การใช้สุคนธบำบัดกลิ่นกระดังงาร่วมกับการนวดเท้าช่วยการนอนหลับของผู้สูงอายุในศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุบ้านทักษิณ อำเภอเมือง จังหวัดยะลา
คำสำคัญ:
sleeping quality, Aroma therapy, foot massage, elderlyบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง (Quasi – experimental research) เพื่อศึกษาประสิทธิผลของสุคนธบำบัดร่วมกับการนวดเท้าต่อคุณภาพการนอนหลับของผู้สูงอายุที่พักในศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุบ้านทักษิณ อำเภอเมือง จังหวัดยะลา โดยแบ่งกลุ่มเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1 ได้รับสุคนธบำบัดร่วมกับการนวดเท้า จำนวน 12 คน และ กลุ่มที่ 2 ไม่ได้รับสุคนธบำบัดร่วมกับการนวดเท้า จำนวน 18 คน ทำเก็บข้อมูลเป็น 2 ระยะ คือ ก่อน และหลัง โดยใช้แบบประเมินคุณภาพการนอนหลับของพิทส์เบิร์ก (The Pittsburgh Sleep QualityIndex : PSQI)
ผลการศึกษาการเปรียบเทียบคะแนนภาพรวมคุณภาพการนอนหลับพบว่ากลุ่มทดลองใช้กลิ่นกระดังงามีคะแนนเฉลี่ยคุณภาพการนอนหลับทั้ง 7 องค์ประกอบก่อนและหลังทดลอง แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (10.92 vs 7.83, p = <0.001)นอกจากนี้กลุ่มทดลองกลิ่นกระดังงามีคุณภาพการนอนหลับหลังการใช้สุคนธบำบัดร่วมกับการนวดเท้ากลิ่นกระดังงาดีกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (7.83 vs 9.28, p = 0.031)
จากผลการศึกษาการกลิ่นกระดังงาร่วมกับการนวดเท้าช่วยให้ผู้สูงอายุนอนหลับได้ดีขึ้น ดังนั้นสุคนธบำบัดด้วยกลิ่นกระดังงาร่วมกับการนวดเท้าจึงอาจจะนำมาใช้เป็นอีกทาเลือกหนึ่งในการช่วยให้คุณภาพการนอนหลับของผู้สูงอายุที่มีปัญหานอนไม่หลับดีขึ้น อีกทั้งจะสามารถช่วยลดการใช้ยานอนหลับในผู้สูงอายุได้
คำสำคัญ คุณภาพการนอนหลับ สุคนธบำบัด กระดังงา การนวดเท้าผู้สูงอายุ
References
จรียา เขียวผึ้ง และคณะ.2554.ผลของการนวดกดจุดฝ่าเท้าต่อคุณภาพการนอนในผู้สูงอายุที่มีภาวะนอนไม่หลับ.กรุงเทพมหานคร:มหาวิทยาลัยมหิดล.
ตะวันชัย จิรประมุขพิทักษ์ และวรัญ ตันชัยสวัสดิ์. (2542). ปัญหาคุณภาพการนอนหลับของพยาบาลประจำการโรงพยาบาลสงขลานครินทร์. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย,42(3), 123 - 132.
ประภาพร มโนรัตน์ กฤษณะ คำฟอง วรพล แวงนอก พรฤดี นิธิรัตน์. (2559).การดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุไทยพุทธในชุมชนกึ่งเมืองกึ่งชนบท: กรณีศึกษาบ้านนาโปร่ง ตำบลท่าเสา อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์. 8(2), 1-16
ศูนย์นิทราเวช โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์. การนอนหลับ. สืบค้นวันที่ 14 มกราคม 2560 จาก : https://www.sleepcenterchula.org/index.php/th/.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. 2553 .สถิติผู้สูงอายุ.สืบค้นวันที่ 14 มกราคม 2560 จาก : https://www.nesdb.go.th
Buysse, D. J., Reynolds, C. F., Monk, T.H., Berman, S. R., &Kupfer, D. J. (1989). The Pittsburgh Sleep Quality Index: A new instrument for psychiatric practice and research.Psychiatry Research, 28, 193-213.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความทุกบทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของ วารสารสาธารณสุข