ประสิทธิภาพของการสอนแบบ Peer teaching ในการจัดการเรียนการสอนด้านจุลชีววิทยาทางการแพทย์ ที่ทำให้ผู้เรียนมีทักษะด้าน Soft skills ตาม Siriraj outcome ของนักศึกษาแพทย์ชั้นปีที่ 3 คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล

Main Article Content

นภัสสร รุ่งเรือง
พบชัย งามสกุลรุ่งโรจน์

Abstract

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของการสอนแบบเพื่อนช่วยเพื่อนในการจัดการเรียนการสอนด้านจุลชีววิทยาทางการแพทย์ ที่ทำให้ผู้เรียนมีทักษะด้าน Soft Skills ตาม Siriraj Outcomes  
วิธีการ: ประชากรที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักศึกษาแพทย์ชั้นปีที่ 3 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 314 คน ที่ต้องมีการเรียนการสอนแบบเพื่อนช่วยเพื่อนผ่านกิจกรรมการนำเสนอหน้าชั้น ใน 6 รายวิชา โดยแบ่งเป็นกลุ่มๆ ละ 5-6 คน ต่อ 1 case และมีการประเมิน soft skills ตาม Siriraj Outcomes  2 ประเด็น ได้แก่ 1) การเข้าถึงข้อมูลและการใช้งานเทคโนโลยีได้อย่างมีประสิทธิภาพ 2) ความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณและความสามารถในการสื่อสารและร่วมมือกับผู้อื่น ประเมินโดยอาจารย์ผู้สอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบประเมินการนำเสนอ และใช้สถิติ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t-test โดยประเมินสองครั้ง ในการนำเสนอวันแรกและการนำเสนอวันสุดท้าย
ผลการศึกษา: คะแนนการนำเสนอวันสุดท้าย อยู่ในเกณฑ์ดีมาก (มีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 36.13 และ S.D. เท่ากับ 1.26)  และมีคะแนนการนำเสนอของวันสุดท้ายสูงกว่าวันแรก อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และรายด้านพบว่า คะแนนการนำเสนอของวันสุดท้ายสูงกว่าวันแรก อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ในด้านสไลด์เรียบร้อย อ่านตามง่าย, การนำเสนอเป็นหนึ่งเดียวกัน และอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ . 01 ด้านการตอบคำถามอย่างมีวิจารณญาณ
สรุป: จะเห็นได้ว่า ประสิทธิภาพของการสอนแบบเพื่อนช่วยเพื่อนในการจัดการเรียนการสอนด้านจุลชีววิทยาทางการแพทย์ ที่ทำให้ผู้เรียนมีทักษะด้าน soft skills ตาม Siriraj Outcomes สูงขึ้น

Article Details

How to Cite
1.
รุ่งเรือง น, งามสกุลรุ่งโรจน์ พ. ประสิทธิภาพของการสอนแบบ Peer teaching ในการจัดการเรียนการสอนด้านจุลชีววิทยาทางการแพทย์ ที่ทำให้ผู้เรียนมีทักษะด้าน Soft skills ตาม Siriraj outcome ของนักศึกษาแพทย์ชั้นปีที่ 3 คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล. Siriraj Med Bull [Internet]. 2020 Jul. 10 [cited 2024 Dec. 26];13(3):183-9. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/simedbull/article/view/206935
Section
Original Article

References

1. Kaocharoen S, Ngamskulrungroj P, Firacative C, Trilles L, Piyabongkarn D, Banlunara W, et al. Molecular epidemiology reveals genetic diversity amongst isolates of the Cryptococcus neoformans/C. gattii species complex in Thailand. PLoS Negl Trop Dis. 2013;7(7):e2297.เกณฑ์มาตรฐานผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมของแพทยสภา พ.ศ. 2555.
2. กนกอร ศรีสมพันธุ์, บังอร ศิริสกุลไพศาล, ศุภาพิชญ์ โฟน โบร์แมนน์. การเรียนรู้แบบเพื่อนช่วยเพื่อนในกิจกรรมการสอบสาธิตย้อนกลับกลไกการคลอด. JOURNAL OF HEALTH SCIENCE RESEARCH Volume 11 No. 2: July – December 2017. N 138.
3. สุมาลี เทียนทองดี. ผลของรูปแบบการสอนแบบเพียร์ที่มีต่อผลการเรียนรู้ของนักศึกษา : บทสังเคราะห์จากวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง. วารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ปีที่ 3 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม– ธันวาคม พ.ศ. 2559.
4. ยมลพร พันธนาม. (2537). “ผลของการสอนโดยเพื่อนด้วยการจับคู่ตามรูปแบบการคิดที่มีการรับความสามารถของตนเองและผลสัมฤทธิ์ในวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษา”. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาการศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
5. E. Mazur, Peer Instruction: A User’s Manual (Prentice Hall, Upper Saddle River, NJ, 1997). 5] Author, A. A. 1995. Title of book. City: Publish-er.[6] Author, A. A. 1996. Title of book: Subtitle of book (Edition). City, ST: Publisher.