ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเลือกรับบริการการคลอดกับผดุงครรภ์ โบราณโต๊ะบีแดอำเภอยะหา จังหวัดยะลา
คำสำคัญ:
การคลอด, ผดุงครรภ์โบราณ, โต๊ะบีแด, การเลือกรับบริการบทคัดย่อ
การศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเลือกรับบริการการคลอดกับผดุงครรภ์โบราณโต๊ะบีแด อำเภอยะหา จังหวัดยะลา เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง สัมภาษณ์เจาะลึกเกี่ยวกับการเลือกรับบริการการคลอดกับผดุงครรภ์โบราณโต๊ะบีแดของหญิงหลังคลอด จำนวน 10 คน โดยมีข้อคำถามตามประเด็นในวัตถุประสงค์ ได้แก่ ข้อมูลพื้นฐานของหญิงหลังคลอด การสนับสนุนของครอบครัวในระหว่างตั้งครรภ์ ปัจจัยด้านสังคมและวัฒนธรรม ปัจจัยด้านการเข้าถึงการบริการ จากนั้นวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า
1) หญิงหลังคลอดส่วนใหญ่มีอายุระหว่าง 30-40 ปี และ 41-50 ปี สถานภาพสมรส เป็นชาวไทยเชื้อสายมลายู ระดับการศึกษาส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและมัธยมศึกษาตอนปลาย ประกอบอาชีพเป็นแม่บ้าน รายได้ส่วนใหญ่มาจากรายได้ของสามี โดยมีความสามารถในการพูดภาษาไทยอยู่ในระดับพูดได้บ้าง สำหรับประสบการณ์การคลอดพบว่าส่วนใหญ่เคยผ่านประสบการณ์คลอดกับผดุงครรภ์โบราณโต๊ะบีแดมาแล้ว และมีการคลอดกับผดุงครรภ์โบราณโต๊ะบีแดมากกว่า 1 ครั้ง
2) การมีส่วนร่วมของสามีในระหว่างตั้งครรภ์ พบว่า สามีมีส่วนร่วมในระหว่างการตั้งครรภ์ ในด้านการพาไปฝากครรภ์กับผดุงครรภ์โบราณโต๊ะบีแด และในด้านค่าใช้จ่ายต่างๆโดยในแต่ละครั้งที่ผดุงครรภ์โบราณโต๊ะบีแดนัดให้ไปฝากครรภ์ สามีจะมีส่วนร่วมในการดูแลเรื่องอาหาร แนะนำให้หญิงตั้งครรภ์รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ งดอาหารแสลงต่างๆ ดูแลหญิงตั้งครรภ์เมื่อมีอาการแพ้ท้อง และอาการไม่สุขสบายต่างๆส่วนด้านการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจในระหว่างการตั้งครรภ์นั้น สามีมีส่วนร่วมในการตัดสินใจเลือกรับบริการการคลอดและส่งเสริมให้ฝากครรภ์กับผดุงครรภ์โบราณโต๊ะบีแด
3) วัฒนธรรมการคลอดของหญิงมุสลิมนั้น อนุญาตให้ผู้ทำคลอดเป็นเพศหญิงเท่านั้น นอกจากเหตุผลจำเป็นสุดวิสัยและไม่ขัดกับหลักศาสนาและเป็นบุคคลที่มีความรู้ทางการแพทย์ และนิยมคลอดที่บ้าน เนื่องจากเชื่อในความสามารถและความชำนาญในการทำคลอดของผดุงครรภ์โบราณโต๊ะบีแด มีความสะดวกสบายในการคลอดมีการคลอดกับผดุงครรภ์โบราณโต๊ะบีแดตั้งแต่สมัยบรรพบุรุษ จึงสืบต่อกันมาจนถึงรุ่นลูกหลานเมื่อถึงเวลาคลอดสภาพแวดล้อมขณะคลอดผู้คลอดจะรู้สึกอบอุ่นที่ได้คลอดที่บ้านซึ่งมีญาติพี่น้อง และเพื่อนๆมาคอยให้กำลังใจ
4) การเข้าถึงบริการและการอำนวยความสะดวกของหญิงที่คลอดกับผดุงครรภ์โบราณโต๊ะบีแด พบว่า หญิงหลังคลอดให้ความสำคัญต่อความสะดวกสบายในการเดินทาง ประกอบกับเสียค่าใช้จ่ายถูกกว่าไปคลอดที่โรงพยาบาล ไม่เสียค่าใช้จ่ายในการเดินทาง ส่วนด้านการรับรู้ข่าวสารสาธารณสุข พบว่า หญิงหลังคลอดไม่ได้รับข่าวสาร และไม่ให้ความสนใจเกี่ยวกับความรู้ด้านสาธารณสุข เนื่องจากตนไม่มีความรู้และการเข้าถึงของหน่วยงานสาธารณสุขไม่ครอบคลุมพื้นที่ต่างๆ ไม่ได้รับการแนะนำจากเจ้าหน้าที่สาธารณสุขและอาสาสมัครชุมชน
References
สาธารณสุข.
รุจา ภู่ไพบูลย์. (2542). การพยาบาลครอบครัว: แนวคิดทฤษฏีและการนำไปใช้. พิมพ์ครั้งที่3. กรุงเทพฯ: วีเจ พริ้นติ้ง.
ลีนา ตังกะนะภัคย์. (2535). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการใช้บริการทำคลอดแบบพื้นบ้านและแบบสมัยใหม่ของมารดาไทยมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาศึกษาศาสตร์เพื่อพัฒนาชุมชน). สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
วรรณ์ดี แสงประทีปทอง. (2548). การพัฒนาเครื่องมือและการเก็บรวบรวมข้อมูลในการประเมินหลักสูตร.
นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ศรีวิภา เลี้ยงพันธุ์สกุล, นิรัชรา ลิลละฮ์กุล, จามรี สอนบุตร, พรชัย สิทธิศรัณย์กุล. (2558). สถานการณ์และ
ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อความสำเร็จของงานอนามัยแม่และเด็ก ใน 3 จังหวัดชายแดนใต้. สืบค้นเมื่อ
3 มีนาคม 2560, ค้นจาก https://kb.hsri.or.th/dspace/handle/11228/4378?locale-attribute
=th
สุดารัตน์ ธีระวร. (2547). ทำเนียบผดุงครรภ์โบราณใน 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้. ยะลา: ยะลา
การพิมพ์.
สุพัตรา สุภาพ. (2542). สังคมและวัฒนธรรมไทย ค่านิยมครอบครัว ศาสนา ประเพณี. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยะลา. (2559). สภาวะสุขภาพของแม่และเด็กในจังหวัดยะลา ปี 2552–2559.
ยะลา : สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยะลา.
อามีเน๊าะ หมีดเส็น. (2551). ปัจจัยที่มีผลต่อการใช้บริการคลอดกับผดุงครรภ์โบราณของมารดาไทย
มุสลิม:กรณีศึกษา ตำบลเมาะมาวี อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร์
มหาบัณฑิต สาขาวิชาสร้างเสริมสุขภาพ). สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความทุกบทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของ วารสารสาธารณสุข