตนเองหรือครอบครัวภายในเวลาหนึ่งปีหลังจำหน่าย โดยไม่ปรากฏการส่งบุตรเข้าสถานสงเคราะห์
วิธีการ: ศึกษาข้อมูลย้อนหลังจากแบบบันทึกทางสังคมสงเคราะห์ เกี่ยวกับบริการที่ให้ความช่วยเหลือแก่มารดาวัยเยาว์ ใน
ปี พ.ศ.2552-2553 จำนวน 300 ราย
ผลการศึกษา: มารดาวัยเยาว์อายุน้อยสุด 13 ปี (เฉลี่ย 16.3 ปี) นักสังคมสงเคราะห์สามารถติดตามผลหลังจำหน่ายจาก
โรงพยาบาลหนึ่งปีได้ครบทั้งหมด ด้วยการโทรศัพท์หรือเยี่ยมบ้านติดตาม ผลพบว่าบุตรยังอยู่ในความดูแลของมารดาวัยเยาว์
หรือครอบครัวทุกราย สุขภาพแข็งแรงดี ไม่มีมารดาวัยเยาว์รายใดตั้งครรภ์ซ้ำ และสามารถเข้าศึกษาต่อหรือหางานทำได้ โดยพบ
ข้อสังเกตเกี่ยวกับยอมรับบุตรของมารดาวัยเยาว์ จึงทำสอบความแตกต่างการยอมรับบุตรระหว่างครอบครัวของมารดาวัยเยาว์
กับครอบครัวของสามี พบว่าการยอมรับบุตรต่างกันที่ระดับความน่าจะเป็นร้อยละ 95 ซึ่งค่าความแตกต่างอยู่ระหว่าง 5.16 ถึง
18.83 เปอร์เซ็นต์
สรุป: การประเมินผลมารดาวัยเยาว์หลังจำหน่ายหนึ่งปีไม่พบมีรายใดส่งบุตรเข้าสถานสงเคราะห์ถือว่า เป็นความสำเร็จของ
ระบบการช่วยเหลือของนักสังคมสงเคราะห์ และพบข้อสังเกตสำคัญเรื่องการยอมรับบุตรของบุคคลในครอบครัว สามารถนำมา
ปรับใช้เป็นประโยชน์ในการปฏิบัติงานได้

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ