ปัจจัยส่งเสริมที่ทำให้มารดาตั้งครรภ์วัยรุ่นประสบผลสำเร็จในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ของโรงพยาบาลสิงหนคร

ผู้แต่ง

  • เจนีวา ทะวา โรงพยาบาลสิงหนคร

คำสำคัญ:

มารดาตั้งครรภ์วัยรุ่น, การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

บทคัดย่อ

การวิจัยวิจัยเชิงคุณภาพนี้ เพื่อศึกษาปัจจัยส่งเสริมที่ทำให้มารดาตั้งครรภ์วัยรุ่นประสบผลสำเร็จในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของโรงพยาบาลสิงหนคร ผู้ให้ข้อมูลคือมารดาวัยรุ่นอายุน้อยกว่า 20 ปี ที่สามารถเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวไม่น้อยกว่า 6 เดือน จำนวน 9 คน โดยเลือกแบบเจาะจง เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์แบบ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า

ปัจจัยส่งเสริมที่ทำให้มารดาตั้งครรภ์วัยรุ่นประสบผลสำเร็จในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของโรงพยาบาล   สิงหนคร มารดาวัยรุ่นหลังคลอดที่เลี้ยงบุตรด้วยนมมารดา ได้แก่ 1) การยอมรับจากบิดา – มารดา 2) สภาพ แวดล้อมที่สนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ 3) การสนับสนุนจากบุคลากรทางการแพทย์4) การรับรู้หลักและวิธีการให้นมของมารดา และ 5) การรับรู้ประโยชน์ที่มีต่อร่างกายของมารดา

ควรมีการเสริมสร้างทัศนคติและให้ความรู้เกี่ยวกับการเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดาแก่หญิงตั้งครรภ์และญาติตั้งแต่เริ่มฝากครรภ์ โดยจัดให้บุคคลในครอบครัวเข้าร่วมกิจกรรมด้วย ส่วนในระยะหลังคลอดควรเน้นการสอนทักษะ เรื่องการให้นมบุตรและมีการสาธิตย้อนกลับจากมารดาวัยรุ่นหลังคลอด

 

References

- สำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. 2544 การประเมินผลงานส่งเสริมสุขภาพในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 8. งานอนามัยแม่และเด็ก การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่. กรมอนามัย. กระทรวงสาธารณสุข
- กรรณิการ์ วิจิตรสุคนธ์, พรรณรัตน์ แสงเพิ่ม, สุพิณดา เรืองวิรัชเฐียร และคณะ. การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่. โครงการตำราคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. กรุงเทพฯ ; พรี- วัน 2555.
- ณัฐฐา ทีนะพันธ์. (2551). น้ำนมแม่ดีที่สุด ค้นเมื่อ 18 พฤศจิกายน 2555, จาก https://www.unicef.
org/thailand/tha/realitives-9620.html
- ญานิศา เถื่อนเจริญ. ผลของโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้ความสามารถของมารดาร่วมกับการสนับสนุนของสามีต่อการปฏิบัติการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 2550.
- ศิริขวัญ พรหมจำปา.(2551). ผลของโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนต่อพฤติกรรมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของมารดาวัยรุ่น. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาล
- เวชปฏิบัติครอบครัว. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
- ราตรี ธนูศิลป์. ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้และทัศนคติกับบทบาทการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ของสมาชิกชมรมสายใยรักแห่งครอบครัวศูนย์อนามัยที่ 6 ขนแก่น 2550-2551.
- ศิริพร กัญชนะ.2546. นโยบายส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของประเทศไทย. ใน ส่าหรี จิตตินันท์, วีระพงษ์ ศิราภรณ์ สวัสดิวร. (บรรณาอัตรา) . เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ความรู้สู่การปฏิบัติ. กรุงเทพฯ :กรุงเทพเวชสาร.
- ศิริภรณ์ สวัสดิวร, กุสุมา ชูศิลป์ และกรรณิการ์ บางสายน้อย. 2550. มีอะไรในนมแม่. ศูนย์นมแม่แห่งประเทศไทย อาคารสถาบันสุขภาพแห่งชาติ มหาราชินี ชั้น 11 website : www.thaiDreastfeeding.org.
- สุสัณหา ยิ้มแย้ม, พิกุลทรัพย์ พันแสน และศรีเวียง ชุมปัน. การพัฒนารูปแบบการสนับสนุนการเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดาในสถานประกอบการ. วารสารสภาการพบาบาล 2555.
- ชญาดา เนตรกระจ่าง และคณะ . ปัจจัยที่มีอิทธิพบต่อความตั้งใจในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวนาน 6 เดือน หลังคลอดของหญิงตั้งครรภ์ที่มาฝากครรภ์ ณ โรงพยาบาลพระปกเกล้า จังหวัดจันทบุรี. รายงานการวิจัย ; โรงพยาบาลพระปกเกล้า จังหวัดนนทบุรี.2550.
- โรงพยาบาลสายใยรักแห่งครอบครัว. โครงการโรงพยาบาลสายใยรักแห่งครอบครัว. URL.https:// bflh.
anamai.moph.go.th/index.php สืบค้นเมื่อ 27 มีนาคม 2550.
- Follon, A.B., Hegney.D., Brien, M.O., Brodribb,W., Grepinsex, M., & J,(2005), An evaluation of atelephone-based postnatal, Support intervention for infant feeding in regional Australian city, Birth,
- Gibson, C.H. (1995). The process at empowerment in mothers of chronically ill children, Journal of Advanced Nursin.
- Striwattanametanont.A (2002). Effects of supportive- educative nursing system on behariors and deration of exclusive breastfooding in the fist time mother. Unpublished master thesis, Mahidol University. Bangkok, Thailand.
- Anne L Wright. The rise of breast feeding in the Umited States in : Richard J. Schanler. The pediatric clinics of North. America : W.B. Saunders, 2001.
- Neifext MR. Clinical aspects of lactation : Promoting breast feeding success, clin perinatal 1999.
- เปรมฤดี ศรีวิชัย, พย.ม. (การบริหารกาพยาบาล) ความสำเร็จในการเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดาอย่างเดียวในมารดาวัยรุ่น 6 เดือนแรกหลังคลอดที่ โรงพยาบาลพะเยา
- Word health ststistic 2013 อัตราการเกิดมีชีพเฉลี่ยทั่วโลกในมารดาอายุ 15-19 ปี.
- ชราธิป โคละทัตและจันทิมา จรัสทอง 2554 อัตราการตั้งครรภ์วัยรุ่น.
- รัชนีบูล มรม่วง (2551) การส่งเสริมทารกคลอดก่อนกำหนดด้วยนมแม่ในมารดาวัยรุ่น.
- พันมหา ลดาพงษ์ (2552) พฤติกรรมการเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดา อย่างเดียว6เดือนแรกในมารดาวัยรุ่น.
- นิตยา สุขแสน (2546) ผลของการใช้กลุ่มสนับสนุนและกระตุ้นเตือนต่อความพืงพอใจ.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-12-15