ผลของโปรแกรมทันตสุขศึกษาผ่านสื่อเฟซบุ๊ก ต่อความรู้ การรับรู้ความสามารถของตนเอง และการปฏิบัติในการดูแลทันตสุขภาพ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนเทศบาล 1 สังขวิทย์ จังหวัดตรัง

ผู้แต่ง

  • ภทรสุดา รอดอ้น รพ.สต.สวนหลวง
  • พยงค์ เทพอักษร
  • นิมมานรดี ชูยัง
  • ภัทราภรณ์ เต็งโรจน์นภาพร

คำสำคัญ:

โปรแกรมทันตสุขศึกษา, สื่อเฟซบุ๊ก, นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น, การดูแลทันตสุขภาพ

บทคัดย่อ

         การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีรูปแบบการวิจัยกึ่งทดลอง ซึ่งวัดก่อนและหลังทดลอง  โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการให้ทันตสุขศึกษาผ่านสื่อเฟซบุ๊ก ต่อความรู้ การรับรู้ความสามารถของตนเอง และการปฏิบัติในการดูแลทันตสุขภาพของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนเทศบาล1 สังขวิทย์ อำเภอเมือง จังหวัดตรัง เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม พ.ศ.2560 กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้น ม.1 จำนวน 51 คน โดยแบ่งกลุ่มทดลอง จำนวน 25 คน และกลุ่มควบคุม จำนวน 26 คน กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมทันตสุขศึกษาผ่านสื่อเฟซบุ๊ก ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการบรรยายผ่านบุคคลเป็นเวลา 5 สัปดาห์ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม แบบทดสอบความรู้เกี่ยวกับการดูแล    ทันตสุขภาพ และแบบบันทึกค่าการตรวจฟัน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติค่าร้อยละ , ค่าเฉลี่ย , ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน , Paired t-test , Wilcoxon Matched-pairs signed rank test , Independent t-test และ Mann-Whitney U test

           ผลการวิจัยพบว่า ภายหลังการทดลองกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยความรู้เรื่องการดูแลทันตสุขภาพแตกต่างจากก่อนทดลองและแตกต่างจากกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ค่าเฉลี่ยการรับรู้ความสามารถของตนเองต่อการดูแล    ทันตสุขภาพไม่แตกต่างจากก่อนทดลองแต่แตกต่างจากกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และการปฏิบัติในการดูแลทันตสุขภาพแตกต่างจากก่อนทดลองแต่ไม่แตกต่างจากกลุ่มควบคุม โดยสรุปพบว่าสื่อเฟซบุ๊กเป็นสื่ออีกช่องทางหนึ่งที่มีผลต่อความรู้ การรับรู้ความสามารถ และการปฏิบัติในการดูแลทันตสุขภาพ

References

Department of Health, National Health Security Office. (2013). Oral Health Strategy Plan for Thailand, 2012-2016 (2nd ed.), Bangkok: Veterans Organization Printing Press. (in Thai)
Dental Public Health Division Department of Health, Ministry of Public Health. (2008). The 6th National Dental Health Survey Results 2006-2007. Department of Health, Ministry of Public Health. (in Thai)
Kwankham, N. (2007). Internet usage patterns of teenagers in Bangkok: study of demographic characteristics that is related to the characteristics of the internet and internet use behavior to meet the needs, including the study of the media usage patterns of adolescents. Dhurakij Pundit University. (in Thai)
Kulpimai, P. (2014). Dental health promotion program by prototype to modify caries prevention behavior of senior elementary school students of Phrathongkham District, Nakhon Ratchasima. Master of Public Health Thesis. Faculty of Graduate, Mahasarakrm University. (in Thai)
Pholthao, W. (2014). The results of dental health education programs together with multimedia use for teaching to change preventive behavior of dental caries and gingivitis in elementary students in Non Sang District, Nong Bua Lamphu Province. Master of Public Health thesis, Faculty of Graduate, Health Education and Promotion. Khonkaen University. (in Thai)
Phansena, K. (2017). Social network online. Retrieved July 20, 2017 from http://www.krukittin.info (in Thai)
Suearoj, K. (2013). Communication of teenagers in public areas on social networking sites Facebook. Research under the budget supporting the Faculty of Journalism and Mass Communication, Thammasat University. (in Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-04-29