ประสิทธิผลของโปรแกรมส่งเสริมการบริโภคผักและผลไม้ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษา อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี

ผู้แต่ง

  • นางสาวปนิดา กิชัยรัมย์ บุรีรัมย์
  • ภาสิณี สังฆมะณี
  • เกศิณี หาญจังสิทธิ์
  • อุรารัช บูรณะคงคาตรี

คำสำคัญ:

ประสิทธิผล, โปรแกรมสุขศึกษา, ส่งเสริมการบริโภคผักและผลไม้

บทคัดย่อ

            การวิจัยกึ่งทดลองในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมส่งเสริมการบริโภคผักและผลไม้ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 ในอำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี จำนวน 2 โรงเรียน ที่มีโครงการอาหารกลางวันและมีครูสุขศึกษาอย่างน้อย 1 คน โดยแบ่งเป็นกลุ่มศึกษา 1 โรงเรียน มีจำนวนนักเรียน 63 คน และกลุ่มเปรียบเทียบอีก 1 โรงเรียนมีจำนวนนักเรียน 111 คน  โดยกลุ่มศึกษาได้รับโปรแกรมส่งเสริมการบริโภคผักและผลไม้ ที่ประยุกต์ใช้ทฤษฎีแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพและทฤษฎีปัญญาสังคม ในการให้ความรู้เรื่องประโยชน์ของการบริโภคผักและผลไม้ 5 สี โอกาสเสี่ยงของการไม่บริโภคผักและผลไม้  จัดกระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมในกิจกรรมการตวงวัดปริมาณผักและผลไม้และจัดเมนูอาหารผักผลไม้ 5 สี ผ่านเกมส์และกิจกรรมกลุ่ม เป็นระยะเวลา 4 สัปดาห์ เก็บข้อมูลก่อนและหลังการทดลองโดยใช้แบบสอบถามและแบบทดสอบ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ,ค่าเฉลี่ย, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน, Independent  T-Test, Paired T-test และ X2-test

            ผลการศึกษาพบว่า โปรแกรมส่งเสริมการบริโภคผักและผลไม้  มีผลทำให้กลุ่มศึกษามีความรู้และพฤติกรรมการกินผักและผลไม้เพิ่มขึ้นมากกว่าก่อนทดลองและมากกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p <0.001) ในส่วนการรับรู้และทัศนคติไม่แตกต่างจากก่อนทดลองและไม่แตกต่างไปจากกลุ่มเปรียบเทียบ การส่งเสริมการบริโภคผักและผลไม้สามารถนำไปขยายผลในพื้นที่อื่น ๆโดยอาศัยการมีส่วนร่วมจากคนในครอบครัวหรือโรงเรียนและเพิ่มระยะเวลาในการศึกษาอย่างน้อย 6-8 สัปดาห์

References

Becker, M.H. (1974). The Health Belief Model and Preventive Health Behavior. Health Education Monographs. 2,4
winter: 354-385.
Bureau of Nutrition Mahidol University. (2012). Increasing consumption of fruits and vegetables. Bangkok: Veterans
Organization Publishing House in the Royal Patronage. (in Thai)
Eakpalakorn, W., Porapakkham, Y., Thaneepanichsakun, S., Satiennopakao, W., Pakcharoen, H., Thaikla, K. 2008-
2009 (2009). Public health survey report by the 4th physical examination 2008-2009 (4th ed.). Muang Nonthaburi, Nonthaburi: The Graphico Systems Company Limited. (in Thai)
Food and Drug Administration. (2016). Knowledge of food and nutrition for all ages. Muang, Nonthaburi: Secretary of
the National Food Subcommittee, Bureau of Food., Bureau of Food and Drug Administration. (in Thai)
Genkinger., J.M. (2004). Fruit, Vegetable, and Antioxidant Intake and All-Cause, Cancer, and Cardiovascular. American
Journal of Epidemiology, 1223-1233.
Hall, J.M. (2009). Global Variability in Fruit and Vegetable Consumption. American Journal of Preventive Medicine,36(5)
402-409.
International Health Policy Development Office. (2011). Research project on health investment plans in the 10th
National Economic and Social Development Plan (2007-2011). Nonthaburi: International Health Policy
Development Office. (in Thai)
Lock, K. (2005). The global burden of disease attributable to low consumption of fruit and vegetables: implications for
the global strategy on diet. Bull World Health Organ, 100-108.
Scott, W.A. (1975). Attitude Measurement. In Gardner Lindzy and Elloiot Aronson(eds), the handbook of social
Psychology. New Delhi: Amerind Publishing.
Sutthimitr, C. (2006). Vegetable food for children (1st ed.). Bangkok: Odean Store. (in Thai)
Suwansil, S. (2014). The results of the VFRUITS-VVEGETABLES program to change the behavior of
consumption of vegetables and fruits in the fifth grade students of a school in Bangkok. Public Health Journal, Burapha University, 9(2), 97-107. (in Thai)
Tansakun, S.. (2007). Theory of behavioral science. Guidelines for health education and health
promotion. Journal of Health Education, 1-15. (in Thai)
Thavorn, T., & Bancharahattakit, P. (2013). Effectiveness of the program to promote vegetable and
fruit consumption behavior of preschool children by parents. Child Development Center. Public Health Journal, Burapha
University, 8(1), 26-36. (in Thai)
Yangiam, W. (2013). Promotion of consumption of fruits and vegetables by applying the theory of social cognitive
learning in grade 4 students in Phrom Phiram District Phitsanulok Province. Journal of Health Science,43(2),
126-137. (in Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-04-29