ผลของโปรแกรมบรรเทาอาการปวดเข่าด้วยตนเองในผู้สูงอายุที่มีภาวะข้อเข่าเสื่อม

ผู้แต่ง

  • จันจิรา บิลหลี โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาสีทอง

คำสำคัญ:

โปรแกรมบรรเทาอาการปวดเข่าด้วยตนเอง, ระดับความปวด, ผู้สูงอายุที่มีภาวะข้อเข่าเสื่อม

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมบรรเทาอาการปวดเข่าด้วยตนเองในผู้สูงอายุที่มีภาวะข้อเข่าเสื่อม จำนวน 40 คน ซึ่งได้รับการฝึกการบริหารกล้ามเนื้อขาและเข่า จำนวน 2 ท่า ท่าละ 20 ครั้ง การประคบสมุนไพร เป็นเวลา 10 นาที และการพอกเข่าด้วยยาสมุนไพร เป็นเวลา 20 นาที ทำต่อเนื่อง 5 วัน ใช้รูปแบบการวิจัยเป็นวิจัยกึ่งทดลอง ใช้แบบกลุ่มเดียว วัดผลก่อนและหลังการทดลอง ด้วยแบบประเมินระดับความปวดชนิดตัวเลข (Numeric Rating Scale: NSR)  โดยใช้สถิติ paired t-test ผลการศึกษาพบว่า ระดับความปวดก่อนการทดลอง หลังการทดลองทันที และหลังการทดลอง 5 วัน มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) โดยระดับความปวดก่อนการทดลองมีค่าเฉลี่ย 5.52 คะแนน (S.D.=0.87 ) หลังการทดลองทันทีมีค่าเฉลี่ย 4.45 คะแนน (S.D.=1.28 ) และหลังการทดลอง 5 วัน มีค่าเฉลี่ย 3.67 คะแนน (S.D.= 1.36) สรุปได้ว่าโปรแกรมบรรเทาอาการปวดเข่าด้วยตนเองสามารถช่วยบรรเทาอาการปวดเข่าในผู้สูงอายุที่มีภาวะข้อเข่าเสื่อมได้ ดังนั้นควรสนับสนุนให้เป็นทางเลือกในการดูแลผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อม

References

กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. (2557). คู่มือคัดกรอง/ประเมินผู้สูงอายุ. นนทบุรี, สำนักงานกิจการโรง
พิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก. หน้า 40-42.
กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข. (2559). แนวทางการตรวจและ
รักษาภาวะข้อเข่าเสื่อมด้วยการแพทย์แผนไทย.กรุงเทพ ; บริษัทสามเจริญพาณิช(กรุงเทพ)จำกัด. หน้า21.
ทวีศักดิ์ มากละม้าย และสุวภัทร บุญเรือน. (2559). “ผลของการนวดรักษาแบบราชสานักร่วมกับการพอกเข่าใน
ผู้ป่วยโรคจับโปงน้าเข่า”. การประชุมวิชาการระดับชาติ “แพทย์แผนไทยภูมิปัญญาของแผ่นดิน” วันที่ 29-30 สิงหาคม 2559 เข้าถึงเมื่อวันที่ 30 กันยายน 2560, จากhttps://administer.pi.ac.th/uploads/eresearcher/upload_doc/2017/proceeding/1504080545756650004753.pdf
ปิยะพล พูลสุข, สุชาดา ทรงผาสุข, เมริษา จันทา, เนตรยา นิ่มพิทักษ์พงศ์, กิตรวี จิรรัตน์สถิต. (2561).
“ประสิทธิผลของยาพอกสมุนไพรเพื่อบรรเทาอาการปวดเข่าในผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อม”, ธรรมศาสตร์เวชสาร ปีที่ ๑๘ ฉบับที่ ๑ ประจำเดือน มกราคม - มีนาคม ๒๕๖๑ เข้าถึงเมื่อวันที่ 1 กันยายน 2561, จาก https://tci-thaijo.org/index.php/tmj/article/download/116949/89867/.
ผัดชา สมพุด. (2558). ผลของการพอกเข่าด้วยตำรับยาพอกต่ออาการปวดเข่าในผู้ป่วยโรคจับโปงน้ำเข่า.
(ปริญญาการแพทย์แผนไทยบัณฑิต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน).
รัตนาภรณ์ มากะนัดถ์. (2551). ผลการประคบสมุนไพรแห้งต่ออาการปวดข้อเข่าในผู้สูงอายุโรคข้อเข่าเสื่อม.
(วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยนเรศวร).
ระบบสารสนเทศด้านข้อมูลสุขภาพจังหวัดสงขลา. (2560). ทะเบียนบุคคลการคัดกรองผู้สูงอายุ 10 เรื่อง. เข้าถึง
เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2560, จาก http://center2.skho.moph.go.th/sis/index.php?p=ltc10.
สิรินทิพย์ วิชญวรนันท์ ศศิธร มุกประดับ และปรัชญานันท์ เที่ยงจรรยา. (2560). ผลของโปรแกรมบรรเทาอาการ
ปวดเข่าด้วยยาสมุนไพรพอกเข่าในผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อม ตำบลน้ำน้อย อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา, เอกสารประกวดผลงานวิชาการด้านการแพทย์แผนไทยประจำปีงบประมาณ 2560 : งานอาหาร ยา การแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสงขลา.
สุรเกียรติ อาชานานุภาพ. (2551). ตำราการตรวจรักษาโรคทั่วไป เล่ม 2 : 350 โรคกับการดูแลรักษาและการ
ป้องกัน. กรุงเทพฯ, โฮลิสติก พับลิชชิ่ง. หน้า 752-754. สถาบันเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ กรมการแพทย์กระทรวงสาธารณสุข. (2556). ข้อเข่าเสื่อม. นนทบุรี, บริษัท ซีจี ทูล จำกัด. หน้า 1.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-12-15