ประสิทธิผลของโปรแกรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวานชนิดไม่พึ่งอินซูลิน ตำบลนาส่วง อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี

ผู้แต่ง

  • ์Natnicha Harnlue คณะสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาสาธารณสุขชุมชน
  • ณัฐณิชา หาญลือ สาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาสาธารณสุขชุมชน วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธรจังหวัดอุบลราชธานี

คำสำคัญ:

ประสิทธิผล, โปรแกรมการดูแลตนเอง, ผู้ป่วยเบาหวานชนิดไม่พึ่งอินซูลิน

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวานชนิดไม่พึ่งอินซูลิน เป็นวิจัยแบบกึ่งทดลอง (Quasi Experimental Study) เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวานชนิดไม่พึ่งอินซูลิน กลุ่มตัวอย่างแบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม จำนวนกลุ่มละ 30 คน ประชากรที่ได้มาใช้วิธีการแบบเฉพาะเจาะจงและสุ่มอย่างง่าย โดยในกลุ่มทดลองการจัดกิจกรรมให้โปรแกรมสุขศึกษา คือ กิจกรรมการให้ความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวาน กิจกรรมการควบคุมอาหาร กิจกรรมการออกกำลังกาย และกิจกรรมการดูแลเท้า ส่วนในกลุ่มควบคุมนั้นให้การพยาบาลและคำแนะนำตามปกติของคลินิก เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาเป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติโดยใช้ สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ การเปรียบเทียบความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ยระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมใช้ สถิติ independent t-test และสถิติ Mann-Whitney Test  การวิเคราะห์ภายในกลุ่มจะใช้สถิติ จะใช้สถิติ  Paired  t-test  และ Wilcoxon Matched pairs Signed Ranks Test

            ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มทดลองที่ได้รับโปรแกรมสุขศึกษา มีคะแนนเฉลี่ยความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวานและการรับรู้ความรุนแรงของโรคเบาหวานและการปฏิบัติตนในการดูแลตนเองของโรคเบาหวานมีความแตกต่างกับกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และการรับรู้โอกาสเสี่ยงของภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวานและการรับรู้ประโยชน์ในการดูแลตนเองของโรคเบาหวาน ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

Author Biography

ณัฐณิชา หาญลือ, สาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาสาธารณสุขชุมชน วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธรจังหวัดอุบลราชธานี

น.ส.ณัฐณิชา  หาญลือ 

คณะสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต  สาขาสาธารณสุขชุมชน

วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดอุบลราชธาณี

ที่อยู่ปัจจุบันที่ติดต่อได้ : 54 ม.10 ต.หนองผือ อ.จตุรพักตรพิมาน จ.ร้อยเอ็ด 45180

เบอร์โทร :0887304118

References

1.กิตติคุณ แสวงสุข.(2557).พฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวาน อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี.วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.3(2),88-99
2.ณิชานาฏ สอนภักดี.(2557).พฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้ป่วยเบาหวาน ตำบลบากแม่นาง อำเภอบางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี.วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยปทุมธานี, 6(3),163-170.
3.ปรียาภรณ์ สวัสดิ์ศรี.(2555).ผลของโปรแกรมการให้ความรู้ด้านสุขภาพต่อระดับน้ำตาลในเลือดและพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่2 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล เครือข่ายโรงพยาบาลองครักษ์จังหวัดนครนายก.วารสารวิทยาพยาบาลพระปกเกล้า.23(1),1-14
4.เพชรรัตน์ เกิดดอนแผก.(2553).การรับรู้ความเสี่ยง ความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานตามเกณฑ์และวิถีชีวิตที่ส่งเสริมสุขภาพในญาติสายตรงลำดับแรกของผู้ที่เป็นเบาหวาน.รามาธิบดีพยาบาลสาร.16(2),169-184.ค้นจาก https://www.tci-thaijo.org/index.php/RNJ/article/view/8954
5.รังสิมา รัตนศิลาและคณะ.(2558).ผลของโปรแกรมการจัดการผู้ป่วยรายกรณีผู้สูงอายุโรคเบาหวานที่ควบคุมไม่ได้.วารสารพยาบาลสาธารณสุข,29(1),67-69
6.วินัย อารีย์.(2555). การประยุกต์โปรแกรมในการจัดการการดูแลผู้ป่วยเบาหวานในชุมชนเพื่อเปลี่ยนแปลงการปฏิบัติตัวในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดในเขตตำบลโพธิ์ชัย อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ. คณะสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
7.วิรัชฎา มะมา.(2559).ประสิทธิผลของโปรแกรมการดูแลตนเองในการควบคุมโรคเบาหวานของผู้ป่วยเบาหวานที่ขึ้นทะเบียนรับบริการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ตำบลดงมูลเหล็ก อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์ .วารสารสุขภาพภาคประชาชน.11(2),20-30
8.วัลลยา ทองน้อย.(2555).การประยุกต์แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพร่วมกับแรงสนับสนุนทางด้านสังคมในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อป้องกันโรคหลอดเลือดสมองของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ตำบลโนนพะยอม อำเภอชนบท จังหวัดขอนแก่น.วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ. 37-49
9.ศรัณยา เพิ่มศิลป์.(2558).ผลของการประยุกต์ใช้ทฤษฎีแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคมในการควบคุมระดับน้ำตาล ในเลือดของผู้ป่วยเบาหวาน ชนิดที่ 2 ที่มารับบริการที่ โรงพยาบาลอุบลรัตน์ อำเภออุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น.วารสารวิจัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.11(4),89-100
10.สุระ สุพรหมอินทร์.(2557).ประสิทธิผลของโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2อำเภอเมืองร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด.ร้อยเอ็ดเวชสาร.1(1),68-76
11.สุระเชษฐ เกตุสวัสดิ์.(2552). การเสริมสร้างพลังอำนาจโดยใช้กระบวนการกลุ่มและแรงสนับสนุนทางสังคมจากครอบครัวและชุมชนในการควบคุมโรคของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้พื้นที่อำเภอบางไทรจังหวัด พระนครศรีอยุธยา.วิทยานิพนธ์หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการระบบสุขภาพ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
12.สหรัฐ หมื่นแก้วคราม.(2556).ผลของโปรแกรมการพัฒนาเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนโรคไตในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 : กรณีศึกษาที่โรงพยาบาลบ้านผือ อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี.ศรีนครินทร์เวชสาร.28(4),461-468
13.สายจวน แสงดาวและคณะ.(2559).ประสิทธิผลของโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2.วารสารสุขภาพภาคประชาชน.11(2),10-19
14.สายใจ โพนาม.(2558). ผลของโปรแกรมการส่งเสริมสุขภาพผู้ป่วยเบาหวานตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตำบลฟากห้วย อำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว.วารสารวิจัยราชภัฏพระนคร สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.10(1),108-130
15.อรุณ จิรวัฒน์กูล.(2551).ชีวสถิติสำหรับงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ.พิมพ์ครั้งที่ 3.ภาควิชาชีวสถิติและประชากรศาสตร์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-12-15